การพยาบาลผู้ป่วยล้างไตทางช่องท้องที่มีภาวะเยื่อบุช่องท้องอักเสบ : กรณีศึกษา 2 ราย
คำสำคัญ:
ล้างไตทางช่องท้อง, เยื่อบุช่องท้องอักเสบบทคัดย่อ
การศึกษานี้เป็นกรณีศึกษามีวัตถุประสงค์เพื่อเป็นแนวทางในการจัดทำโปรแกรมการสอนล้างไตในผู้ป่วยล้างไตทางช่องท้องรายใหม่ และแนวทางการพยาบาลผู้ป่วยล้างไตทางช่องท้องที่มีภาวะเยื่อบุช่องท้องอักเสบวิธีดำเนินการศึกษา การศึกษาครั้งนี้เป็นการศึกษาผู้ป่วยรายกรณีแบบเฉพาะเจาะจง จำนวน 2 ราย ที่เข้ารับการรักษาในโรงพยาบาลกาฬสินธุ์ ในช่วง เดือนตุลาคม พ.ศ. 2566 ถึงเดือนพฤศจิกายน 2566 จำนวน 2 ราย ทบทวนวรรณกรรมและงานวิจัยที่เกี่ยวข้อง นำข้อมูลมาวิเคราะห์วางแผนการพยาบาลและนำสู่การปฏิบัติการพยาบาล .สรุปผลการศึกษาเพื่อรวบรวมข้อมูลและปัญหาที่พบในการดูแลผู้ป่วยเพื่อหาแนวทางแก้ไข
ผลการศึกษา พบว่า ผู้ป่วยล้างไตทางช่องท้องทั้ง2รายมาด้วยอาการปวดท้องน้ำยาล้างไตขุ่นเหมือนกัน โดยแพทย์ให้การรักษาโดยการให้นอนโรงพยาบาลเพื่อให้ยาปฏิชีวนะผลพบว่าผู้ป่วยรายที่ 1 การรักษาไม่ตอบสนองต่อการให้ยาจึงจำเป็นต้องสิ้นสุดการรักษาด้วยการล้างไตทางช่องท้องเปลี่ยนมารักษาด้วยการฟอกเลือดด้วยเครื่องไตเทียม ส่วนผู้ป่วยรายที่ 2 ตอบสนองต่อการรักษาด้วยยาปฏิชีวนะ ส่งผลให้อาการดีขึ้นตามลำดับ แพทย์จึงจำหน่ายผู้ป่วยกลับบ้าน
References
กฤตพงศ์ สมบูรณ์และศิริพร คำสะอาด. (2562). การศึกษาระบาดวิทยาและผลการรักษาในผู้ป่วยที่มีภาวะเยื่อบุช่องท้องอักเสบติดเชื้อจากการล้างไตทางหน้าท้อง. วารสารโรงพยาบาลมหาสารคาม ปีที่ 16 ฉบับที่ 1
ชัญญพัชร์ รัตนเดชพงศ์สิน. (2565). คุณภาพชีวิต และภาวะซึมเศร้าในผู้ป่วยโรคไตเรื้อรังระยะสุดท้าย ที่ได้รับการล้างไตทางช่องท้องอย่างต่อเนื่อง. PCFM Vol 5 No. 4 Oct-Dec 2022:276-286.
เถลิงศักดิ์ กาญจนบุษย์. (2560). แนวปฏิบัติการล้างไตทางช่องท้อง พ.ศ. 2560. กรุงเทพฯ. เฮลธ์ เวิร์ค พลัส จำกัด.
นันทา มหัธนันท์และปิ่นแก้ว. (2566). ข้อแนะนำการปฏิบัติการดูแลผู้ป่วยฟอกเลือดและผู้ป่วยล้างไตทางช่องท้อง.กรุงเทพฯ. สำนักพิมพ์เวชสาร.
ปิยรัตน์ โรจน์สง่า. (2565). คะแนนการทำนายทางคลินิกเพื่อทำนายการเกิดภาวะเยื่อบุช่องท้องอักเสบที่ไม่ตอบสนองต่อการรักษาในผู้ป่วยล้างไตทางช่องท้อง. ศรีนครินทร์เวชสาร.
ราตรี สุจินดาและชนัญชิตา หาจันดา.(2562). การพัฒนาแนวปฏิบัติการพยาบาลเพื่อป้องกันการเกิดเยื่อบุช่องท้องอักเสบของผู้ป่วยล้างไตทางช่องท้องโรงพยาบาลกุมภวาปี จังหวัดอุดรธานี. วารสารการพยาบาล สุขภาพ และการศึกษา ปีที่ 2 ฉบับที่ 2 (พ.ค.-ส.ค.62) หน้าที่ 54
โรงพยาบาลกาฬสินธุ์. (2566) . สถิติข้อมูลผู้รับบริการล้างไตทางช่องท้องโรงพยาบาลกาฬสินธุ์ประจำปี 2564 – 2566.
สำราณ พลเตซา, สุนันท์ นกทองและวัลลภา ช่างเจรจา. (2561). ปัจจัยที่มีความสัมพันธ์กับการติดเชื้อในเยื่อบุช่องท้องในผู้ป่วยล้างไตในช่องท้องอย่างต่อเนื่องโรงพยาบาลบึงกาฬ. วารสารการพยาบาล สุขภาพ และการศึกษา ปีที่ 1 ฉบับที่ 3 (ก.ย.-ธ.ค. 61) หน้า 3.
Kai Ming Chow, Philip Kam-Tao Lil, Yeoungjee Cho, Ali Abu-Alfa, Sunita Bavanandan. et al. (2023). ISPD Catheter-related Infection Recommendations: 2023 Update. Peritoneal Dialysis International
Philip Kam-Tao Lil, Kai Ming Chow, Yeoungjee Cho, Stanley Fan, Ana E Figueiredo. et al. (2022). ISPD peritonitis guideline recommendations:2022 update on prevention and treatment. Peritoneal Dialysis International 2022, Vol. 42(2) 110-153.