ประสิทธิผลของโปรแกรมการวางแผนจำหน่ายต่อความสามารถในการดูแลตนเองของผู้ป่วยหลังผ่าตัดต้อกระจก โรงพยาบาลพระอาจารย์แบน ธนากโร จังหวัดสกลนคร
คำสำคัญ:
โปรแกรมการวางแผนจำหน่าย, ความสามารถในการดูแลตนเอง, ผู้ป่วยหลังผ่าตัดต้อกระจกบทคัดย่อ
การวิจัยครั้งนี้เป็นการวิจัยกึ่งทดลอง (Quasi-experimental research) มีวัตถุประสงค์เพื่อศึกษาโปรแกรมการวางแผนจำหน่ายผู้ป่วยหลังผ่าตัดต้อกระจก แผนกผู้ป่วยใน โรงพยาบาลพระอาจารย์แบน ธนากโร จังหวัดสกลนคร กลุ่มตัวอย่าง คือผู้ป่วยต้อกระจกที่เข้ารับบริการผ่าตัดต้อกระจกและนอนพักรักษาตัวในโรงพยาบาลพระอาจารย์แบน ธนากโร ตั้งแต่เดือน ตุลาคม ถึงเดือน พฤศจิกายน 2566 จำนวน 30 รายคัดเลือกแบบเฉพาะเจาะจง (Purposive sampling) ตามคุณสมบัติตามเกณฑ์คัดเข้า เครื่องมือที่ใช้ในการวิจัย ประกอบด้วย แบบสอบถามข้อมูลส่วนบุคคล แบบทดสอบความรู้ในการดูแลตนเองของผู้ป่วยหลังผ่าตัดต้อกระจก แบบประเมินความสามารถในการดูแลตนเองของผู้ป่วยหลังผ่าตัดต้อกระจก และ แบบสอบถามความพึงพอใจของผู้ป่วยหลังทำผ่าตัดต้อกระจก การวิเคราะห์ข้อมูลใช้ ร้อยละ ค่าเฉลี่ย ส่วนเบี่ยงเบนมาตรฐานและสถิติทดสอบค่าที
ผลการศึกษาพบว่า โปรแกรมที่ผู้วิจัยออกแบบโดยใช้หลัก D-METHOD ประกอบด้วยการให้ความรู้เรื่องโรค (Disease : D) ยาที่ใช้ (Medication : M) สิ่งแวดล้อมและเศรษฐกิจ (Environment : E) แนวทางการรักษา (Treatment : T) การส่งเสริมฟื้นฟูสภาพทางด้านร่างกายและจิตใจตลอดจนป้องกันภาวะแทรกซ้อนต่าง ๆ (Health : H) การมาตรวจตามนัด (Outpatient : O) และอาหาร (Diet : D) หลังเข้าร่วมโปรแกรมการวางแผนจำหน่ายของผู้ป่วยหลังผ่าตัดต้อกระจก กลุ่มตัวอย่างมีค่าเฉลี่ยคะแนนความรู้ ค่าเฉลี่ยคะแนนความสามารถในการดูแลตนเองเพิ่มขึ้น อย่างมีนัยสำคัญทางสถิติ (p < 0.001) และค่าเฉลี่ยคะแนนความพึงพอใจอยู่ในระดับมากถึงมากที่สุด อย่างมีนัยสำคัญทางสถิติ (p < 0.001)
References
สมภาร ไวยลาภ. (2560.) การพัฒนาระบบการดูแลผู้ป่วยต้อกระจกแบบครบวงจร โรงพยาบาลเซกา. วารสารโรงพยาบาลนครพนม. 4(1) 71-85.
ละมิตร์ ปึกขาว และคณะ. (2563).การพัฒนารูปแบบการพยาบาลผู้ป่วยผ่าตัดต้อกระจกแบบมีส่วนร่วมอย่างเอื้ออาทร ตามทฤษฏี Swanson โรงพยาบาลปทุมธานี. วารสารวิชาการสาธารณสุข.29(5).864-875.
กนกพร อริยภูวงศ์ ,ศุภพร ไพรอุดม ,ทานตะวัน สลีวงศ์ (2562) ผลของการพยาบาลระบบสนับสนุนและให้ความรู้ต่อพฤติกรรมการดูแลตนเองของผู้ป่วยต้อกระจก โรงพยาบาลสุโขทัย. วารสารวิทยาลัยพยาบาลพระจอมเกล้า จังหวัดเพชรบุรี. 2(3). 17-30.
เพ็ญศรี ปัญโญ และคณะ (2566).ผลของโปรแกรมการวางแผนจำหน่ายร่วมกับการใช้แอพพลิเคชั่นในการให้ความรู้ต่อความรู้และความสามารถในการดูแลตนเองของผู้ป่วยโรคต้อกระจก ที่เข้ารับการรักษาในหอผู้ป่วยจักษุ โสต ศอ นาสิก โรงพยาบาลแพร่. Phrae medical Journal and Clinical Sciences. 31(2) 1-16.
อังคนา อัศวบุญญาเดช ,ดุจดาว ศุภจิตกุลชัย และวริศนันท์ ปุรณะวิทย์ (2565) .ผลการสอนสุขศึกษาโดยใช้สื่อวีดีทัศน์เรื่องการปฏิบัติตัวหลังผ่าตัดต้อกระจกให้กับผู้ป่วยผ่าตัดต้อกระจก.บูรพาเวชสาร. 9(1). 13-27.
โรงพยาบาลพระอาจารย์แบน ธนากโร จังหวัดสกลนคร. (2563-2565). สถิติข้อมูลผู้มารับบริการ แผนกผู้ป่วยใน โรงพยาบาลพระอาจารย์แบน ธนากโร จังหวัดสกลนคร
Orem,K.M. (2001). Nursing: Concepts of practice. (6th ed.). Louis:Mosby.
Bloom, B. S. et al. (1986). Handbook on Formative and Summative Evaluation of Student Learning. New York: McGraw-Hill.
บุญชม ศรีสะอาด.(2560). การวิจัยเบื้องต้น. กรุงเทพมหานคร: สุวีริยาสาส์น.
เบญจวรรณ พวงเพชร (2558). ประสิทธิผลของโปรแกรมการวางแผนจำหน่วยแบบผู้ป่วยในผู้ป่วยที่เข้ารับการผ่าตัดต้อกระจกต่อความวิตกกังวลและความสามารถในการปฏิบัติกิจวัตรประจำวัน. Journal of Nursing Science.34(1),53-64.
พิพาภัทร เอกวงษา (2564) .ประสิทธิผลการใช้โปรแกรมวางแผนจำหน่ายแบบผู้ป่วยนอกต่อความวิตกกังวล และความสามารถในการดูแลตนเองของผู้ป่วยที่ได้รับการผ่าตัดต้อกระจก.วารสารวิจัยและพัฒนานวัตกรรมทางสุขภาพ. 2(1). 71-81.
ษรฉัตร ลภัทธานันท์,ศิริรัตน์ ภูโอบ, อำนาจ โกสิงห์ (2566) .ปัจจัยที่มีผลต่อพฤติกรรมการดูแลตนเองของผู้ป่วยหลังผ่าตัดต้อกระจกใส่เลนส์แก้วตาเทียมในสถาบันราชประชาสมาสัย.Journal of Faculty of Nursing Burapha University.31(2).77-89.
ฉวีวรรณ เกตุน้อย (2562). การพัฒนาคุณภาพการวางแผนจำหน่ายผู้ป่วยมะเร็งศีรษะและคอ หอผู้ป่วยจักษุ โสต ศอ นาสิก โรงพยาบาลพุทธิชินราช พิษณุโลก . พยาบาลสาร 47(2)417-430.