การศึกษาเปรียบเทียบความสุขของบุคลากรสายวิชาชีพกับสายสนับสนุนที่ปฏิบัติงาน ในโรงพยาบาลส่งเสริมสุขภาพตำบล อำเภอห้วยยอด จังหวัดตรัง

ผู้แต่ง

  • วิชัย คุ้นเคย นักวิชาการสาธารณสุขชำนาญการ สำนักงานสาธารณสุขอำเภอห้วยยอด จังหวัดตรัง

คำสำคัญ:

ความสุขของบุคลากร, บุคลากรสายวิชาชีพ, บุคลากรสายสนับสนุน

บทคัดย่อ

     งานวิจัยนี้เป็นการวิจัยเชิงสำรวจมีวัตถุประสงค์ เพื่อเปรียบเทียบความสุขของบุคลากรสายวิชาชีพกับสายสนับสนุนที่ปฏิบัติงานในโรงพยาบาลส่งเสริมสุขภาพตำบล และศึกษาระดับของความสุขของบุคลากรที่ปฏิบัติงานในโรงพยาบาลส่งเสริมสุขภาพตำบล ซึ่งกลุ่มตัวอย่างในการวิจัยครั้งนี้ คือ บุคลากรที่ปฏิบัติงานในโรงพยาบาลส่งเสริมสุขภาพตำบล อำเภอห้วยยอด จังหวัดตรัง ทั้ง 20 แห่ง จำนวนทั้งสิ้น 177 คน จำแนกเป็นบุคลากรสายวิชาชีพ จำนวน 111 คน และบุคลากรสายสนับสนุน จำนวน 66 คน โดยวิธีการเลือกแบบเฉพาะเจาะจง วิเคราะห์ข้อมูลพื้นฐานของบุคลากร โดยสถิติเชิงพรรณนา (Descriptive statistic) หาค่าความถี่ ร้อยละ ค่าเฉลี่ย และส่วนเบี่ยงเบนมาตรฐาน และวิเคราะห์เปรียบเทียบความสุขของบุคลากรสายวิชาชีพกับสายสนับสนุน โดยใช้สถิติ Independent Sample T-Test

     ผลการวิจัยพบว่าเปรียบเทียบความสุขของบุคลากรสายวิชาชีพกับสายสนับสนุนที่ปฏิบัติงานในโรงพยาบาลส่งเสริมสุขภาพตำบล อำเภอห้วยยอด จังหวัดตรัง พบว่าไม่แตกต่างกันที่ค่า p-value = 0.328 ส่วนระดับของความสุขของบุคลากร โดยหาค่าเฉลี่ย พบว่ามีความสุขอยู่ในระดับมีความสุขมาก ทั้ง 5 ด้าน ซึ่งด้านที่มีค่าเฉลี่ยสูงสุดคือ ด้านผู้บังคับบัญชาและเพื่อนร่วมงาน มีค่าเฉลี่ย 4.35 รองลงมาคือ ด้านสภาพแวดล้อมและบรรยากาศในการทำงาน ด้านการพัฒนาบุคลากร ด้านความก้าวหน้าของบุคลากร และด้านค่าตอบแทนและผลประโยชน์ มีค่าเฉลี่ย 4.31 4.25 4.23 และ 4.17 ตามลำดับ เพื่อนำข้อมูลไปใช้ในการบริหารทรัพยากรบุคคล ออกแบบกิจกรรมเพื่อเสริมสร้างความสุขให้บุคลากร ให้มีความสอดคล้องกับบุคคลและหน่วยงานได้อย่างเหมาะสม

References

กฤษณา บุณโยประการ. ระดับความสุขและปัจจัยที่มีความสัมพันธ์กับความสุขในการ ทำงานของบุคลากร: กรณีศึกษาโรงพยาบาลเวียงสา จังหวัดน่าน การค้นคว้าอิสระปริญญาสาธารณสุขศาสตรมหาบัณฑิต. มหาวิทยาลัยธรรมศาสตร์. 2561.

Saal, F. E.,& Knight, P. A . Industrial/organizational Psychology : Science and Practice. Brooks/Cole. 1995.

Chiumento Consulting. Survey spotlight : happiness at workplace. Bulletpointpublications Limited. 2007.

Keawnin T. Happy Workplace of Personal RajabhatChiangmai University, Chiangmai. Chiangmai University. 2011.

Kittisukasit S, Chamchan C, Tangchonlip K, Holumyong C. Quality of Life, Work and Happiness. NakhonPathom: Institute for Population and Social Research Mahidol University, Bangkok. Mahidol University. 2013.

ปิยะธิดา ปัญญา และไพศาล วรคำ. ความสุขในการปฏิบัติงานของบุคลากรมหาวิทยาลัยราชภัฏมหาสารคาม. มหาสารคาม: มหาวิทยาลัยราชภัฏมหาสารคาม. 2560.

Lyubomirsky, S., Tucker, K. L., & Kasri, F. “Responses to hedonically conflicting social comparisons: Comparing happy and unhappy people”. European Journal of Social Psychology. 2001; 31: 511-535.

Porter, L.W. “A study of perceived need satisfaction in bottom and middle management jobs”. Journal of Applied Psychology. 1961. 45, p.3.

จงจิต เลิศวิบูลย์มงคล. ความสัมพันธ์ระหว่างปัจจัยส่วนบุคคลการได้รับการเสริมสร้างพลังอำนาจในงานแรงจูงใจใฝ่สัมฤทธิ์กับความสุขในการทางานของพยาบาลประจำการ โรงพยาบาลมหาวิทยาลัยของรัฐ. (วิทยานิพนธ์มหาบัณฑิต). กรุงเทพฯ: จุฬาลงกรณ์ มหาวิทยาลัย. 2547.

ราชบัณฑิตยสถาน. พจนานุกรมฉบับราชบัณฑิตยสถาน พ.ศ. 2525. กรุงเทพมหานคร: อักษรเจริญทัศน์. 2538.

พระพรหมคุณาภรณ์. ธรรมนูญชีวิต (ความสุขสี่ประการ). พิมพ์ครั้งที่ 4. กรุงเทพมหานคร: สํานักงานพระพุทธศาสนาแห่งชาติ. 2540.

พระธรรมโกศาจารย์ (พุทธทาสภิกขุ).กรุงเทพมหานคร: ธรรมสภาและสถาบันบันลือธรรม.

กรมสุขภาพจิต กระทรวงสาธารณสุข. รายงานประจําปี กรมสุขภาพจิตปีงบประมาณ 2552. สืบค้นเมื่อวันที่ 19 มีพฤษภาคม 2566. จาก: https://www.dmb.go.th

โป๊ยเซียน. Be happy เพราะความสุขสร้างได้ด้วยตัวคุณเอง. กรุงเทพมหานคร: บียอนด์ ฟรอนเทียร์ มัลติมีเดีย. 2558.

กัลยาณี เสนาสุ. งานวิจัยเรื่องปัจจัยที่มีผลกระทบต่อความสุขของคนไทย (Factors Affect Happiness in Thailand). สืบค้นเมื่อวันที่ 3 พฤษภาคม 2566 จาก: http://rc 2017. Nida.ac.th

Gavin & Mason. The virtuous organization: The value of happiness in the work place. Organization Dynamics, 2004; 33(1): 379-392

พรรณิภา สืบสุข. ความสัมพันธ์ระหว่างการรับรู้ลักษณะงาน ภาวะผู้นําการเปลี่ยนแปลง ของหัวหน้าหอ

ผู้ป่วยกับความสุขในการทํางานของพยาบาลประจําการโรงพยาบาล ประจําการโรงพยาบาลมหาวิทยาลัยของรัฐ. วิทยานิพนธ์ปริญญาพยาบาลศาสตร มหาบัณฑิต สาขาการบริหารพยาบาล จุฬาลงกรณ์มหาวิทยาลัย.2548.

ปพิชญา วะนะสุข. ปัจจัยที่มีผลต่อความสุขในการทํางานของตํารวจกองบังคับ การอํานวยการตํารวจภูธรภาค 5 จังหวัดเชียงใหม่. วิทยานิพนธ์ปริญญาบริหารธุรกิจ มหาบัณฑิต สาขาการจัดการทั่วไป มหาวิทยาลัยเชียงใหม่. 2552.

Manion, J. Joy at work: Creating a positive workplace. Journal of Nursing Administration, 2003; 33(12): 652-655.

Diener, E. Frequently asked question (FQA’S) about subjective well-being (Happiness and life satisfaction). สืบค้นเมื่อวันที่ 1 พฤษภาคม 2566 จาก http://psych.uiux.edu/nediener/fag

ชาญวิทย์ วสันต์ธนารัตน์. มาสร้างองค์กรแห่งความสุขกันเถอะ. สืบค้นเมื่อวันที่ 9 พฤษภาคม 2566 จาก: http://www.happy8workplace.com

วิทยา พลาอาด และนภดล ละอองจิตร. ปัจจัยทำนายความสุขในการทำงานของบุคลากรสาธารณสุขในจังหวัดสตูล. มหาวิทยาลัยขอนแก่น (ฉบับบัณฑิตศึกษา) สาขามนุษยศาสตร์และสังคมศาสตร์. 2561; 6: 20-28.

สมศักดิ์ ประเสริฐสุข. จิตวิทยาการจัดการองค์การอุตสาหกรรม. กรุงเทพฯ: โอเดียนสโตร์. 2554.

Downloads

เผยแพร่แล้ว

2023-12-31

How to Cite

คุ้นเคย ว. (2023). การศึกษาเปรียบเทียบความสุขของบุคลากรสายวิชาชีพกับสายสนับสนุนที่ปฏิบัติงาน ในโรงพยาบาลส่งเสริมสุขภาพตำบล อำเภอห้วยยอด จังหวัดตรัง. วารสารอนามัยสิ่งแวดล้อมและสุขภาพชุมชน, 8(3), 685–693. สืบค้น จาก https://he03.tci-thaijo.org/index.php/ech/article/view/1948