การพัฒนาแนวทางการใช้เครื่องช่วยหายใจชนิด High flow nasal cannula ในหอผู้ป่วยวิกฤต โรงพยาบาลโกสุมพิสัย
คำสำคัญ:
High flow nasal cannula, ภาวะหายใจล้มเหลว, ภาวะพร่องออกซิเจนบทคัดย่อ
การวิจัยครั้งนี้เป็นงานวิจัยเชิงปฏิบัติการ ที่พัฒนาขึ้นเพื่อให้ผู้ป่วยพ้นภาวะวิกฤตทางเดินหายใจ ลดการติดเชื้อจากการใส่ท่อช่วยหายใจ ลดระยะเวลานอนและลดค่าใช้จ่ายขณะนอนโรงพยาบาล ดำเนินการตั้งแต่ สิงหาคม 2565 – มีนาคม 2566 มี 3 ระยะ คือ ระยะวิเคราะห์สถานการณ์ ระยะดำเนินการ ระยะประเมินผล ผู้ร่วมวิจัย คือ พยาบาลวิชาชีพหน่วยงานวิกฤต 11 คน อายุรแพทย์ และกลุ่มผู้ป่วยที่ใช้ HFNC ทั้งหมดจำนวน 48 ราย การวิเคราะห์ข้อมูลโดยใช้สถิติเชิงพรรณนา เปรียบเทียบผลลัพธ์โดยใช้สถิติ Mann-Whitney U testและวิเคราะห์ข้อมูลเชิงคุณภาพโดยการวิเคราะห์เนื้อหา
ผลการวิจัยพบว่า แนวทางการใช้เครื่องช่วยหายใจชนิด High flow nasal cannula ในหอผู้ป่วยวิกฤต โรงพยาบสลโกสุมพิสัย ประกอบด้วย 1) การพยาบาลก่อนใช้HFNC 2) การพยาบาลระหว่างการใช้ HFNC และ3) การพยาบาลหลังการใช้ HFNC พบว่าอัตราความสำเร็จในการใช้ HFNC ร้อยละ 83.3 ค่าเฉลี่ยจำนวนวันนอนในหอผู้ป่วยหนักพบว่าเฉลี่ยลดลงจาก 6.78 วัน เหลือ 3.71 วัน แตกต่างกันอย่างมีนัยสำคัญทางสถิติ (P-value <0.001) ค่าเฉลี่ยคะแนนความพึงพอใจภาพรวมอยู่ในระดับสูง (Mean = 4.73, SD = 0.47) อัตราการเสียชีวิตลดลง และค่าใช้จ่ายลดลง
References
กฤษฎา ชุมวณิชย์, วีรโรจน์ นิธฺธาริยโสภณ, สรภพ ภักดีวงศ์, กนกเลขา สุวรรณพงษ์. การศึกษาค่า Rox index ในการพยากรณ์ผลลัพธ์ทางคลินิกในผู้ป่วยโควิด 19 ที่มีภาวการณ์หายใจล้มเหลวชนิดพร่องออกซิเจนที่ได้รับการรักษาด้วยการให้ออกซิเจนอัตราการไหลสูงทางจมูก. วารสารแพทย์นาวี (2656); 49(2): 291-303.
ทีปทัศน์ ชินตาปัญญากุล, อภิสิทธิ์ ตามสัตย์. การบำบัดด้วยออกซิเจนชนิดอัตราไหลสูงสำหรับผู้ใหญ่และผู้สูงอายุ: จากหลักฐานเชิงประจักษ์สู่การปฏิบัติการพยาบาลคลินิก.วารสารพยาบาลตำรวจ (2564); 13(1): 253-64.
ธนรัตน์ พรศิริรัตน์, สุรัตน์ ทองอยู่. การพยาบาลผู้ป่วยผู้ใหญ่ที่มีภาวะพร่องออกซิเจนและได้รับการรักษาด้วย High Flow Nasal Cannula.เวชบันทึกศิริราช (2563); 13(1): 60-8.
นรวิชญ์ กิจไพศาลรัตนา, อรรถสิทธิ์ โคมินทร์, ครองวงศ์ มุสิกอาวรณ์. การวิจัยนำร่องการช่วยหายใจด้วยการใช้ High-flow nasal cannula ระหว่างการใส่ท่อช่วยหายใจด้วยยานำสลบอย่างรวดเร็วในผู้ป่วยในห้องฉุกเฉิน. วารสารเวชศาสตร์ฉุกเฉินแห่งประเทศไทย (2563); 3(2): 14-27.
นัฐพล ฤทธิ์ทยมัย. การรักษาทางคลินิกด้วยออกซิเจนอัตราการไหลสูง Clinical use of high-flow oxygen therapy. กรุงเทพฯ: คณะแพทยศาสตร์ศิริราชพยาบาล มหาวิยาลัยมหิดล; 2564.
พราวเดือน เนตรวิชัย. ผลการปฏิบัติของพยาบาลหลังการพัฒนาแนวทางการพยาบาลผู้ป่วยโรคติดเชื้อโควิด 19 ที่มีภาวะหายใจลำบากเฉียบพลันและได้รับการรักษาด้วย High flow nasal cannula ในหอผู้ป่วยติดเชื้อ โรงพยาบาลสันป่าตอง จังหวัดเชียงใหม่ [ออนไลน์] 2566. ที่มา: https://www.chiangmaihealth.go.th/detail_academic.php?academic_id=25
เพชร วัชรสินธุ์. High flow O2 nasal cannula therapy. วารสารเวชบำบัดวิกฤต (2560);25(2): 32-6.
เยาวภา จันทร์มา, สุพรรณ วงศ์ตัน, วรรณา สุธรรมา. อำพร กอรี. การพัฒนารูปแบบการพยาบาลผู้ป่วยทารกและเด็กวิกฤตที่ได้รับการบำบัดด้วยออกซิเจนที่มีอัตราการไหลสูง โรงพยาบาลนครพิงค์. พยาบาลสาร (2564); 48(3): 291-304.
วีระยุทธ์ ชาตะกาญจน์. การวิจัยเชิงปฏิบัติการ Action research. วารสารราชภัฏสุราษฎร์ธานี (2558); 2(1): 29-49.
Nishimaru M. High-flow nasal cannula oxygen therapy in adults: physiological benefits, indication, clinical benefits and adverse effects. Respir Care (2016); 61(4): 529-41.
อัมพาภรณ์ เตชธนางกูร. คู่มือการพยาบาลผู้ป่วยที่มีภาวการณ์หายใจล้มเหลวที่ได้รับการักษาด้วยการใช้เครื่องให้ออกซิเจนผสมอากาศอัตราการไหลสูงทางจมูก. กรุงเทพฯ: งานการพยาบาลอายุรศาสตร์และจิตเวชศาสตร์ ฝ่ายการพยาบาลโรงพยาบาล คณะแพทยศาสตร์ศิริราชพยาบาล มหาวิทยาลัยมหิดล. 2563.
ภากร ชูพินิจรอบคอบ. ประสิทธิผลของการพัฒนาแนวปฏิบัติตามหลักฐานเชิงประจักษ์สำหรับผู้ป่วยเด็กที่ได้รับการบำบัดด้วยออกซิเจนผสมอากาศอัตราการไหลสูง. วารสารโรงพยาบาลธรรมศาสตร์เฉลิมพระเกียรติ (2566); 8(1): 28-45.
Frat JP, Thille AW, Mercat A, Girault C, Ragot S, Perbet S, et al. High-flow oxygen through nasal cannula in acute hypoxemic respiratory failure. N Engl J Med (2015); 372(23): 2185-96.
Hermandez G, Vaquero C, Gonz•lez P, Subira C, Frutos-Vivar F, Rialp G, et al. Effect of postextubation high-flow nasal cannula vs conventional oxygen therapy on reintubation in low-risk patients: a randomized clinical trial. JAMA (2016); 315(13):1354-61.
Roca O, Riera J, Torres F, Masclans JR. High-flow oxygen therapy in acute respiratory failure. Respir Care (2010); 55: 408-13.