การพยาบาลผู้ป่วยโรคเบาหวานที่มีภาวะเลือดเป็นกรดจากการคั่งของสารคีโตนในกระแสเลือด: กรณีศึกษา
คำสำคัญ:
เบาหวาน, Diabetic ketoacidosis, Sepsisบทคัดย่อ
กรณีศึกษา หญิงไทยอายุ 20 ปี เข้ารับการรักษาในโรงพยาบาลวันที่ 4 กันยายน 2566 ผู้ป่วยมาตรวจตามนัด มีอาการเวียนศีรษะ คลื่นไส้อาเจียนเป็นน้ำ 10 ครั้ง ก่อนมาโรงพยาบาล 1 วัน มีโรคประจำตัวเป็นโรคเบาหวานชนิดที่ 1 ผล FBS 405 mg% ชีพจรเต้นเร็ว 136 ครั้ง/นาที แพทย์วินิจฉัย Diabetes Mellitus type I with Diabetic ketoacidosis with Sepsis ดูแลเฝ้าระวังสัญญาณชีพและภาวะ ketoacidosis ก่อนนำผู้ป่วยส่งห้องอุบัติเหตุและฉุกเฉิน ให้การพยาบาลดูแลให้ผู้ป่วยได้รับสารน้ำทางหลอดเลือดดำ ยาตามแผนการรักษาและส่งตรวจทางห้องปฏิบัติการ แก้ไขภาวะน้ำตาลในเลือดสูง ให้ข้อมูลแก่ผู้ป่วยและญาติ หลังจากนั้นติดต่อประสานงานเพื่อรับผู้ป่วยไว้นอนรักษาพยาบาลและนำส่งไปหอผู้ป่วยหนัก อย่างปลอดภัย ติดตามเยี่ยม 2 วัน ระดับน้ำตาลเข้าสู่ระดับปกติ ไม่พบภาวะแทรกซ้อนขณะดูแลรักษาพยาบาล จำหน่ายผู้ป่วย วันที่ 11 กันยายน 2566 รวมระยะเวลานอนรักษาในโรงพยาบาลนาน 7 วัน ผลประเมินภาวะสุขภาพกรณีศึกษา พบข้อวินิจฉัยการพยาบาลที่สำคัญคือ มีภาวะช็อกเนื่องจากภาวะติดเชื้อ เสี่ยงต่อผู้ป่วยเกิดเนื้อเยื่อพร่องออกซิเจนจากภาวะเลือดเป็นกรดจากสารคีโตนคั่ง ผู้ป่วยมีโอกาสอาการทรุดลงขณะรอตรวจ หลังจากให้การพยาบาล ปัญหาได้รับการแก้ไขครบถ้วนและทีมสหสาขาวิชาชีพ แพทย์ เภสัช กายภาพ โภชนากร ในการประเมินปัญหาวางแผนการดูแลร่วมกัน ส่งข้อมูลให้ รพ.สต.ได้มีส่วนร่วมในการดูแลต่อเนื่อง
References
พิมพ์ใจ อันทานนท์. (2565). สมาคมโรคเบาหวานแห่งประเทศไทย. https://www.dmthai. org/index.
สมาคมโรคเบาหวานแห่งประเทศไทย, สมาคมต่อมไร้ท่อแห่งประเทศไทย, กรมการแพทย์กระทรวง สาธารณสุข, สำนักงานหลักประกันสุขภาพแห่งชาติ. (2560). แนวทางเวชปฏิบัติสำหรับโรคเบาหวาน 2560 (Clinical Practice Guideline for Diabetes 2017). พิมพ์ครั้งที่3. ปทุมธานี. ร่มเย็น มีเดียจำกัด
รัตนา จารุวรรโน. (2560). ภาวะวิกฤต:ผู้ป่วยโรคเบาหวาน (Critically III: Patientswith Diabetes). ใน วิจิตรา กุสุมภ์. บรรณาธิการ. การพยาบาลผู้ป่วยวิกฤต:แบบองค์รวม. พิมพ์ครั้งที่6. ห้างหุ้นส่วนสามัญนิติบุคคล สหประชาพาณิชย์.
นุชระพี สุทธิกุล, สุมาลี จารุสุขถาวร, และ เยาวภา พรเวียง. (2564). การพัฒนาแนวปฏิบัติการพยาบาล ผู้ป่วย เบาหวานที่มีน้ำตาลในเลือดสูงร่วมกับสารคีโตนคั่งในระยะวิกฤต. วารสารพยาบาล กระทรวงสาธารณสุข, 31(1), 14-32. 21
ณัฐพร ออนตะไคร้, อุษณีย์ จินีตะเวช, และ จุฑามาศ โชติบาง. (2564). ปัจจัยที่เกี่ยวข้องกับพฤติกรรมการ จัดการตนเองในเด็กวัยรุ่นโรคเบาหวานชนิดที่ 1.พยาบาลสาร 48 (2) 246-258
วนิดา เณรานนท์, เพ็ญรัชต์ โค้วไพโรจน์. (2562 ).การพัฒนาความสามารถในการดูแลตนเองเพื่อป้องกัน ภาวะแทรกซ้อนของผู้ป่วยวัยรุ่นโรคเบาหวานชนิดที่ 1: กรณีศึกษา .วารสารเกื้อการุณย์, 26(2) 181-192.
สุนิสา พลนอก. (2563). การพยาบาลผู้ป่วย Diabetic ketoacidosis. https://www.mnrh.go.th/pdf_file_academic/3011202001_RESEARCH.pdf