ประสิทธิผลของการดำเนินงาน เฝ้าระวัง ป้องกันและควบคุมโรคโควิด-19 ในชุมชน ของอาสาสมัครสาธารณสุขประจำหมู่บ้าน อำเภอเจริญศิลป์ จังหวัดสกลนคร
คำสำคัญ:
ประสิทธิผล, อาสาสมัครสาธารณสุขประจำหมู่บ้าน, โรคโควิด-19บทคัดย่อ
การศึกษานี้เป็นการวิจัยเชิงสำรวจแบบตัดขวาง (Survey research by Cross-sectional Analytical Study) โดยใช้รูปแบบการประเมินแบบ CIPP Model ได้แก่ การประเมินประสิทธิผลด้านบริบท การประเมินประสิทธิผลด้านปัจจัยนำเข้า การประเมินประสิทธิผลด้านกระบวนการ ประเมินประสิทธิผลด้านผลผลิต โดยประเมินจาก ผลการปฏิบัติงานของ อาสาสมัครสาธารณสุขประจำหมู่บ้าน ที่ปฏิบัติงานมาแล้วอย่างน้อยเป็นเวลา 6 เดือน ขึ้นไป ในช่วงสถานการณ์การแพร่ระบาดของโรคโควิด-19 ในช่วงปี 2565 อำเภอเจริญศิลป์ จังหวัดสกลนคร คัดเลือกกลุ่มตัวอย่างแบบสุ่มอย่างง่าย (Simple Random Sampling) จำนวน 76 คน ในระหว่าง เดือน ตุลาคม ถึง พฤศจิกายน พ.ศ.2566 วิเคราะห์ข้อมูลด้วยสถิติเชิงพรรณนา ได้แก่ ร้อยละ ค่าเฉลี่ย ส่วนเบี่ยงเบนมาตรฐาน สถิติ เชิงอนุมาน ได้แก่ สถิติ วิเคราะห์การถดถอยพหุแบบขั้นตอน Stepwise Multiple Linear Regression Analysis วิเคราะห์ความสัมพันธ์หลายตัวแปร Pearson’ product moment correlation coefficient
ผลการวิจัย พบว่า ความรู้ภาพรวมเกี่ยวกับการดำเนินงาน เฝ้าระวัง ป้องกันและควบคุมโรคโควิด-19 ในชุมชน ในระดับปานกลาง มีคะแนนเฉลี่ย10.57 (S.D.= 1.72) มีทัศนคติภาพรวมเกี่ยวกับการดำเนินงาน เฝ้าระวัง ป้องกันและควบคุมโรคโควิด-19 ในชุมชน ระดับดี คะแนนเฉลี่ย 38.71 (S.D.= 4.99) มีพฤติกรรมภาพรวมเกี่ยวกับการดำเนินงาน เฝ้าระวัง ป้องกันและควบคุมโรคโควิด-19 ในชุมชน ในระดับดี คะแนนเฉลี่ย 26.45 (S.D.= 2.58) มีระดับประสิทธิผล ระดับดีทุกประเด็น ภาพรวมระดับประสิทธิผล ด้านผลผลิต (การปฏิบัติ) มีคะแนนเฉลี่ย 67.30 (S.D.= 5.3) อายุ การศึกษาสูงสุด สถานภาพสมรส รายได้ต่อเดือน ระยะเวลาที่ปฏิบัติงานเป็น อสม. ตำแหน่งอื่นในชุมชนและพฤติกรรมเกี่ยวกับการดำเนินงานเฝ้าระวัง ป้องกันและควบคุมโรคโควิด-19 มีความสัมพันธ์อย่างมีนัยสำคัญทางสถิติที่ระดับ 0.05 พบว่า ปัจจัยด้านพฤติกรรมเกี่ยวกับการดำเนินงาน เฝ้าระวัง ป้องกันและควบคุมโรคโควิด-19 ปัจจัยด้านระยะเวลาเป็น อสม. และปัจจัยด้านตำแหน่งอื่นๆ ในชุมชน ตัวแปรทั้ง 3 ตัวสามารถร่วมกันพยากรณ์ประสิทธิผลการดำเนินงานเฝ้าระวัง ป้องกันและควบคุมโรคโควิด-19 ในชุมชน ของอาสาสมัครสาธารณสุขประจำหมู่บ้าน ได้ร้อยละ 50.5 (R2 =0.505, p-value < 0.05)
References
World Health Organization. Coronavirus disease (COVID-19). Accessed on August 6, 2023, from https://www.who.int/health-topics/coronavirus; 2020
กรมควบคุมโรค. กรมควบคุมโรคขอความร่วมมือประชาชนเคร่งครัดมาตรการ D-M-H-T-T-A อย่างต่อเนื่อง เพื่อป้องกันโรคโควิด 19. สืบค้นเมื่อ 6 สิงหาคม 2566, จาก https://ddc.moph.go.th/brc/news.php?news=18373&deptcode=brc; 2564.
กรมควบคุมโรค. 2566. รายงานผลการทบทวนสถานการณ์โรคโควิด –19. สืบค้นเมื่อ 3 มกราคม 2566, จาก http://www.thaincd.com/documentfile/download/knowledge; 2566
ภู่วรวรรณ. 2563. ผลกระทบต่อระบบสาธารณสุข. สืบค้นเมื่อ 6 สิงหาคม 2566, จาก https://learningcovid.ku.ac.th/course.3; 2563.
ยุพดี ตรีชาลาและคณะ. การศึกษาสมรรถนะการป้องกันและควบคุมโรคติดเชื้อไวรัสโคโรนา 2019 (Covid-19) ของอาสาสมัครสาธารณสุขประจำหมู่บ้าน(อสม.). 2565. ปีที่ 20 ฉบับที่ 2 เดือน กรกฎาคม- ธันวาคม 2565. วารสารสำนักงานป้องกันควบคุมโรคที่ 10 จังหวัดอุบลราชธานี.
พิสณุ ฟองศรี. การสร้างและพัฒนาเครื่องมือวิจัย. กรุงเทพฯ: ด่านสุทธาการพิมพ์; 2554.
สรายุทธ กันหลง. การตรวจสอบคุณภาพเครื่องมือการวิจัย. เข้าถึงเมื่อ 7 ธันวาคม 2565; เข้าถึงได้จาก http://www.ipernity.com/blog/252172/477413.
ยุทธ ไกยวรรณ์. หลักสถิติวิจัยและการใช้โปรแกรม SPSS. กรุงเทพฯ: สำนักพิมพ์แห่งจุฬาลงกรณ์ มหาวิทยาลัย; 2553.
บุญเรียง ขจรศิลป์. เทคนิคการอ่านและตีความหมายจากผลการวิเคราะห์ทางสถิติ. กรุงเทพฯ: สำนักงานคณะกรรมการวิจัยแห่งชาติ; 2554.
ปัสุภาภรณ์ วงธิ. ปัจจัยที่ส่งผลต่อพฤติกรรมการป้องกันโรคติดเชื้อไวรัสโคโรนา 2019 ของ อาสาสมัครสาธารณสุขประจำหมู่บ้าน จังหวัดสุโขทัย. วิทยานิพนธ์. มหาวิทยาลัยนเรศวร; 2564.
ฉวีวรรณ ศรีดาวเรืองและคณะ. การดำเนินงานเฝ้าระวัง ป้องกันและควบคุมโควิด-19 ในชุมชน โดยอาสาสมัครสาธารณสุขประจำหมู่บ้าน ในภาคตะวันออกเฉียงเหนือของประเทศไทย. 2565.ปีที่ 16 ฉบับที่ 2 เมษายน-มิถุนายน 2565. วารสารวิจัยระบบสาธารณสุข; นนทบุรี.
อิสสระ หิรัญคำ. ประสิทธิผลการจัดการป้องกันการแพร่ระบาดของโรค โคโรนา ไวรัส 19 ของเทศบาล เมืองหัวหิน อำเภอหัวหิน จังหวัดประจวบคีรีขันธ์. 2561.ปีที่ 2 ฉบับที่ 1 มกราคม-เมษายน 2563. วารสารวิชาการ การจัดการภาครัฐและเอกชน; กรุงเทพ.