การพยาบาลผู้ป่วยโรคความดันโลหิตสูงที่ควบคุมไม่ได้ โดยการจัดการรายกรณีในคลินิกโรคไม่ติดต่อเรื้อรัง โรงพยาบาลพระยืน : กรณีศึกษา
คำสำคัญ:
การพยาบาล, การจัดการรายกรณี, การควบคุมความดันโลหิตไม่ได้บทคัดย่อ
การศึกษาครั้งนี้เป็นการศึกษาเฉพาะราย (Case study) เพื่อศึกษาเปรียบเทียบการใช้กระบวนการพยาบาลโดยการจัดการรายกรณี (Case management) ในการดูแลผู้ป่วยโรคความดันโลหิตสูงที่ควบคุมไม่ได้ จำนวน 2 ราย โดยทำการเลือกผู้ป่วยแบบเฉพาะเจาะจงที่มารับบริการในคลินิกโรคไม่ติดต่อเรื้อรัง โรงพยาบาลพระยืน ดำเนินการศึกษาระหว่างเดือนธันวาคม 2565-กันยายน 2566 เครื่องมือที่ใช้ประกอบด้วย 1) แบบบันทึกข้อมูลรวบรวมข้อมูลจากเวชระเบียนผู้ป่วยนอก ข้อมูลการ ให้บริการที่คลินิกโรคไม่ติดต่อเรื้อรังแผนกผู้ป่วยนอก 2) การสังเกตสัมภาษณ์ผู้ป่วยและญาติ 3) แบบบันทึกทางการพยาบาล โดยใช้แนวคิดแบบประเมินผู้ป่วยตามแบบแผนทางด้านสุขภาพ 11 แบบแผนของกอร์ดอน วิเคราะห์ข้อมูลโดยการเปรียบเทียบปัจจัยการเกิดโรค การรักษา ปัญหาและข้อวินิจฉัยทางการพยาบาล การวางแผน ให้การพยาบาล วางแผนจำหน่ายและดูแลต่อเนื่อง รวมถึงประเมินผลลัพธ์การพยาบาล
ผลการศึกษา : ผู้ป่วยรายที่ 1 ชายไทย อายุ 68 ปี ป่วยด้วยโรคความดันโลหิตสูงระยะเวลา 11 ปี มีความดันโลหิตสูงระดับ 3 (Severe), ไขมันในเลือดสูง, โรคเก๊าท์, CKD Stage 4 มีพฤติกรรมการรับประทานอาหารเค็ม ออกกำลังกายไม่สม่ำเสมอ มาพบแพทย์ไม่ตรงตามนัด มีระดับน้ำตาลในเลือดสูงแต่ยังไม่ได้รับการตรวจติดตามเพื่อวินิจฉัยและรักษาจากแพทย์ นำกระบวนการพยาบาล การจัดการรายกรณี และแนวคิดการสนับสนุนการจัดการตนเอง (Self–management Support) จัดการปัญหาทางคลินิกและช่วยในการปรับเปลี่ยนพฤติกรรม ทำให้ผู้ป่วยสามารถควบคุมความดันโลหิตได้ ผู้ป่วยรายที่ 2 ชายไทย อายุ 47 ปี ป่วยด้วยโรคความดันโลหิตสูงระยะเวลา 4 ปี มีความดันโลหิตสูงระดับ 2 (Moderate) มีภาวะไขมันในเลือดสูง มีพฤติกรรมการรับประทานอาหารรสจัด ดื่มสุราเป็นประจำและรับประทานยาไม่สม่ำเสมอ นำแนวคิดการสนับสนุนการจัดการตนเอง จัดการกับปัญหาการควบคุมความดันโลหิตและไขมันในเลือดสูง และปัญหาการรับประทานอาหารรสจัดรวมถึงการรับประทานยาไม่สม่ำเสมอ และนำแนวคิด MI (Motivational interviewing) ในการช่วยผู้ป่วยให้เลิกดื่มสุรา ทำให้ผู้ป่วยสามารถควบคุมความดันโลหิตได้
References
Zhou, B., Perel, P., Mensah, G.A. et al. Global epidemiology, health burden and effective interventions for elevated blood pressure and hypertension. Nat Rev Cardiol 2021 : 18 : 785–802.
สํานักงานพัฒนานโยบายสุขภาพระหว่างประเทศ. รายงานภาระโรคระดับเขตและภูมิภาคของประเทศไทยพ.ศ. 2557. นนทบุรี: มูลนิธิเพื่อการพัฒนานโยบายสุขภาพระหว่างประเทศ; 2562.
สำนักงานสาธารณสุขจังหวัดขอนแก่น. รายงานประจําปี 2565. ขอนแก่น: โรงพิมพ์คลังนานาวิทยา: 2565.
National Institutes of health. The seventh report of the joint national committee: Prevent,detection evaluation and treatment of high blood press [Internet]. [cited 2008 August 19]. Available from http://www.nhlbj.nih.gov/guidlindes/ hypertension/express.pdf
สมาคมความดันโลหิตสูงแห่งประเทศไทย. แนวทางการรักษาโรคความดันโลหิตสูงในเวชปฏิบัติทั่วไป พ.ศ. 2562. [Internet] 2562 [เข้าถึงเมื่อ 2565 มกราคม 25]. เข้าถึงได้จาก/ http://thaihypertension.org/guideline.html
อรุณี ไชยฤทธิ์ วิมล จังสมบัติศิริ. บทบาทสำคัญของผู้จัดการรายกรณีต่อการพัฒนาคุณภาพการดูแลผู้ป่วยโรคเรื้อรัง: เบาหวาน และความดันโลหิตสูง. พยาบาลสาร 2560 : 44; 255-265.
Edelman, D., Dolor, R. J., Coffman, C. J., Pereira, R. C., Granger, B. B., Lindquist, J,…Bosworth, H. B. Nurse-led behavior managementof diabetes and hypertension in community practice: a randomize trial. Journal of Gen Intern Medicine 2015: 30(5) ; 626-633.
Glasgow, R. E., Emont, S., & Miller, D. C. Assessing delivery of the five A’s for patient-centered counseling. Health Promotion International 2006: 21(3) ; 245-255.
เทิดศักดิ์ เดชคง, สนทนาสร้างแรงจูงใจเพื่อปรับเปลี่ยนพฤติกรรมสุขภาพสำาหรับผู้ป่วย NCDs [Motivational Interviewing for NCDs; MI NCDs]. กรุงเทพ: บียอนด์ พับลิสชิ่ง; 2560.
สำนักงานกองทุนสนับสนุนการสร้างเสริมสุขภาพ . 2:1:1 รหัสเด็ดลดพุง. [Internet].2562 [เข้าถึงเมื่อ 2565 มีนาคม 20].เข้าถึงได้จาก/ สืบค้นจาก https://www.thaihealth.or.th/?p=223400
สุมณฑา ห่วงทอง. กรณีศึกษา: พฤติกรรม ปัญหา และอุปสรรคในการควบคุมความดันโลหิตของผู้ที่มีความดันโลหิตสูงระดับ รุนแรง. รามาธิบดีพยาบาลสาร 2556; 19(1): 129-142.
ธวัชชัย สัตยสมบูรณ์ ยุวนุช สัตยสมบูรณ์,.รูปแบบการดูแลผู้ป่วยโรคเรื้อรังและการสนับสนุนการจัดการตนเอง ในผู้ป่วยความดัน โลหิตสูงและผู้ป่วยเบาหวานชนิดที่2 : การทบทวนวรรณกรรมอย่างเป็นระบบ วารสารเครือข่ายวิทยาลัยพยาบาลและเครือข่ายสาธารณสุขภาคใต้ 2020;7(2) : 232-243.
Siminerio, L., Ruppert, K. M., & Gabbay, R. A. Who Can Provide Diabetes Self Management Support in Primary Care?: Findings From a Randomized Controlled Trial. Diabetes Educator 2013; 39(5) : 705-713.
Moreo, K., & Lamb, G. CMSA. updates standards of practice for case management. Case manager 2003; 14(3): 52-54.
Hallberg, I. R., & Kristensson, J. Preventive home care of frail older people: review of recent case management studies. Journal of Clinical Nursing 2004; 13(6B):112-120.
กองการพยาบาล สำนักงานปลัดกระทรวงสาธารณสุข. แนวทางการพัฒนาระบบบริการพยาบาล: Service Plan. ปทุมธานี: สื่อตะวันจำกัด; 2561.