รูปแบบการวางแผนจำหน่ายผู้ป่วยสำหรับการพัฒนาทักษะผู้ดูแลผู้ป่วยสูงอายุโรคหลอดเลือดสมองที่มีภาวะพึ่งพิง แผนกผู้ป่วยใน โรงพยาบาลนาคู จังหวัดกาฬสินธุ์

ผู้แต่ง

  • ดวงกมล ศิลาแยง พยาบาลวิชาชีพชำนาญการ โรงพยาบาลนาคู จังหวัดกาฬสินธุ์

คำสำคัญ:

ผู้สูงอายุ, โรคหลอดเลือดสมอง, การวางแผนจำหน่าย

บทคัดย่อ

     งานวิจัยนี้ เป็นการวิจัยเชิงปฏิบัติการ (Action Research) มีวัตถุประสงค์เพื่อศึกษาปัญหา ความต้องการพัฒนาทักษะผู้ดูแล รูปแบบการวางแผนจำหน่ายผู้ป่วย และผลของการใช้รูปแบบการวางแผนจำหน่ายผู้ป่วยสำหรับการพัฒนาทักษะผู้ดูแลผู้ป่วยสูงอายุโรคหลอดเลือดสมองที่มีภาวะพึ่งพิง แผนกผู้ป่วยใน โรงพยาบาลนาคู จังหวัดกาฬสินธุ์ ดำเนินการศึกษาตั้งแต่ เดือน ตุลาคม 2565 ถึง กันยายน 2566 รวม 12 เดือน กลุ่มตัวอย่างคือ ผู้ดูแลผู้ป่วยสูงอายุโรคหลอดเลือดสมองที่มีคะแนนดัชนีบาร์เธลเอดีแอล (Barthel ADL index) ระหว่าง 0 – 11 คะแนน เมื่อแรกรับเข้านอนรักษาตัวในแผนกผู้ป่วยใน โรงพยาบาลนาคู จังหวัดกาฬสินธุ์ จำนวน 13 คน รูปแบบการวางแผนจำหน่ายผู้ป่วยสำหรับการพัฒนาทักษะผู้ดูแลผู้ป่วยสูงอายุโรคหลอดเลือดสมอง, คู่มือการดูแลผู้ป่วยโรคหลอดเลือดสมองระยะฟื้นฟูฉบับผู้ป่วยและผู้ดูแล,  แบบประเมินความพร้อมด้านทักษะผู้ดูแลผู้ป่วยสูงอายุโรคหลอดเลือดสมอง, แบบประเมินความสามารถในการปฏิบัติกิจวัตรประจำวันของผู้ป่วย และแบบประเมินความสามารถในการทำกิจกรรมของผู้สูงอายุ วิเคราะห์ข้อมูลโดยใช้การวิเคราะห์เชิงเนื้อหา สถิติเชิงพรรณนา และสถิติอนุมาน Dependent t-test และ Independent t-test

     ผลการศึกษาพบว่า รูปแบบการวางแผนจำหน่ายผู้ป่วย และผลของการใช้รูปแบบการวางแผนจำหน่ายผู้ป่วยสำหรับการพัฒนาทักษะผู้ดูแลผู้ป่วยสูงอายุโรคหลอดเลือดสมองที่มีภาวะพึ่งพิง แผนกผู้ป่วยใน โรงพยาบาลนาคู จังหวัดกาฬสินธุ์ประกอบด้วย ประกอบด้วย 5 ขั้นตอน ได้แก่ การประเมินและจำแนกผู้ป่วยสูงอายุ, การคัดเลือกและประเมินผู้ดูแล, การวางแผนจำหน่าย, การดำเนินการตามแผนการจำหน่าย และการประเมินผลก่อนจำหน่ายผู้ป่วยกลับบ้าน ส่งผลให้ผู้ดูแลมีพัฒนาการในการฝึกทักษะหรือความก้าวหนาเพิ่มขึ้น 0.363 คิดเป็นร้อยละ 36.3, ผู้ดูแลมีความพร้อมในด้านทักษะการดูแลผู้ป่วยสูงอายุโรคหลอดเลือดสมองที่มีภาวะพึ่งพิงโดยภาพรวมและรายด้าน แตกต่างกันอย่างมีนัยสำคัญทางสถิติที่ระดับ .05 (p = value <.001) โดยที่หลังดำเนินการมีค่าคะแนนเฉลี่ยมากกว่าก่อนดำเนินการ (t มีค่าเป็นลบ) และจากการติดตามประเมินผลหลังจำหน่ายออกจากโรงพยาบาลผู้ป่วยสูงอายุโรคหลอดเลือดสมองที่มีภาวะพึ่งพิงมีมีคะแนนความสามารถในการทำกิจกรรมก่อนและหลังดำเนินการโดยภาพรวมแตกต่างกันอย่างมีนัยสำคัญทางสถิติที่ระดับ .05 (p = value <.001) ด้านการเคลื่อนที่, ด้านจิตใจและสติปัญญามีความแตกต่างกันอย่างมีนัยสำคัญทางสถิติที่ระดับ .05 (p = value <.001) เช่นกัน โดยที่หลังดำเนินการมีค่าคะแนนเฉลี่ยมากกว่าก่อนดำเนินการ (t มีค่าเป็นลบ) แต่ด้านการกินอาหาร และด้านการขับถ่ายไม่แตกต่างกัน

References

GBD 2019 Stroke Collaborators. Global, regional, and national burden of stroke and its risk factors, 1990-2019: a systematic analysis for the Global Burden of Disease Study 2019. Lancet Neurol. 2021 Oct;20(10):795-820. doi: 10.1016/S1474-4422(21)00252-0. Epub 2021 Sep 3. PMID: 34487721; PMCID: PMC8443449.

สำนักงานพัฒนานโยบายสุขภาพระหว่างประเทศ แผนงานพัฒนาดัชนีภาระโรคแห่งประเทศไทย. รายงานภาระโรคและการบาดเจ็บของประชากรไทย พ.ศ. 2562. นนทบุรี: แฮนดี เพรส; 2566, 32-33.

Hanchaiphiboolkul S, Poungvarin N, Nidhinandana S, et al. Prevalence of stroke and stroke risk factors in Thailand: Thai Epidemiologic Stroke (TES) Study. J Med Assoc Thai. 2011;94:427-436.

Engstad T, Engstad TT, Viitanen M, Ellekjær H. Epidemiology of stroke in the elderly in the Nordic countries. Incidence, survival, prevalence and risk factors Norsk Epidemiologi 2012;22(2):121-6.

American Stroke Association. What is stroke?.2020. Retrieved from http://www.strokeassociation.org/STROKEORG/AboutStroke/AboutStroke_UCM_308529_ Sub Home Page.jsp.

Hanchaiphiboolkul S, Puthkhao P, Towanabut S, et al. Factors predicting high estimated 10-year stroke risk: Thai Epidemiologic Stroke Study. J Stroke Cerebrovasc Dis 2014: pp1-6 (in press).

Mohan KM, et al. Risk and cumulative risk of stroke recurrence: a systematic review and Meta-analysis. Stroke. 2011;42(5):1489-94.

สถาบันประสาทวิทยา กรมการแพทย์ กระทรวงสาธารณสุข. คู่มือโรคหลอดเลือดสมอง (อัมพาต อัมพฤกษ์) สำหรับประชาชน. 2556. พิมพ์ครั้งที่ 3. https://www.dms.go.th/backend//Content/Content_File/Old_Content/dmsweb/publish/publish28062019100655.pdf

Naylor M, Brooten D, Jones R, Lavizzo-Mouray R, Mezey M, Pauly M. Comprehensive discharge planning for the hospitalized elderly. Ann Intern Med 1994;120: 999-1006.

Patel M, Potter J, Perez I, Palra L. The process of rehabilitation and discharge planning in stroke. a controlled comparisons between stroke units. Stroke 1998;29: 2484-7.

Anderson C, Linto J, Stewart-Wynne EG. A population-based assessment of impact and burden of caregiving for long-term stroke survivors. Stroke.1995 ;26:843- 9.

Othman Z., Wong ST., Drahman I., Zakaria R. Caregiver burden is associated with cognitive decline and physical disability of elderly post-stroke patients. Middle-East Journal of Scientific Research. 2014. 22(9);1265-71.

Rachpukdee, Howteerakul, Suwannapong, & Tang-Aroonsin, Rachpukdee, S., Howteerakul, N., Suwannapong, N., & Tang-aroonsin, S. Quality of Life of Stroke Survivors: A 3-Mouth Follow-up Study. Journal of stroke and Cerebrovascular Disease. 2013. 22(7); 70-78.

Laugaland, K., Aase, K.& Barach, P. "Interventions to improve patient safety intransitional care - a review of the evidence". Work. 2012: 41 Suppl. 1; 2915-2924.

Allen, J.. Hutchinson, A.M.. Brown, R. & Livingston, P.M. "Quality care outcomes following transitional care interventions for older adult people from hospital to home: a systematic review". BMC Health Services Research. 2014:14(346); 1-18.

Holland, D.E.& Harris, M.R. "Discharge planning, transitional care, coordination of care,and continuing care: clarifying concepts and terms from the hospital perspectives". Home health care services quarterly. 2007:26(4); 3-19.

Fulmer TT & Walker MK. Critical Care Nursing of The Elderly. New York: Springer, 1992

Rorden JW & Taft E. Discharge planning guide for nurses, Philadelphia: W.8. Saunders co.. 1990.11.

Lowenstein AJ & Hoff PS. Discharge planning: A study of nursing staff involvement. JONA 1994;24(4):45-50.

สุพจน์ ดีไทย, ศิริรัตน์ ปานอุทัย และทศพร คำผลศิริ. ผลของการเตรียมความพร้อมก่อนจำหน่ายต่อความ ยากลำาบากในการเผชิญปัญหาหลังจำหน่ายของผู้ดูแลผู้สูงอายุโรคหลอดเลือดสมอง. พยาบาลสาร. 2564: 48 (2); 170-180.

วาสนา มูลฐี, สุปรีดา มั่นคง, ยุพาพิน ศิรโพธิ์งาม และสิริรัตน์ ลีลาจรัส. ผลของโปรแกรมการดูแลผู้ป่วยโรคหลอดเลือดสมองและญาติผู้ดูแลระยะเปลี่ยนผ่านจากโรงพยาบาลสู่บ้านต่อความสามารถในการปฏิบัติกิจวัตรประจำวันภาวะแทรกซ้อนและความพึงพอใจของผู้ป่วย. วารสารสภาการ พยาบาล. 2559: 31(1); 95-110.

Elsehry, N. K. M., Fouda, L. M., & Shawkey, E. A. The effect of an educational program on the elderly with stroke and their family caregivers based on transitional care model. International Journal of Novel Research in Healthcare and Nursing, 2019:6(1); 765-785.

สำนักงานสาธารณสุขจังหวัดกาฬสินธุ์. ฐานข้อมูลด้านสุขภาพ (HDC) : ข้อมูลเพื่อตอบสนอง Service Plan สาขาโรคหัวใจ และหลอดเลือด. 2566. สืบค้นเมื่อ 1 ต.ค. 2566 จาก https://ksn.hdc.moph.go.th/hdc/reports/report.

Takahashi, T., Okochi, J., Takamuku, K., & Matsuda,S. The introduction of typology of the aged with illustrations. Case mix Quarterly. 2001: 3(1); 314.

ศูนย์สมเด็จพระสังฆราชญาณสังวรเพื่อผู้สูงอายุ. คู่มือการดูแลผู้ป่วยโรคหลอดเลือดสมองระยะฟื้นฟูฉบับผู้ป่วยและผู้ดูแล. 2554. สืบค้นเมื่อ 1 ต.ค. 2566 จาก https://www.cmneuro.go.th/qr/ 05042561-stroke/download.pdf.

Easton JD, Saver JL, Albers GW, Alberts MJ, Chaturvedi S, Feldmann E, et al. Definition and evaluation of transient ischemic attack: a scientific statement for healthcare professionals from the American Heart Association/American Stroke Association Stroke Council; Council on Cardiovascular Surgery and Anesthesia; Council on Cardiovascular Radiology and intervention; Council on Cardiovascular Nursing; and the Interdisciplinary Council on Peripheral Vascular Disease. The American Academy of Neurology affirms the value of this statement as an educational tool for neurologists. Stroke. 2009:40(6);2276-93.

ยุพาพร หัตถโชติ. ผลการใช้โปรแกรมการวางแผนจำหน่าย ต่อความรู้และความสามารถในการทำกิจกรรม ของผู้ป่วยโรคหลอดเลือดสมองในหอผู้ป่วยโรคหลอดเลือดสมอง (Stroke unit) โรงพยาบาลอุดรธานี. วารสารการแพทย์โรงพยาบาลอุดรธานี. 2560: 25 (2); 137-142.

อรทัย บุญชูวงศ์, จงจิต เสน่หา, วันเพ็ญ ภิญโญภาสกุล และยงชัย นิละนนท์. ปัจจัยที่มีอิทธิพลต่อความพร้อมของผู้ดูแลผู้ป่วยโรคหลอดเลือดสมองก่อนจำหน่ายออกจากโรงพยาบาล. Journal of Nursing Science. 2560: 35(3); 46-57.

สุพิมล บุตรรัตนะ. ผลของโปรแกรมเตรียมความพร้อมของผู้ดูแลหลักผู้ป่วยโรคหลอดเลือดสมองตีบตันก่อนจำหน่ายกลับบ้าน โรงพยาบาลหนองบัวลำภู. วารสารการพยาบาล สุขภาพ และการศึกษา. 2563:3 (1);56-64.

คนึงนิจ ศรีษะโคตร, พจนีย์ ขูลีลัง, เบญจพร เองวานิช และบุญมี ชุมพล. การพัฒนารูปแบบการวางแผนจำหน่ายแบบบูรณาการในผู้ป่วยโรคหลอดเลือดสมอง. วารสารสภาการพยาบาล. 2565:37(3);20-43.

พิราลักษณ์ ลาภหลาย, สุภาภรณ์ น้ำใจดี และมารศรี ปิ่นสุวรรณ์. ผลของรูปแบบการดูแลผู้ป่วยโรคหลอด เลือดสมองแตกในระยะกึ่งวิกฤตต่อความก้าวหน้าในการปฏิบัติกิจวัตรประจำวันของผู้ป่วย. วารสารวิชาการสาธารณสุข. 2562: 28 (2); 286-296.

Downloads

เผยแพร่แล้ว

2023-12-31

How to Cite

ศิลาแยง ด. (2023). รูปแบบการวางแผนจำหน่ายผู้ป่วยสำหรับการพัฒนาทักษะผู้ดูแลผู้ป่วยสูงอายุโรคหลอดเลือดสมองที่มีภาวะพึ่งพิง แผนกผู้ป่วยใน โรงพยาบาลนาคู จังหวัดกาฬสินธุ์. วารสารอนามัยสิ่งแวดล้อมและสุขภาพชุมชน, 8(3), 1056–1066. สืบค้น จาก https://he03.tci-thaijo.org/index.php/ech/article/view/1975