ผลของการให้ความรู้แบบมีส่วนร่วมเรื่องการใช้ SOS Score ต่อการปฏิบัติการประเมิน SOS Score ในผู้ป่วยSepsis โรงพยาบาลหนองคาย
คำสำคัญ:
การมีส่วนร่วม, การใช้ SOS Score , ผู้ป่วยSepsisบทคัดย่อ
การวิจัยกึ่งทดลอง (Quasi-experiment Research) ครั้งนี้ มีวัตถุประสงค์เพื่อศึกษาผลการให้ความรู้แบบมีส่วนร่วมเรื่อง Sepsis ต่อความรู้ของพยาบาล การใช้ SOS Score ในประเมินผู้ป่วย การปฏิบัติตาม Bundle Sepsis ของพยาบาล กลุ่มตัวอย่างได้แก่ พยาบาลวิชาชีพที่ปฏิบัติงานในหอผู้ป่วยสามัญอายุรกรรม จำนวน 4 หน่วยงาน รวมพยาบาลทั้งหมดจำนวน 82 คน โดยแบ่งหน่วยงานออกเป็น 2 กลุ่มคือ กลุ่มควบคุม และกลุ่มทดลอง ซึ่งการแบ่งกลุ่มทำโดยวิธีการสุมแบบจับฉลาก เครื่องมือที่ใช้ในการวิจัยได้แก่ แบบวัดความรู้เรื่อง Sepsis และแบบประเมินการใช้ SOS Score ในประเมินผู้ป่วย การปฏิบัติตาม Bundle Sepsis ของพยาบาล ซึ่งผ่านการตรวจสอบความตรงเชิงเนื้อหาจากผู้เชี่ยวชาญและทดสอบความเชื่อมั่นโดยวิธี อัลฟาของครอนบาค มีค่าเท่ากับ 0.61 เก็บรวบรวมข้อมูลโดยให้พยาบาลทำแบบวัดความรู้เรื่อง Sepsis ก่อนและหลังการทดลอง และผู้วิจัยบันทึกแบบประเมินการใช้ SOS Score ในประเมินผู้ป่วย การปฏิบัติตาม Bundle Sepsis ของพยาบาล และอัตราการรายงานแพทย์ของพยาบาลเมื่อพบว่าผู้ป่วยมีคะแนน SOS Score >5 ระหว่างวันที่ 1 ตุลาคม 2566 – 30 พฤศจิกายน 2566 วิเคราะห์ข้อมูลด้วยสถิติพรรณนา ได้แก่ จำนวน ร้อยละ ค่าเฉลี่ย และส่วนเบี่ยงเบนมาตรฐาน และ สถิติอนุมาน ได้แก่ Paired samples t-test , Independent samples t-test และ Chi-square
ผลการวิจัย พบว่า คะแนนความรู้ของกลุ่มทดลองก่อนการทดลองมีค่าเฉลี่ยเท่ากับ1 4.54 และหลังการทดลองมีค่าเฉลี่ยเท่ากับ 15.73 ซึ่งเพิ่มขึ้นอย่างมีนัยสำคัญทางสถิติ การใช้ SOS score ระหว่างกลุ่มควบคุมและกลุ่มทดลองหลังการทดลองมีความแตกต่างกันอย่างมีนัยสำคัญทางสถิติ โดยกลุ่มควบคุมและกลุ่มทดลองใช้ SOS score ร้อยละ 72.7 และ 89.8 ตามลำดับ การปฏิบัติตาม Bundle Sepsis ระหว่าง กลุ่มควบคุมและกลุ่มทดลองหลังการทดลองมีความแตกต่างกันอย่างมีนัยสำคัญทางสถิติ โดยกลุ่มควบคุมและกลุ่มทดลองปฏิบัติตาม Bundle Sepsis ร้อยละ 14.1 และ 25 ตามลำดับ
References
กนก พิพัฒน์เวช. “การรักษาภาวะติดเชื้อในกระแสเลือดตามแนวทางที่กาหนดในโรงพยาบาลอุตรดิตถ์: เพื่อเพิ่มอัตราการรอดชีวิต.” วารสารวัณโรค โรงพยาบาลทรวงอกและเวชบาบัดวิกฤติ. 29 (กรกฎาคม-กันยายน 2551), 242-251.
กรมสุขภาพจิต. คู่มือฝึกอบรมแบบมีส่วนร่วม. 2544. พิมพ์ครั้งที่ 4. กรุงเทพมหานคร:วงศ์กมลโปรดักชั่น.
จีราพรรณ อันบุรี, นิตยา พงษ์ประมูล, พิไลพร ลักษณาภิรมย์, สุชาดา ทาโคตร, วิภาวี นิลชัด, ณัฐพล บ่อน้อย, และคณะ. (2555) แนวปฏิบัติทางการพยาบาลตามการบาบัดตามเป้าหมายตั้งแต่เริ่มแรกในผู้ป่วยติดเชื้อในกระแสโลหิต. กาแพงเพชร: กลุ่มงานศัลยกรรมโรงพยาบาลกาแพงเพชร
นาตยา คำสว่าง, ปัญญา เถื่อนด้วง, และ พรพิศ ตรีบุพชาติสกุล. (2552). ผลการรักษาผู้ป่วยติดเชื้อในกระแสเลือดตามแนวเวชปฏิบัติหลังใช้ระบบพยาบาลผู้ประสานงาน. พุทธชินราชเวชสาร, 26(1), 29-36.
เพ็ญศรี อุ่นสวัสดิพงษ์. (2553). ผลของกิจกรรมพยาบาลมุ่งเป้าในระยะ 6 ชั่วโมงแรกต่อความรุนแรงของอวัยวะล้มเหลวในผู้ป่วยที่มีกลุ่มอาการ SEPSIS. วิทยานิพนธ์ปริญญาพยาบาลศาสตรมหาบัณฑิต, สาขาวิชาการพยาบาลผู้ใหญ่, บัณฑิตวิทยาลัย, มหาวิทยาลัยมหิดล.
สถาบันส่งเสริมการเรียนรู้เพื่อการพัฒนาที่ยั่งยืน. การจัดการะบวนการเรียนรู้แบบมีส่วนร่วม. 2544. เชียงใหม่: เชียงใหม่ บี เอส การพิมพ์.
สมพร ศรีทันดร. (2556). การพัฒนาระบบปฏิบัติการพยาบาลในการนำแนวปฏิบัติในการดูแลผู้มีกลุ่มอาการติดเชื้อในกระแสเลือดไปใช้ในแผนกอุบัติ เหตุและฉุกเฉิน. วิทยานิพนธ์ปริญญาพยาบาลศาสตรมหาบัณฑิต, สาขาวิชาการพยาบาลผู้ใหญ่, บัณฑิตวิทยาลัย, มหาวิทยาลัยรังสิต.
สุดจิต เผ่าไทย. (2556). การจัดการความรู้ในการสร้างแนวปฏิบัติการพยาบาลผู้ป่วยติดเชื้อในกระแสโลหิต. วิทยานิพนธ์ปริญญาพยาบาลศาสตรมหาบัณฑิต, สาขาวิชาบริหารการพยาบาล, บัณฑิตวิทยาลัย, มหาวิทยาลัยคริสเตียน.
สุรัตน์ ทองอยู่ และไชยรัตน์ เพิ่มพิกุล. (2554). ในสุณีรัตน์ คงเสรีพงศ์ และดวงมณี เลาหประสิทธิพร.(2554). แนวทางการวินิจฉัยและคัดกรองผู้ป่วยผู้ใหญ่ที่มีภาวะ Severe sepsis/septic shock. กรุงเทพฯ: คณะแพทย์ศาสตร์ศิริราชพยาบาล. หน้า 6–7.
สุรัตน์ ทองอยู่. (2553). Central venous pressure. ใน เอกรินทร์ ภูมิพิเชฐ และ ไชยรัตน์ เพิ่มพิกุล (บรรณาธิการ), เวชบาบัดวิกฤตพื้นฐาน (หน้า 71-90). กรุงเทพฯ: บียอนด์ เอ็นเทอร์ไพรซ์.
Annane, D., Aegerter, P., Jars-Guincestre, M. C., & Guidet, B. (2003). Current epidemiology of septic shock: The CUB Rea Network. American Journal of Respiratory and Critical Care Medicine, 168, 165-172.
Annane, D., Bellissant, E., Bollaert, P. E., Briegel, J., Confalonieri, M., De Gaudio, R., et al. (2009). Corticosteroids in the treatment of severe sepsis and septic shock in adults: Asystematic review. The Journal of the American Medical Association, 301(22), 2362-2375.
Carter, C. (2007). Implementing the severs sepsis cae bundles outside the ICU by outreach. British Association of Critical Care Nurses, 12(5), 225-230.
Claessens, Y. E., & Dhainaut, J. F. (2007). Diagnosis and treatment of severe sepsis. Critical Care, 11(Suppl. 5), S2.
David Kolb(1984) Kolb’s Learning Styles and Experiential Learning Cycle ,38. From http://www.simplypsy chology.org/learning-kolb.htm/
Dellinger R.P., et al. “Surviving Sepsis Campaign: International Guidelines for Management of Severe sepsis and Septic shock: 2008.” Crit Care Med. 36 (January 2008) : 296-327.
Kleinpell, R. M., Graves, B. T., & Ackerman, M. H. (2006). Incidence, pathogenesis, and management of sepsis. American Association of Colleges of Nursing Advanced Critical Care, 17(4), 385-393.