ผลการใช้แผนการเยี่ยมผู้ป่วยที่ได้รับการผ่าตัดนิ่วในถุงน้ำดีผ่านกล้องวีดิทัศน์ (Laparoscopic Cholecystectomy) ต่อระดับความวิตกกังวลและภาวะแทรกซ้อน โรงพยาบาลกุมภวาปี

ผู้แต่ง

  • วิไล เหมือนทองจีน พยาบาลวิชาชีพชำนาญการ โรงพยาบาลกุมภวาปี

คำสำคัญ:

แผนการเยี่ยมผู้ป่วย, ผู้ป่วยที่ได้รับการผ่าตัดนิ่วในถุงน้ำดีผ่านกล้องวีดิทัศน์, ความวิตกกังวล

บทคัดย่อ

     การศึกษานี้เป็นการศึกษากึ่งทดลองแบบกลุ่มเดียว วัดผลก่อน และหลังการทดลอง (Quasi experiment by One– group pre-test post-test)   มีวัตถุประสงค์เพื่อศึกษาระดับความวิตกกังวลและภาวะแทรกซ้อนของ ผู้ป่วยเข้ารับการผ่าตัดนิ่วในถุงน้ำดีผ่านกล้องวีดิทัศน์ (Laparoscopic Cholecystectomy) และการใช้แผนการเยี่ยมผู้ป่วยที่ได้รับการผ่าตัดนิ่วในถุงน้ำดีผ่านกล้องวีดิทัศน์ (Laparoscopic Cholecystectomy) ต่อระดับความวิตกกังวลและภาวะแทรกซ้อน โรงพยาบาลกุมภวาปี มีระยะเวลาในการดำเนินการวิจัย ระหว่างเดือนกันยายน- ธันวาคม 2566 รวม 4 เดือน  กลุ่มตัวอย่าง ได้แก่ ผู้ป่วยที่ได้รับการผ่าตัดนิ่วในถุงน้ำดีผ่านกล้องวีดิทัศน์ (Laparoscopic Cholecystectomy) จำนวน 40 คน เก็บข้อมูลจากแบบสอบถามและเวชระเบียน วิเคราะห์ข้อมูลโดย การวิเคราะห์เชิงเนื้อหา (Content Analysis) ความถี่ ร้อยละ ค่าเฉลี่ย และส่วนเบี่ยงเบนมาตรฐาน และDependent t – test

     ผลการศึกษา พบว่า ระดับความวิตกกังวลและภาวะแทรกซ้อนของ ผู้ป่วยเข้ารับการผ่าตัดนิ่วในถุงน้ำดีผ่านกล้องวีดิทัศน์ (Laparoscopic Cholecystectomy) โรงพยาบาลกุมภวาปี  ก่อนดำเนินการโดยรวมอยู่ในระดับมาก หลังการดำเนินงาน โดยรวมอยู่ในระดับน้อย และระดับความวิตกกังวลและภาวะแทรกซ้อนของ ผู้ป่วยเข้ารับการผ่าตัดนิ่วในถุงน้ำดีผ่านกล้องวีดิทัศน์ (Laparoscopic Cholecystectomy) โรงพยาบาลกุมภวาปี  ก่อนและหลังการดำเนินงานมีความแตกต่างกันอย่างมีนัยสำคัญทางสถิติที่ระดับ .05 โดยที่หลังการดำเนินงานระดับความวิตกกังวลและภาวะแทรกซ้อนของ ผู้ป่วยเข้ารับการผ่าตัดนิ่วในถุงน้ำดีผ่านกล้องวีดิทัศน์ (Laparoscopic Cholecystectomy) โรงพยาบาลกุมภวาปี  มีค่าลดลง

References

สภาการพยาบาล. (2548). มาตรฐานบริการพยาบาลและผดุงครรภ์ระดับทุติยภูมิและระดับตติยภูมิ. นนทบุรี : สภาการพยาบาล

สถาบันพัฒนาและรับรองคุณภาพโรงพยาบาล. (2548). มาตรฐานโรงพยาบาลฉบับฉลองสิริราชสมบัติครบ 60 ปี. นนทบุรี : สถาบันพัฒนาและรับรองคุณภาพโรงพยาบาล.

สำนักการพยาบาล กรมการแพทย์. (2551). มาตรฐานการพยาบาลในโรงพยาบาล (ปรับปรุงครั้งที่ 2).พิมพ์ครั้งที่ 3. กรุงเทพฯ: โรงพิมพ์องค์การสงเคราะห์ทหารผ่านศึก

สายทอง ชัยวงศ์ กล้าเผชิญ โชคบำรุง ศรินรัตน์ จันทพิมพ์.(2563). ความวิตกกังวลของผู้ป่วยก่อนได้รับการผ่าตัดช่องท้องและบทบาทของพยาบาล ในการเตรียมความพร้อมผู้ป่วยก่อนเข้ารับการผ่าตัดในโรงพยาบาลแขวงบอริคำไซ สาธารณรัฐประชาธิปไตยประชาชนลาว. วารสารการพยาบาลและการดูแลสุขภาพ ปีที่ 38 ฉบับที่ 3 176 – 85

รัตนา เพิ่มเพ็ชร์, เบญจมาภรณ์ บุตรศรีภูมิ. บทบาทพยาบาลห้องผ่าตัด: การให้ข้อมูลในการเยี่ยมผู้ป่วยก่อนผ่าตัดและหลังผ่าตัด. รามาธิบดีพยาบาลสาร 2559;22:13-24.

ดรุณี สมบูรณ์กิจ อัจฉรา มีนาสันติรักษ์ กมลรัตน์ สุปัญญาบุตร รัชชยา มหาสิริมงคล.(2561). การพัฒนาแนวปฏิบัติการพยาบาลผู้ป่วยที่ได้รับการผ่าตัดนิ่วในถุงน้ำดีผ่านกล้อง โรงพยาบาลมหาสารคาม. วารสารโรงพยาบาลมหาสารคาม ปีที่ 15 ฉบับที่ 3 (กันยายน - ธันวาคม) พ.ศ. 2561 24-34

กนกพร นทีธนสมบัติ ทวีศักดิ์ กสิผล ทศพร อาชววาณิชกุล. (2559). การพัฒนารูปแบบการดูแลผู้ป่วยโรคหลอดเลือดสมองจากมุมมองของพยาบาลวิชาชีพ และผู้ดูแลผู้ป่วยโรคหลอดเลือดสมองของโรงพยาบาลเอกชนแห่งหนึ่งในกรุงเทพมหานคร. วิทยานิพนธ์ (พย.ม.) (การพยาบาลผู้ใหญ่) มหาวิทยาลัยหัวเฉียวเฉลิมพระเกียรติ

อินทิรา ชนเก่าน้อย. (2566). การพัฒนาแนวปฏิบัติการพยาบาลผู้ป่วยผ่าตัดนิ่วในไตแบบเจาะรูผ่านผิวหนังของผู้ป่วยโรงพยาบาลร้อยเอ็ด. วารสารวิจัยและพัฒนานวตกรรมทางสุขภาพ ปีที่ 4 ฉบับที่ 2 (2023): พฤษภาคม-สิงหาคม 2566

ดรุณี สมบูรณ์กิจ อัจฉรา มีนาสันติรักษ์ กมลรัตน์ สุปัญญาบุตร และรัชชยา มหาสิริมงคล. (2561). การพัฒนาแนวปฏิบัติการพยาบาลผู้ป่วยที่ได้รับการผ่าตัดนิ่วในถุงน้ำดีผ่านกล้อง โรงพยาบาลมหาสารคาม.วารสารโรงพยาบาลมหาสารคาม ปีที่ 15 ฉบับที่ 3 (2018): กันยายน-ธันวาคม

Downloads

เผยแพร่แล้ว

2023-12-31

How to Cite

เหมือนทองจีน ว. (2023). ผลการใช้แผนการเยี่ยมผู้ป่วยที่ได้รับการผ่าตัดนิ่วในถุงน้ำดีผ่านกล้องวีดิทัศน์ (Laparoscopic Cholecystectomy) ต่อระดับความวิตกกังวลและภาวะแทรกซ้อน โรงพยาบาลกุมภวาปี. วารสารอนามัยสิ่งแวดล้อมและสุขภาพชุมชน, 8(3), 539–548. สืบค้น จาก https://he03.tci-thaijo.org/index.php/ech/article/view/1944