ความสัมพันธ์ระหว่างการตรวจคัดกรองทารกในครรภ์และการเจาะน้ำคร่ำ ในการวินิจฉัยความผิดปกติของทารกในครรภ์แต่กำเนิด โรงพยาบาลสมเด็จพระยุพราชด่านซ้าย
คำสำคัญ:
การตรวจคัดกรองทารกในครรภ์, การตรวจวินิจฉัยทารกในครรภ์, การเจาะน้ำคร่ำบทคัดย่อ
การศึกษานี้เป็นงานวิจัยเชิงพรรณนา (Descriptive research) เพื่อศึกษาความสัมพันธ์ระหว่างการตรวจคัดกรองทารกในครรภ์ (Q-Test) และการเจาะน้ำคร่ำ(Amniocentesis) ในการวินิจฉัยความผิดปกติของทารกในครรภ์แต่กำเนิด ในโรงพยาบาลสมเด็จพระยุพราชด่านซ้าย มีวัตถุประสงค์เพื่อศึกษาอุบัติการณ์ของการตรวจคัดกรอง Q-Test เป็นบวกในสตรีตั้งครรภ์ อ.ด่านซ้าย อ.ภูเรือ และ อ.นาแห้ว เพื่อศึกษาข้อมูลทั่วไปและข้อมูลเกี่ยวกับการตั้งครรภ์เกี่ยวกับการตรวจเลือดเพื่อคัดกรองทารกในครรภ์และผลการตรวจวินิจฉัยทารกในครรภ์ด้วยการเจาะน้ำคร่ำ และเพื่อศึกษาความสัมพันธ์ของผลการตรวจเลือดคัดกรองทารกในครรภ์เป็นบวกและผลการตรวจวินิจฉัยทารกในครรภ์ด้วยการเจาะน้ำคร่ำ ศึกษาในกลุ่มสตรีตั้งครรภ์ที่มารับบริการเจาะน้ำคร่ำใน โรงพยาบาลสมเด็จพระยุพราชด่านซ้าย โดยทำการศึกษาในตั้งแต่เดือน มิย. 2562 - 31 สค. 2566 จำนวน 247 คน เครื่องมือที่ใช้ คือ แบบสอบถามเกี่ยวกับข้อมูลทั่วไป ได้แก่ อายุ รพ.ที่ฝากครรภ์ พื้นที่อาศัย ข้อมูลเกี่ยวกับการตั้งครรภ์ ได้แก่ จำนวนครั้งของการตั้งครรภ์ จำนวนครั้งของการคลอด อายุครรภ์เมื่อเจาะ Q-Test ผลตรวจ Q-Test และผลการตรวจวินิจฉัยทารกในครรภ์ ได้แก่ โครโมโซม ค่า AFP การยุติการตั้งครรภ์และภาวะแทรกซ้อนจากการเจาะน้ำคร่ำ วิเคราะห์ข้อมูลโดยใช้สถิติเชิงปริมาณ ได้แก่ ค่าร้อยละ ค่าเฉลี่ย ส่วนเบี่ยงเบนมาตรฐานและค่าสหสัมพันธ์
ผลการศึกษาพบว่า สตรีตั้งครรภ์ที่มารับบริการฝากครรภ์ในคลินิกฝากครรภ์โรงพยาบาลสมเด็จพระยุพราชด่านซ้าย ในปีงบประมาณ 2562-2566 ทั้งหมด 4,192 คน พบผลตรวจ Q-Test ผิดปกติ 198 คน คิดเป็นร้อยละ 4.72 กลุ่มตัวอย่างที่ศึกษา 247 คน ส่วนใหญ่มีอายุอยู่ในช่วงอายุ 35-<40 ปี ร้อยละ 47.4 ส่วนใหญ่อาศัยใน อ.ด่านซ้าย ร้อยละ 55.9 เป็นการตั้งครรภ์ครั้งที่ 2 ร้อยละ 45.3 และเคยคลอดลูกมาแล้ว 1 ครั้ง ร้อยละ 53.8 อายุครรภ์เมื่อเจาะ Q-Test ส่วนใหญ่คือ 15-15+6 สัปดาห์ ร้อยละ 45.7 ผลตรวจโครโมโซมผิดปกติพบ 5 คน ร้อยละ 2.02 และเมื่อวิเคราะห์ค่าผลการตรวจเลือดคัดกรองทารกในครรภ์ด้วยวิธี Q-Test เป็นบวก พบว่าไม่มีความสัมพันธ์กับผลการวินิจฉัยทารกในครรภ์ด้วยวิธี เจาะน้ำคร่ำตรวจ chromosome และ AFP อย่างมีนัยสำคัญทางสถิติที่ระดับ 0.05 (r = 0.074, p = 0.245 และ r = 0.068, p = 0.286)
References
WHO. Congenital anomalies. Retrieved on January 6, 2015. From http://www.who.int/mediacentre/factsheets/fs370.
CDC. World birth defects day-March 3, 2016. Morbidity and Mortality Weekly Report 2016; 7(65), 191.
A Christianson, CP Howson and B Modell. March of Dimes: Global report on birth defects the hidden toll of dying and disabled children. White Plains, New York, 2006.
WHO-SEARO. Birth defects in South-East Asia: A public health challenge. Retrieved on January 6, 2015. From http://apps.searo.who.int
ธีระพร วุฒยวนิช, ธีระ ทองสง, จตุพล ศรีสมบูรณ์. สูติศาสตร์. ภาควิชาสูติศาสตร์และนรีเวชวิทยา คณะแพทยศาสตร์ มหาวิทยาลัยเชียงใหม่. กรุงเทพฯ: พี.บี.ฟอเรน บุ๊คส เซนเตอร์; 2539.
ศาสตราจารย์นายแพทย์เยื้อน ตันนิรันดร. เวชศาสตร์มารดาและทารก. พิมพ์ครั้งที่ 1. กรุงเทพมหานคร: ราชวิทยาลัยสูตินรีเวชแห่งประเทศไทย; 2544.
พีระยุทธ สานุกูล. การตรวจคัดกรองทารกกลุ่มอาการดาวน์โดยวิธี Quadruple Marker Test. ปีที่ 10 ฉบับที่ 1 สิงหาคม 2560 – มกราคม 2561
F.G. Cunningham, K.J. Leveno, S.L. Bloom, J.C. Hauth, L.C. Gilstrap III, K.D. Wenstrom. Williams Obstetrics. 22nd edition. Boston: McGraw Hill Companies; 2005.
William IC. Down Syndrome: Care of the child and family. In: William BC, Allen CC, William LC, Ellen RE, Heidi MF, editors. Developmental-Behavioral Pediatrics. 4 th ed. Philadelphia: Saunders Elsevier 2009. p. 235-45.
Freeman SB, Bean LH, Allen EG, Tinker SW, Locke AE, Druschel C, et al. Ethnicity, sex, and the incidence of congenital heart defects: a report from the National Down Syndrome Project. Genet Med 2008; 10: 173-80.
Prenatal diagnosis and fetal therapy. In: Cunningham FG, Leveno KJ, Bloom SL, Hauth JC, Rouse DJ, Spong CY, editors. Williams Obstetrics. 23 ed. New York: McGraw-Hill; 2010. p. 287-311.
เฟื่องลดา ทองประเสริฐ. การตรวจคัดกรองการตั้งครรภ์ทารกกลุ่มอาการดาวน์ (Down syndrome screening). เข้าถึงเมื่อวันที่ 15 สิงหาคม 2566. เข้าถึงจาก URL:http://www.med. cmu.ac.th/dept/obgyn/2011/index.php option=com_content&view=article&id=513: down-syndrome-screening&catid=40&Itemid=482.