การพัฒนาระบบบริการผู้ป่วยโรคไม่ติดต่อเรื้อรัง งานผู้ป่วยนอก โรงพยาบาลศรีบุญเรือง จังหวัดหนองบัวลำภู
คำสำคัญ:
ระบบบริการผู้ป่วยโรคไม่ติดต่อเรื้อรัง, งานผู้ป่วยนอกบทคัดย่อ
การศึกษานี้ มีวัตถุประสงค์ เพื่อศึกษาสถานการณ์การให้บริการผู้ป่วยโรคไม่ติดต่อเรื้อรัง ศึกษาองค์ประกอบของการดำเนินงานการให้บริการผู้ป่วยโรคไม่ติดต่อเรื้อรัง และเพื่อเสนอแนวทางการพัฒนาระบบการให้บริการผู้ป่วยโรคไม่ติดต่อเรื้อรังที่เหมาะสม ของงานผู้ป่วยนอก โรงพยาบาลศรีบุญเรือง จังหวัดหนองบัวลำภู เป็นการวิจัยเชิงปฏิบัติการ (Action Research) ใช้แบบสอบถามความคิดเห็นกลุ่มประชากรที่ศึกษา คือ ผู้ป่วยที่นัดมารับบริการในสัปดาห์ที่ 2 ของเดือนพฤศจิกายน 2566 ในคลินิกโรคเบาหวาน 140 คน และในคลินิกโรคความดันโลหิตสูง 135 คน
ผลการศึกษา พบว่า มีระยะเวลาในการให้บริการลดลงจากก่อนการพัฒนาปรับปรุง และจากความคิดเห็นของผู้ป่วยทั้ง 2 กลุ่ม เห็นว่า ในการบริการ มีองค์ประกอบของการให้บริการทุกด้านมีความเหมาะสมอยู่ในระดับมาก โดยด้านความรวดเร็วของขั้นตอนการให้บริการ มีความเหมาะสมมากเป็นอันดับ 1 รองลงมาคือ ด้านคุณภาพการให้บริการ ด้านสถานที่ให้บริการ และด้านเจ้าหน้าที่ผู้ให้บริการ และผู้ป่วยทั้ง 2 กลุ่ม มีความพึงพอใจต่อการให้บริการอยู่ในระดับมากในทุกด้าน โดยด้านความรวดเร็วของขั้นตอนการให้บริการ มีความเหมาะสมมากเป็นอันดับ 1 รองลงมาคือ ด้านคุณภาพการให้บริการ ด้านสถานที่ให้บริการ และด้านเจ้าหน้าที่ผู้ให้บริการ และในส่วนเจ้าหน้าที่ผู้ปฏิบัติงานให้ความเห็นว่า เป็นแนวทางการให้บริการที่เหมาะสมสามารถนำไปถือปฏิบัติต่อไปได้
References
กองแบบแผน. คู่มือการออกแบบอาคารสถานบริการสุขภาพและสภาพแวดล้อม แผนกผู้ป่วยนอก. กรมสนับสนุนบริการสุขภาพ. กระทรวงสาธารณสุข ; 2558.
ไพรพนา ศรีเสน. ความคาดหวังของผู้รับบริการต่อคุณภาพบริการในงานผู้ป่วยนอก โรงพยาบาลศิริราช คณะแพทย์ศาสตร์ศิริราชพยาบาล. ปริญญาพัฒนาบริหารศาสตร์มหาบัณฑิต สาขาพัฒนาสังคม. บัณฑิตวิทยาลัย. มหาวิทยาลัยมหิดล ; 2544.
กรมการแพทย์. แนวทางลดความแออัดในโรงพยาบาล เพื่อลดการแพร่กระจาย COVID – 19. กลุ่มงานพัฒนานโยบายวิชาการแพทย์ กองวิชาการ. กระทรวงสาธารณสุข ; 2563.
จิตตินันท์ เดชะคุปต์ และคณะ. ความรู้เบื้องต้นเกี่ยวกับจิตวิทยาบริการ. เอกสารการสอนชุดวิชาจิตวิทยาบริการ. เล่มที่ 1 หน่วยที่ 1 – 7. สาขาคหะกรรมศาสตร์ มหาวิทยาลัยสุโขทัยธรรมมาธิราช ; 2555.
น้ำลิน เทียมแก้ว. การศึกษาความพึงพอใจต่อคุณภาพการให้บริการของสำนักวิทยบริการ มหาวิทยาลัยสารคาม ประจำปีการศึกษา 2560. สำนักวิทยบริการ มหาวิทยาลัยสารคาม ; 2561.
ธีร์จุฑา เมฆทอง. ความสัมพันธ์ระหว่างพทย์กับผู้ป่วยที่มารับบริการในโรงพยาบาล กรณีศึกษา โรงพยาบาลธนบุรี 1. วิทยานิพนธ์ปริญญาการจัดการมหาบัณฑิต. วิทยาลัยการจัดการ. มหาวิทยาลัยมหิดล ; 2562.
นนทเขตต์ สังข์วร. ระบบการให้บริการที่มีคุณภาพแผนกผู้ป่วยนอก ของโรงพยาบาลดารารัศมี อำเภอแม่ริม จังหวัดเชียงใหม่. ปริญญารัฐประศาสนศาสตร์มหาบัณฑิต สาขาวิชาการบริหารองค์การภาครัฐและเอกชน. บัณฑิตวิทยาลัย. มหาวิทยาลัยแม่โจ้ ; 2559.
สุรศักดิ์ จินาเขียว. (2560). การพัฒนารูปแบบการบริการงานผู้ป่วยนอก ตามแนวคิดโลจิสติกส์ โรงพยาบาลพบพระ จังหวัดตาก. ปริญญาพยาบาลศาสตร์มหาบัณฑิต. มหาวิทยาลัยสุโขทัยธรรมมาธิราช ; 2560
เพ็ญนภา จรัสพันธ์. ความพึงพอใจของลูกค้าต่อคุณภาพการให้บริการของศูนย์บริการลูกค้า จีเนทโมบายเซอร์วิส เซ็นเตอร์ จันทรบุรี. ปริญญามหาบัณฑิต. วิทยาลัยการบริหารรัฐกิจ. มหาวิทยาลัยบูรพา ; 2557.