การพยาบาลผู้ป่วยภาวะไทรอยด์ฮอร์โมนเป็นพิษที่ได้รับการให้ยาระงับความรู้สึกแบบทั่วไป ร่วมกับภาวะใส่ท่อหายใจยาก: กรณีศึกษา
คำสำคัญ:
การพยาบาล, ภาวะไทรอยด์ฮอร์โมนเป็นพิษ, การให้ยาระงับความรู้สึก, ภาวะใส่ท่อหายใจยากบทคัดย่อ
การศึกษานี้เป็นกรณีศึกษา มีวัตถุประสงค์ เพื่อศึกษาการพยาบาลผู้ป่วยภาวะไทรอยด์ฮอร์โมนเป็นพิษที่ได้รับการให้ยาระงับความรู้สึกแบบทั่วไปร่วมกับภาวะใส่ท่อหายใจยาก
ผลการศึกษา: ผู้ป่วยหญิงสัญชาติพม่า อายุ 33 ปี รับไว้รักษาในโรงพยาบาล วันที่ 13 กันยายน 2566 อาการสำคัญ เหนื่อย หายใจไม่อิ่ม 1 วัน ก่อนมาโรงพยาบาล มีแผนการผ่าตัด Total Thyroidectomy + Rigid bronchoscope ซึ่งผู้ป่วยรายนี้ให้ยาระงับความรู้สึกแบบทั่วไป ระยะก่อนให้ยาระงับความรู้สึก ผู้ป่วยมีความวิตกกังวล ระยะให้ยาระงับความรู้สึก มีปัญหา difficult airway ใส่ท่อหายใจยาก เสี่ยงต่อการเกิดภาวะ Thyroid storm ระยะหลังให้ยาระงับความรู้สึก เสี่ยงต่อการบาดเจ็บของเส้นประสาท Laryngeal nerve และมีภาวะ vocal cord paralysis ผู้ป่วยได้รับการดูแลจากทีม ไม่เกิดภาวะแทรกซ้อนที่เป็นอันตราย การผ่าตัดสำเร็จ 2 วัน ถอดท่อหายใจได้ จำหน่าย วันที่ 22 กันยายน 2566 รวมระยะเวลารักษาตัวในโรงพยาบาลนาน 9 วัน
References
นพวรรณ บุญบำรุง. (2560). ภาวะต่อมไทรอยด์เป็นพิษวิกฤต: การพยาบาล. วารสารพยาบาลสงขลานครินทร์; 37(2): 160-168
บุศรา ศิริวันสาณฑ์, พิชยา ไวทยะวิญญูและปฏิภาณ ตุ่มทอง. (2560). Anesthesia and Perioperative Care. พี.เอ.ลีฟวิ่ง จำกัด.
พรศิริ พันธสี. (2564). กระบวนการพยาบาล & แบบแผนสุขภาพ :การประยุกต์ใช้ทางคลินิก (NURSING PROCESS & FUNCTIONAL HEALTH PATTER) พิมพ์ครั้งที่ 25. พิมพ์อักษร
สมจินต์ จินดาวิจักษณ์ และคนอื่น ๆ. (2558). แนวทางการตรวจวินิจฉัยและรักษาโรคมะเร็ง ต่อมไทรอยด์. โฆษิตการพิมพ์.
Ahmad A, Khan HM, Chaudhry N, et al. (2016). Post thyroidectomy hypocalcaemia-an audit of 100 cases. Annals of KEMC; 12(2): 285-7.
American Thyroid Association. (2017). The Guidelines of the American Thyroid Association for the Diagnosis and Management of Thyroid Disease During Pregnancy and the Postpartum.; 27(3): 315-89.
Palacios SS,Pascual-Corrales E, Galofre JC. (2012). Management of Subclinical Hyperthyroidism. Int J Endocrinol Metab; 10(2): 490–496.