การพยาบาลผู้ป่วยมีภาวะเลือดออกในช่องเยื่อหุ้มปอด และมีภาวะการหายใจล้มเหลวเฉียบพลัน : กรณีศึกษา
คำสำคัญ:
การพยาบาล, ภาวะเลือดออกในช่องเยื่อหุ้มปอด, ภาวการณ์หายใจล้มเหลวเฉียบพลันบทคัดย่อ
การวิจัยนี้เป็นกรณีศึกษามีวัตถุประสงค์เพื่อศึกษาการพยาบาลผู้ป่วยมีภาวะเลือดออกในช่องเยื่อหุ้มปอด และมี
ภาวะการหายใจล้มเหลวเฉียบพลัน โดยศึกษาในผู้ป่วยชายไทยอายุ 52 ปี เข้ารับการรักษาในโรงพยาบาล วันที่ 25 มกราคม 2565 ด้วยอาการจำเหตุการณ์ไม่ได้ มีบาดแผลถลอกที่หน้าอกด้านขวา
ผลการศึกษา: จากผลเอกซเรย์ปอด วินิจฉัย Fx rib Rt 4-7th Lt 5-10th, Rt hemothorax ส่งตรวจเอกซเรย์คอมพิวเตอร์สมองปกติ ให้สารน้ำ 0.9%NSS 1000 ml iv 120 ml/hr. ใส่ ICD ข้างขวา เลือดออก 800 ซีซี ระยะก่อนตรวจเสี่ยงต่อการเกิดอุบัติเหตุไม่สุขสบายเจ็บหน้าอก ขณะตรวจมีภาวะเนื้อเยื่อพร่องออกซิเจน เสี่ยงต่อภาวะช็อกจากการเสียเลือด มีความกลัวและวิตกกังวล ระยะหลังตรวจผู้ป่วยมีอาการหายใจเหนื่อยมากขึ้น ได้รับการใส่ท่อช่วยหายใจ รูปแบบการหายใจไม่มีประสิทธิภาพเสี่ยงต่อการเลื่อนหลุดของท่อหลอดลมคอ และ ICD มีแผนการรักษาที่หอผู้ป่วยศัลยกรรมชาย ส่งข้อมูลและดำเนินการเคลื่อนย้ายไปหอผู้ป่วย ผู้ป่วยได้รับการดูแลรักษาพยาบาลนาน 25 วัน จำหน่ายวันที่ 19 กุมภาพันธ์ 2565
References
นวลทิพย์ ธีระเดชากุล, นุชศรา พรมชัย และ นงลักษณ์ พลแสน. (2561). ประสิทธิผลการพัฒนาการดูแล ผู้ป่วยได้รับบาดเจ็บหลายระบบด้วย Multiple Injury Nursing Management Guideline. ว. การแพทย์ โรงพยาบาลศรีสะเกษ สุรินทร์ บุรีรัมย์; 33: 165-77
ปทิตตา เสนะคุณ. (2564). การพยาบาลผู้ป่วยบาดเจ็บหลายระบบที่มีเลือดออกใต้เยื่อหุ้มสมองร่วมกับเลือดออกในเยื่อหุ้มปอด : กรณีศึกษา. วารสารอนามัยสิ่งแวดล้อม และสุขภาพชุมชน; 6(1):23-28.
วิมล อิ่มอุไร. (2562). การพยาบาลผู้ป่วยบาดเจ็บหลายระบบ. วารสารหัวหินสุขใจไกลกังวล; 4(1): 54-68
วันวิสาข์ กลางประพันธ์ และ ชัจคเณค์ แพรขาว. (2566). ผลของการใช้รูปแบบการพยาบาลผู้บาดเจ็บช่องอก ช่องท้อง ระดับความรุนแรง 1 และ 2 ที่มีภาวะช็อก บนระบบปฏิบัติการเว็บแอปพลิเคชันต่อผลลัพธ์ที่คัดสรร. file:///C:/Users/Asus/Downloads/1-256525-Wanwisa-upload.pdf
ฮิชาม อาแวและอามานี แดมะยุ. (2564). การดูแลผู้ป่วยบาดเจ็บฉุกเฉิน ณ จุดเกิดเหตุและระหว่างการนำส่งโดยพนักงานฉุกเฉินทางการแพทย์. วารสารมหาวิทยาลัยนราธิวาสราชนครินร์. ;13(3):459-472.
ATLS Subcommittee, American College of Surgeons’ Committee on Trauma, & International ATLS working group. (2013). Advanced trauma life support (ATLS®): The ninth edition. J Trauma Acute Care Surg; 74(5): 1363-6
American College of Surgeons: Committee on trauma. (2020). Advanced trauma life support program for doctors. 17thed. Chicago: American College of Surgeons.
Ahmad W, Polk HC, Jr. (1976). Blunt abdominal trauma : A prospective study with selective periotoneal lavage. Arch Surg: 111-489.
Corinna L & Koryllos A. (2017). Management of chest trauma. Journal of Thoracic Disease;9(3):172-177.
Nasim Ahmed, Jerome JV. (2011). Management of liver trauma in adults: J Emergency Trauma Shock. Jan-Mar; 4(1): 114-119.