การพยาบาลผู้ป่วยที่ได้รับการผ่าตัดเปลี่ยนข้อเข่าเทียมทั้งหมด : กรณีศึกษาเปรียบเทียบ 2 ราย
คำสำคัญ:
โรคข้อเข่าเสื่อม, การผ่าตัดเปลี่ยนข้อเข่าเทียมทั้งหมดบทคัดย่อ
การศึกษาเปรียบเทียบกรณีศึกษา 2 ราย การพยาบาลผู้ป่วยหลังผ่าตัดข้อเข่าเทียม มีวัตถุประสงค์ เพื่อศึกษาเปรียบเทียบ สาเหตุการเกิด อาการ การรักษา ภาวะแทรกซ้อน และการใช้กระบวนการพยาบาล ในการดูแลผู้ป่วยที่ได้รับการผ่าตัดเปลี่ยนข้อเข่าเทียม
ผลการศึกษา พบว่า ปัจจัยส่งเสริมการเกิดภาวะข้อเข่าเสื่อมของกรณีศึกษาทั้ง 2 ราย ที่เหมือนกันคือ อายุที่เพิ่มมากขึ้น และน้ำหนักตัวที่เพิ่มขึ้นส่งผลให้เกิดภาวะข้อเข่าเสื่อม และที่แตกต่างกันคือ กรณีศึกษารายที่1 มีอาชีพช่างเย็บผ้า ที่ต้องใช้ท่าทางเดิมๆซ้ำเป็นเวลานาน และมีประวัติเคยผ่าตัดมดลูกและท่อรังไข่ ทำให้ฮอร์โมนเอสโตรเจนลดลง ซึ่งระดับฮอร์โมนเอสโตรเจนลดลง ทำให้เนื้อเยื่อรอบข้อไม่แข็งแรง เส้นเอ็นหย่อนยาน ข้อหลวมไม่มั่นคง1 หมอวินิจฉัย Primary osteoarthritis ส่วนกรณีศึกษารายที่ 2 มีประวัติประสบอุบัติใส่เหล็กดามที่ขาทั้ง 2 ข้าง หมอวินิจฉัย Tertiary osteoarthritis จาก Post traumatic และได้ใช้ทฤษฎี 11 แบบแผนกอร์ดอนเป็นกรอบในการรวบรวมข้อมูล และนำมาวิเคราะห์และกำหนดข้อวินิจฉัยการพยาบาล กรณีศึกษารายที่1 จำนวน 15 ข้อ และกรณีศึกษารายที่ 2 จำนวน 18 ข้อ และได้ติดตามดูแลต่อเนื่องหลังผ่าตัด พบว่า กรณีศึกษารายที่1 สามารถฟื้นฟูสภาพข้อเข่า งอเข่าได้ 0-120 องศา เดินได้โดยใช้เครื่องช่วยพยุงเดินได้อย่างมั่นคง สามารถทำกิจวัตรประจำวันได้ใกล้เคียงปกติ กรณีศึกษารายที่ 2 หลังจากกลับบ้าน ไม่ได้ปฏิบัติตามคำแนะนำเนื่องจากกลัวปวดเข่า ทำให้งอเข่าได้ไม่เต็มช่วง จึงได้นำทฤษฎีการเสริมสร้างพลังอำนาจตามแนวคิดของ Gipson มาให้การพยาบาลผู้ป่วย ทำให้ผู้ป่วยงอเข่าได้ 0-120 องศาตามเป้าหมาย
References
สุวรรณี สร้อยสงค์, อังคณา เรือนก้อน, ภัณฑิรา เฟื่องทอง และผุสดี สระทอง.(2562).การพยาบาลผู้สูงอายุโรคข้อเข่าเสื่อม.วารสารวิชาการแพทย์เขต11.ปีที่ 33 ฉบับที่ 2.197-209.
สุพรรณี วงศ์แก้ว, ศิริรัตน์ ปานอุทัย และภารดี นานาศิลป์.(2023).ปัจจัยที่มีความสัมพันธ์กับกิจกรรมทางกายในผู้สูงอายุโรคข้อเข่าเสื่อมระยะที่สาม.พยาบาลสาร มหาวิทยาลัยเชียงใหม่.ปีที่ 50 ฉบับที่ 1.216-228.
ธวิศ เมธาบุตร.(2565).การพัฒนารูปแบบการจัดการโรคข้อเข่าเสื่อมในผู้สูงอายุ อำเภอชุมพวง จังหวัดนครราชสีมา.วารสารศูนย์อนามัยที่9.ปีที่ 16 ฉบับที่ 3.969-985.
โรงพยาบาลสมเด็จพระยุพราชกระนวน.(2564-2566).งานสารสนเทศโรงพยาบาล.
ขวัญสุวีย์ อภิจันทรเมธากุล สุวรรณี สร้อยสงค์ และบุศริน เอี่ยวสีหยก.(2561).การพยาบาลผู้ป่วยโรคข้อเข่าเสื่อมที่ได้รับการผ่าตัดเปลี่ยนข้อเข่า.วารสารวิทยาลัยพยาบาลพระปกเกล้า จันทบุรี.ปีที่ 29 ฉบับที่ 1.
กีรติ เจริญชลวานิช และบุญชนะ พงษ์เจริญ.(2005).การศึกษาความน่าเชื่อถือของแบบสอบถามประเมินคุณภาพชีวิต Oxford Knee Score และ SF-36.Jmed Assoc Thai.ปีที่ 88 ฉบับที่ 9.
กรมการแพทย์ กระทรวงสาธารณสุข.(2548).แนวทางเวชปฏิบัติการวินิจฉัยและรักษาโรคข้อเข่าเสื่อม.8. สมาคมรูมาติซั่มแห่งประเทศไทย.(2554).แนวทางเวชปฏิบัติการรักษาโรคข้อเข่าเสื่อม.1-32.
สมาคมโรคไตแห่งประเทศไทย.(2565). คำแนะนำสำหรับการดูแลผู้ป่วยโรคไตเรื้อรังก่อนการบำบัดทดแทนไต(ฉบับปรับปรุงเพิ่มเติม).
เนตรนิภา จันตระกูลชัย.(2557).ผลลัพธ์ของการใช้โปรแกรมการเสริมสร้างพลังอำนาจในผู้ป่วยโรคความดันโลหิตสูงที่ควบคุมไม่ได้.[วิทยานิพนธ์ปริญญามหาบัณฑิตไม่ได้ตีพิมพ์ มหาวิทยาลัยคริสเตียน].
บุญจันทร์ วงศ์สันทรวัฒน์, รัตนาภรณ์ จีระวัฒนะ, ณัฐพิมณฑ์ ภิรมย์เมือง และน้ำเพชร สายบัวทอง.(2010).แนวปฏิบัติการพยาบาลทางคลินิก:การพยาบาลผู้ป่วยเบาหวานที่มีภาวะน้ำตาลต่ำในเลือด.Rama Nurse.ปีที่ 18 ฉบับที่ 2.166-177.
เพ็ญศรี เลาสวัสดิ์ชัยกุล.(2001).การวางแผนจำหน่ายผู้สูงอายุ.วารสารพยาบาลรามา.ปีที่ 7 ฉบับที่ 1.73-80.
ธีรพงศ์ โศภิษฐิกุล.(2565).ปัจจัยที่มีความสัมพันธ์ต่อผลสำเร็จของการผ่าตัดเปลี่ยนข้อเข่าเทียมในผู้ป่วยโรคข้อเข่าเสื่อม โรงพยาบาลนพรัตน์นครราชสีมา จังหวัดนครราชสีมา.วารสารชัยภูมิเวชสาร.ปีที่ 42 ฉบับที่ 1.88-98.
เนตรนภา จันทร.(2019).ประสิทธิผลของการรักษาด้วยการออกกำลังกายตามแนวคิด Movement System Impairment ต่อระดับความสามารถในการทำกิจกรรมต่างๆและระดับความรุนแรงของข้อเข่าเสื่อมในผู้ป่วยข้อเข่าเสื่อมเรื้อรัง.วารสารการสาธารณสุข.ปีที่ 28 ฉบับที่ 3.
เวียงพิงค์ ทวีพูน.(2564).ทฤษฎีความพร่องในการดูแลตนเองของโอเร็ม.[ มหาวิทยาลัยราชภัฎบุรีรัมย์].