ผลของโปรแกรมการส่งเสริมพัฒนาการและสร้างวินัยเชิงบวกโดยครอบครัวมีส่วนร่วม ต่อความรู้และทักษะของผู้ปกครองในการส่งเสริมพัฒนาการและความฉลาดทางอารมณ์ เด็กปฐมวัย อำเภอบ้านแพง จังหวัดนครพนม

ผู้แต่ง

  • รุ้งทิวา จันทร์งาม โรงพยาบาลบ้านแพง จังหวัดนครพนม
  • รุ่งนภา พรหมสาขา ณ สกลนคร โรงพยาบาลบ้านแพง จังหวัดนครพนม

คำสำคัญ:

โปรแกรมการส่งเสริมพัฒนาการและสร้างวินัยเชิงบวกโดยครอบครัวมีส่วนร่วม, เด็กปฐมวัย, พัฒนาการความฉลาดทางอารมณ์

บทคัดย่อ

     การวิจัยกึ่งทดลองนี้ มีวัตถุประสงค์เพื่อศึกษาผลของโปรแกรมการส่งเสริมพัฒนาการและสร้างวินัย เชิงบวกโดยครอบครัวมีส่วนร่วม ต่อความรู้และทักษะของผู้ปกครองในการส่งเสริมพัฒนาการและความฉลาดทางอารมณ์เด็กปฐมวัย กลุ่มตัวอย่าง คือ พ่อแม่ ผู้ปกครองเด็กปฐมวัย  60 คน เป็นกลุ่มทดลอง 30 คน กลุ่มควบคุม 30 คน โดยการสุ่มกลุ่มตัวอย่างแบบกลุ่ม (Cluster Random Sampling) เครื่องมือที่ใช้ในการดำเนินการทดลอง คือ โปรแกรมการส่งเสริมพัฒนาการและสร้างวินัยเชิงบวก โดยครอบครัวมีส่วนร่วม เป็นโปรแกรมที่พัฒนาขึ้นโดยสถาบันพัฒนาการเด็กราชนครินทร์ โปรแกรมฯประกอบด้วยการดำเนินกิจกรรมทั้งหมด 4  ครั้ง ครั้งละ 1:30-2 ชั่วโมง แต่ละครั้ง ห่างกัน 2 สัปดาห์ ตามรูปแบบกิจกรรม ดังนี้ กิจกรรมครั้งที่ 1 สร้างสายใย กิจกรรมครั้งที่ 2 สร้างวินัย กิจกรรมครั้งที่ 3 สร้างเด็กเก่ง 1 กิจกรรมครั้งที่ 4 สร้างเด็กเก่ง 2 เครื่องมือที่ใช้รวบรวมข้อมูล ได้แก่ แบบประเมินทักษะการเลี้ยงดูเด็กปฐมวัยเพื่อการส่งเสริมพัฒนาการและความฉลาดทางอารมณ์และแบบประเมินความฉลาดทางอารมณ์เด็กปฐมวัย 3-5 ปี ฉบับ พ่อแม่ผู้ปกครอง ดำเนินการทั้งหมด 8 สัปดาห์ ส่วนกลุ่มควบคุมได้รับการดูแลด้วยรูปแบบที่มีอยู่เดิม วิเคราะห์ข้อมูลโดยใช้สถิติเชิงพรรณนา และสถิติทดสอบ โดยใช้สถิติ independent t test และ Paired t-test

     ผลการวิจัย พบว่าคะแนนทักษะความรู้ ของพ่อแม่ ผู้ปกครอง หลังได้รับโปรแกรมฯ สูงกว่าก่อนได้รับโปรแกรมฯ อย่างมีนัยสำคัญทางสถิติที่ .05 และระดับคะแนนทักษะความรู้ ของพ่อแม่ ผู้ปกครอง กลุ่มทดลองสูงกว่ากลุ่มควบคุม อย่างมีนัยสำคัญทางสถิติที่ .05

References

นิตยา คชภักดี.(2536).ขั้นตอนการพัฒนาของเด็กปฐมวัยตั้งแต่ปฏิสนธิ - 5 ปี [อินเตอร์เน็ต].2566[สืบค้นเมื่อ 30 ส.ค.66]. เข้าถึงจาก:

http://lib.neu.ac.th/ULIB/searching.phpMAUTHOR=%20%B9%D4%B5%C2%D2%20%A4%AA%C0%D1%A1%B4%D5.:http://lib.neu.ac.th/ULIB/dublin.php?ID=6584.

Nelson. C.A.(2000).The neurobiological bases of early intervention. ใน Handbook of early childhood intervention.Cambridge University Press, 2,204-227.

Heckman,J.,Savelyev, P.(2013). Understanding the mechanisms through which an influential early.in American Economic Review.103(6),2052-2086.

องค์การยูนิเซฟ. (2562).ช่องว่างและความเหลื่อมล้ำ: ผลการสำรวจสถานการณ์เด็กและสตรีในประเทศไทย พ.ศ 2562. กรุงเทพฯ: องค์การยูนิเซฟ ประเทศไทย.

กรมอนามัย กลุ่มสนับสนุนวิชาการและการวิจัย สำนักส่งเสริมสุขภาพ.(2560).รายงานการศึกษาปัจจัยที่กระทบต่อพัฒนาการเด็ก เด็กปฐมวัยไทย ครั้งที่ 6 พ.ศ.2560.กรมอนามัย.

สำนักงานเลขาธิการสภาการศึกษา.(2564). แผนพัฒนาเด็กปฐมวัย พ.ศ. 2564-2570.กรุงเทพฯ: บริษัทพริกหวานกราฟฟิค จำกัด.

สถาบันวิจัยระบบสาธารณสุข. (2565) [อินเตอร์เน็ต].2566 [สืบค้นเมื่อ 29 ส.ค.66].เข้าถึงจาก: https://kb.hsri.or.th/dspace/handle/11228/5505src=%2Fdspace%2Fhandle%2F11228%2F1%2Fdiscover%3Frpp%3D10%26etal%3D0%26group_by%3Dnone%26page%3D401%26locale-attribute%3Dth&offset=8&locale-attribute=th.

มุจลินท์ กลิ่นหวล,สิรินทร์ ลัดดากลม บุญเชิดชู. (2559). กิจกรรมทัศนศึกษาเพื่อส่งเสริมสมรรถนะการเรียนรู้ของเด็กปฐมวัย ในศตวรรษที่21.วารสารอิเล็กทรอนิกส์มหาวิทยาลัยศิลปากร, 9(3), 1550-1562.

Health Data Center : HDC กระทรวงสาธารณสุข. (2566). [อินเตอร์เน็ต].2566 [สืบค้นเมื่อ 25 ส.ค. 66]. เข้าถึงจาก:

https://nich.anamai.moph.go.th/th/kpi65/download?id=96326&mid=36391&mkey=m_document&lang=th&did=29695.

สำนักงานสาธารณสุขนครพนม. (2566). ระบบติดตามพัฒนาการเด็ก.[อินเตอร์เน็ต].2566 [สืบค้นเมื่อ 25 ส.ค. 66]. เข้าถึงจาก: https://datacenter-npm.moph.go.th/dspm/login.

อดิศร์สุดา เฟื่องฟู ธันยพร เมฆรุ่งจรัส.(2561). ปัจจัยที่กระทบต่อพัฒนาการเด็ก. กรุงเทพฯ: พี.เอ.ลีฟวิ่งจำกัด.

บุษบา อรรถาวีร์ บำเพ็ญ พงศ์เพชรดิถ. (January-June 2020). ปัจจัยที่ส่งผลต่อพัฒนาการเด็กปฐมวัยไทย: ศูนย์อนามัยที่ 5. Kuakarun Journal of Nursing, 27(1), 59-70.

คณะ จินตนา พัฒนพงศ์ธร. (2561).รายงานการศึกษาปัจจัยที่มีผลต่อพัฒนาการเด็กปฐมวัยไทย. กลุ่มสนับสนุนวิชาการและการวิจัย สำนักส่งเสริมสุขภาพ กรมอนามัย.

ปุญญพัฒน์ ไชยเมล์,สมเกียรติยศ วรเดช หนึ่งฤทัย เกื้อเอียด.(2561).สถานการณ์และปัจจัยที่มีความสัมพันธ์ต่อพัฒนาการของเด็กไทยอายุต่ำกว่า 5 ปี:การทบทวนวรรณกรรม.วารสารเครือข่ายวิทยาลัยพยาบาลและการสาธารณสุขภาคใต้, 5(1), 281-296.

รายงานข้อมูลการทบทวนและวิเคราะห์ข้อมูลสถานการณ์พัฒนาการเด็กปฐมวัยระดับประเทศ. (2561).[อินเตอร์เน็ต].2561 [สืบค้นเมื่อ 25 ส.ค. 66]. เข้าถึงจาก: https://dopah.anamai.moph.go.th/web-upload/8x6b2a6a0c1fbe85a9c274e6419fdd6071/tinymce/ KPI2565/10/107/11711.pd.

จินตนา พัฒนพงศ์ธร,ปราณี พงษ์จินดา อาริสรา ทองเหม. (2563). ปัจจัยที่มีความสัมพันธ์ต่อพัฒนาการเด็กปฐมวัย :กรณีพื้นที่โครงการพัฒนาเพื่อความมั่นคงในพื้นที่ชายแดนอันเนื่องมาจากพระราชดำริ เขตกองทัพภาคที่ 3. สำนักส่งเสริมสุขภาพ กรมอนามัย.

วิชัย เอกพลากร. (2552).รายงานการสำรวจสุขภาพประชาชนไทย โดยการตรวจร่างกายครั้งที่ 4 พ.ศ.2551-2552 สุขภาพเด็ก.นนทบุรี: สำนักงานสำรวจสุขภาพประชาชนไทย สถาบันวิจัยระบบสาธารณสุข.

วีระศักดิ์ ชลไชยะ. (2561). ผลของสื่ออิเล็กทรอนิกส์ผ่านจอต่อเด็กและวัยรุ่น ; Effects of Electronic Screen Media on Children and Adolescents. นนทบุรี: บียอนด์ เอ็นเทอร์ไพรซ์ จำกัด.

ปุญญพัฒน์ ไชยเมล์,สมเกียรติยศ วรเดช จักรินทร์ ปริมานนท์. (2661). ภาวะโภชนาการและปัจจัยที่มีความสัมพันธ์ต่อภาวะโภชนาการในเด็กอายุต่ำกว่า 5 ปี: การทบทวนวรรณกรรม.วารสารเครือข่ายวิทยาลัยพยาบาลและการสาธารณสุขภาคใต้, 5(1), 329-342.

จารุวรรณ ชุปวา สุรีย์ ธรรมิกบวร. (2562). ความรู้สำคัญเพื่อครอบครัวอบอุ่น.อุบลราชธานี: โรงพิมพ์มหาวิทยาลัยอุบลราชธานี.

รุจิรา มณีชม ธนาพูน วงค์ษา. (2561). เทคนิคการเลี้ยงดูเด็กปฐมวัยเพื่อเสริมสร้างทักษะชีวิตยุคสังคมดิจิตอล. วารสารครุศาสตร์ มหาวิทยาลัยราชภัฏเลย, 14(1),102-112.

คู่มือโปรแกรมการส่งเสริมพัฒนาการและสร้างวินัยเชิงบวก โดยครอบครัวมีส่วนร่วม Preschool Parenting Program: Triple-P.(2563).เชียงใหม่:บริษัท สยามพิมพ์นานา จำกัด.

วิชาภรณ์ คันทะมูล,ระบอบ เนตรทิพย์ จุฬาลักษณ์ ยะวิญชาญ. (2562). ประสิทธิผลของโปรแกรมพัฒนาความฉลาดทางอารมณ์และเสริมสร้างวินัยเชิงบวกในเด็กปฐมวัยโดยครอบครัวมีส่วนร่วม อําเภอปัวจังหวัดน่าน. วารสารวิชาการสุขภาพภาคเหนือ, 6(1), 70-85.

ศริญทิพย์ ชาลีเครือ ลักษณา สกุลทอง.(2565). การพัฒนาโปรแกรมTriple P เพื่อกระตุ้นพัฒนาการ เด็กปฐมวัยเขตสุขภาพที่ 7. วารสารศูนย์อนามัยที่ 7 ขอนแก่น., 14(1), 97-110.

Downloads

เผยแพร่แล้ว

2023-12-31

How to Cite

จันทร์งาม ร., & พรหมสาขา ณ สกลนคร ร. (2023). ผลของโปรแกรมการส่งเสริมพัฒนาการและสร้างวินัยเชิงบวกโดยครอบครัวมีส่วนร่วม ต่อความรู้และทักษะของผู้ปกครองในการส่งเสริมพัฒนาการและความฉลาดทางอารมณ์ เด็กปฐมวัย อำเภอบ้านแพง จังหวัดนครพนม. วารสารอนามัยสิ่งแวดล้อมและสุขภาพชุมชน, 8(3), 302–312. สืบค้น จาก https://he03.tci-thaijo.org/index.php/ech/article/view/1906