ผลการเยี่ยมก่อนและหลังผ่าตัดต่อความวิตกกังวลของหญิงตั้งครรภ์ผ่าคลอด ในโรงพยาบาลกุมภวาปี จังหวัดอุดรธานี

ผู้แต่ง

  • จารุวรรณ มิทะลา พยาบาลวิชาชีพชำนาญการ โรงพยาบาลกุมภวาปี จังหวัดอุดรธานี

คำสำคัญ:

การเยี่ยมก่อนและหลังผ่าตัด, ความวิตกกังวล, หญิงตั้งครรภ์ผ่าคลอด

บทคัดย่อ

     การศึกษานี้เป็นการศึกษากึ่งทดลองแบบกลุ่มเดียว วัดผลก่อน และหลังการทดลอง (Quasi experiment by One– group pre-test post-test)  มีวัตถุประสงค์เพื่อศึกษาความวิตกกังวลของหญิงตั้งครรภ์ผ่าคลอดและการเยี่ยมก่อนและหลังผ่าตัดต่อความวิตกกังวลของหญิงตั้งครรภ์ผ่าคลอด ในโรงพยาบาลกุมภวาปี จังหวัดอุดรธานี มีระยะเวลาในการดำเนินการวิจัย ระหว่างเดือน กรกฎาคม - ตุลาคม 2566  รวม 4 เดือน กลุ่มตัวอย่าง ได้แก่ หญิงตั้งครรภ์ที่มาผ่าคลอดในโรงพยาบาลกุมภวาปี จังหวัดอุดรธานี จำนวน 40 คน เก็บข้อมูลจากแบบสอบถามและเวชระเบียน วิเคราะห์ข้อมูลโดย การวิเคราะห์เชิงเนื้อหา (Content Analysis) ความถี่ ร้อยละ ค่าเฉลี่ย และส่วนเบี่ยงเบนมาตรฐาน และDependent t – test

     ผลการศึกษา พบว่า ความวิตกกังวลของหญิงตั้งครรภ์ผ่าคลอดในโรงพยาบาลกุมภวาปี จังหวัดอุดรธานี ก่อนดำเนินงาน โดยรวม อยู่ในระดับมาก หลังดำเนินงาน โดยรวม อยู่ในระดับน้อย และ ความวิตกกังวลของหญิงตั้งครรภ์ผ่าคลอดในโรงพยาบาลกุมภวาปี จังหวัดอุดรธานี ก่อนและหลังการดำเนินงาน (Dependent t - test) มีความแตกต่างกันอย่างมีนัยสำคัญทางสถิติที่ระดับ .05 โดยที่หลังการดำเนินงานระดับความวิตกกังวลของหญิงตั้งครรภ์ผ่าคลอดในโรงพยาบาลกุมภวาปี จังหวัดอุดรธานี มีค่าลดลง

References

Tara, D.C., Habi, D., Alona, H., Colleen, H. & Toni, M. .Elective cesarean section: Why women choose it and what nurse need to know. Nursing for Women’s Health.2009; 12(6) : 480-488.

สูติศาสตร์ล้านนา.(2566). หัตถการและเรื่องน่ารู้ทางสูติศาสตร์และนรีเวชวิทยา สำหรับ EXTREN : การผ่าตัด Cesarean section. ภาควิชาสูติศาสตร์และนรีเวชวิทยา คณะแพทยศาสตร์ มหาวิทยาลัยเชียงใหม่ https://w1.med.cmu.ac.th/obgyn/about-department/

โครงการประเมินเทคโนโลยีและนโยบายด้านสุขภาพ.(2565). Policy Brief: ฉบับที่ 139: แนวโน้มการผ่าคลอดในไทยเพิ่มสูง https://www.hitap.net/wp-content/uploads/2022/07/139.pdf

Pillitteri A. Maternal & child health nursing care of the childbearing & childbearing family. 5th ed. Philadelphia: Lippincott Williams &Wikins;2007.

พนาวรรณ จันทรเสนา มานพ คณะโต อรวรรณ แสงมณี.(2556) ภาวะแทรกซ้อนจากการให้ยาระงับความรู้สึกทางช่องไขสันหลังในมารดาผ่าตัดคลอดที่โรงพยาบาลคัดสรรในภาคตะวันออกเฉียงเหนือ. วารสารการพัฒนาสุขภาพชุมชน มหาวิทยาลัยขอนแก่น ปีที่ 1 ฉบับที่ 3 (ตุลาคม – ธันวาคม 2556)

ดิฐกานต์ บริบูรณ์หิรัญสาร.(2562). การผ่าตัดคลอดโดยไม่จำเป็น อาจเสี่ยงต่ออันตราย. ภาควิชาสูติศาสตร์-นรีเวชวิทยา คณะแพทยศาสตร์ศิริราชพยาบาล https://www.si.mahidol.ac.th/th/healthdetail.asp?aid=1394

Shapiro GD, Fraser WD, Frasch MG, Seguin JR.(2013). Psychosocial stress in pregnancy and preterm birth: associations and mechanisms. Journal of Perinatal Medicine 2013; 41: 631–45.

ธวัลรัตน์ กิตติศักดิ์ชัย .นันทพร แสนศิริพันธ์ และกรรณิการ์ กันธะรักษา.(2556). ความกลัวการคลอดบุตรในสตรีมีครรภ์ และปัจจัยที่เกี่ยวข้อง วารสารพยาบาลสารปีที่ 40 ฉบับพิเศษ ธันวาคม พ.ศ. 2556 ;2556.

Best, J.W. (1981). Research in Education.New Jersey : Prentice - Hall.

กรรณิการ์ สะสิสุวรรณ รัชฎาภรณ์ จันทสุวรรณ์. (2564). ผลของการให้ข้อมูลอย่างมีแบบแผนต่อความวิตกกังวลในมารดาที่ได้รับการผ่าตัดคลอดทางหน้าท้องครั้งแรกโดยใช้ยาระงับความรู้สึกเฉพาะส่วนผ่านช่องไขสันหลัง รายงานวิจัย โรงพยาบาลมหาราชนครศรีธรรมราช

Leventhal, H. & Johnson, J.E. (1983). Laboratory and field experiment of a Theory selfRegulation. In Wooldridge, P.T., et al (Eds), Behavioral Science and Nursing Theory. pp. 189-262. St.Louis : The C.V. Mosby Co.

Cochrane Collabboration Consumer network inc, (2002). Reducing anxiety before surgery. Retrieved March 20, 2018, from http://www.wagnerdiasresende.med.br/ANXIETY_SURGERY.htm

สยาม ทวีสมบัติ กฤตพัทธ์ฝึกฝน อัญชลีสุวรรณศิริเจริญ.(2564). ผลของการให้ข้อมูลก่อนและหลังผาตัดต่อคุณภาพชีวิต และความวิตกกังวลในผู้ป่วยผาตัดหัวใจแบบเปิด โรงพยาบาลเชียงรายประชานุเคราะห์ วารสารพยาบาลโรคหัวใจและทรวงอก ปีที่ 32 ฉบับที่ 2 กรกฎาคม – ธันวาคม 2564 105 - 119

จุฑารัตน์ แซ่ล้อ มาลี แซ่อุน.(2563). ผลของโปรแกรมการเสริมสร้างความรู้ในมารดาครรภ์แรกที่คลอดบุตรโดยการผ่าตัดทางหน้าท้องต่อความพร้อมก่อนการจำหน่าย.รายงานการวิจัย. สำนักงานสาธารณสุขจังหวัดสุราษฎร์ธานี.

พจนี วงศ์ศิริ, ศุภดีวัน พิทักษ์แทน.(2562). ผลการใช้โปรแกรมการจัดการความปวดต่อการลดความปวด ความวิตกกังวลและความพึงพอใจในผู้ป่วยผ่าตัดคลอดบุตร. วารสารวิชาการแพทย์เขต 11 33(3) 441-460

Downloads

เผยแพร่แล้ว

2023-12-31

How to Cite

มิทะลา จ. (2023). ผลการเยี่ยมก่อนและหลังผ่าตัดต่อความวิตกกังวลของหญิงตั้งครรภ์ผ่าคลอด ในโรงพยาบาลกุมภวาปี จังหวัดอุดรธานี. วารสารอนามัยสิ่งแวดล้อมและสุขภาพชุมชน, 8(3), 523–530. สืบค้น จาก https://he03.tci-thaijo.org/index.php/ech/article/view/1942