การใช้แนวคิด ปีสุขภาวะที่สูญเสีย (Disability adjusted life years: DALYs) ในการจัดทำแผนชุมชน ตำบลหลุบ อำเภอเมือง จังหวัดกาฬสินธุ์
คำสำคัญ:
ปีสุขภาวะที่สูญเสีย, แผนชุมชนบทคัดย่อ
การศึกษานี้เป็นวิจัยเชิงปฏิบัติการ มีวัตถุประสงค์เพื่อศึกษาปีสุขภาวะที่สูญเสีย (Disability adjusted life years: DALYs) และการใช้แนวคิด DALYs ในการจัดทำแผนชุมชน ตำบลหลุบ อำเภอเมือง จังหวัดกาฬสินธุ์ มีระยะเวลาในการศึกษา ระหว่างเดือน มิถุนายน - กันยายน 2566 รวม 4 เดือน กลุ่มตัวอย่าง ได้แก่ เครือข่ายสุขภาพ ตำบลหลุบ อำเภอเมือง จังหวัดกาฬสินธุ์ ประกอบด้วย ผู้นำชุมชน ตัวแทนเทศบาลตำบลหลุบ และอาสาสมัครสาธารณสุขประจำหมู่บ้าน จำนวน 16 หมู่บ้าน รวมทั้งสิ้น 48 คน เก็บข้อมูลจากฐานข้อมูล HDC และแบบสอบถาม วิเคราะห์ข้อมูลโดย การวิเคราะห์เชิงเนื้อหา ค่าเฉลี่ย ส่วนเบี่ยงเบนมาตรฐาน ความถี่ ร้อยละ และ Dependent t – test
ผลการศึกษา พบว่า ภายหลังการวิเคราะห์และนำเสนอปีสุขภาวะที่สูญเสีย (Disability adjusted life years: DALYs) ในการจัดทำแผนชุมชน ตำบลหลุบ อำเภอเมือง จังหวัดกาฬสินธุ์ ทำให้มีแผนชุมชน ได้แก่ แผนการจัดการโรคเบาหวานชนิดที่ 2 CKD และ Stroke โรคซึมเศร้า และปอดบวม นอกจากนี้ยังพบว่า ความรอบรู้ด้านสุขภาพของเครือข่ายสุขภาพ เกี่ยวกับปีสุขภาวะที่สูญเสีย (Disability adjusted life years: DALYs) ในการจัดทำแผนชุมชน ตำบลหลุบ อำเภอเมือง จังหวัดกาฬสินธุ์ เพิ่มขึ้นจากการการวิเคราะห์อย่างมีนัยสำคัญทางสถิติที่รัดบ .05
References
ธนรักษ์ ผลิพัฒน์.(2564). รายงานภาระโรคและการบาดเจ็บของประชากรไทย พ.ศ. 2554. สำนักงานพัฒนานโยบายสุขภาพระหว่างประเทศ แผนยุทธศาสตร์การพัฒนาดัชนีประเมินภาระโรคและสุขภาพของประชากรไทย ชั้น 2 อาคารคลังพัสดุ ซอยสาธารณสุข 6 กระทรวงสาธารณสุข ถนนติวานนท์ อำเภอเมือง จังหวัดนนทบุรี 11000
BOD Thailand.(2566). การสูญเสียปีสุขภาวะ Disability-Adjusted Life Year : DALY รายงานภาระโรคและการบาดเจ็บของประชากรไทย พ.ศ. 2556. มูลนิธิเพื่อการพัฒนานโยบายสุขภาพระหว่างประเทศ สำนักงานพัฒนานโยบายสุขภาพระหว่างประเทศ แผนยุทธศาสตร์การพัฒนาดัชนีประเมินภาระโรคและสุขภาพของประชากรไทย
World Health Organization. National burden of disease studies: a practical guide. edition 2.0. eneva: World Health Organization; 2001.
ปัทมา ว่าพัฒนวงศ์.(2556). อายุคาดเฉลี่ยที่ปรับด้วยสุขภาพ. ใน:สำนักงานพัฒนานโยบายสุขภาพระหว่างประเทศ, บรรณาธิการ. คู่มือการอบรมเชิงปฏิบัติการดัชนีสุขภาพประชากรแบบองค์รวม. นนทบุรี: สำนักงานพัฒนานโยบายสุขภาพระหว่างประเทศ สำนักนโยบายและยุทธศาสตร์ กระทรวงสาธารณสุข หน้า 57-70.
ไพฑูร อุไรชื่น ธีรพัฒน์ สุทธิประภา.(2563). ผลของกระบวนการพัฒนาระบบการดูแลผู้ป่วยเบาหวาน โรงพยาบาลห้วยผึ้ง จังหวัดกาฬสินธุ์. วารสารวิชาการสาธารณสุข ปีที่ 29 ฉบับที่ 5 กันยายน - ตุลาคม 2563. 856-63
ภีรกาญจน์ ไค่นุ่นนา พนม คลี่ฉายา อรุโณทัย วรรณถาวร.(2566). เส้นทางการเจ็บป่วยของผู้ป่วยโรคเบาหวานชนิดที่ 2 ในประเทศไทยและข้อเสนอเชิงเนื้อหาในการพัฒนากลยุทธ์ การสื่อสารเพื่อลดจำนวนผู้ป่วยรายใหม่. วารสารวิจัยระบบสาธารณสุข ปีที่ 17 ฉบับที่ 1 มกราคม-มีนาคม 2566 54-67
กนิษฐา บุญธรรมเจริญ วิโรจน์ ตั้งเจริญเสถียร .(2559). ภาระโรค: ปีสุขภาวะทีสูญเสียและอายุคาดเฉลี่ยของการมีสุขภาวะของประชากรไทย. 25(2) 342-50
จันทร์เพ็ญ ประโยงค์ พิสมัย ไชยประสบ ดรุณี มั่นใจวงค์.(2563). การพัฒนารูปแบบการดูแลผู้ป่วยโรคเรื้อรังโดยการมีส่วนร่วมของชุมชนในอำเภอบ้านธิ จังหวัดลำพูน. วารสารวิชาการสาธารณสุข ปีที่ 29 ฉบับที่ 5 กันยายน - ตุลาคม 2563 803-12