การพยาบาลผู้ป่วยผ่าตัดนิ่วในถุงน้ำดีแบบผ่านกล้องและแบบเปิดหน้าท้อง : กรณีศึกษา 2 ราย
คำสำคัญ:
การผ่าตัดแบบผ่านกล้องและแบบเปิดหน้าท้อง, นิ่วในถุงน้ำดี, 11 แบบแผนของกอร์ดอนบทคัดย่อ
การศึกษานี้เป็นกรณีศึกษา มีวัตถุประสงค์ เพื่อศึกษาเปรียบเทียบการพยาบาลผู้ป่วยผ่าตัดนิ่วในถุงน้ำดีแบบผ่านกล้องและแบบเปิดหน้าท้อง: กรณีศึกษา 2 ราย โดยเปรียบเทียบการพยาบาลผู้ป่วยผ่าตัดนิ่วในถุงน้ำดีแบบผ่านกล้องและแบบเปิดหน้าท้องโดยศึกษาประวัติผู้ป่วยจากเวชระเบียนผู้ป่วย การซักประวัติจากผู้ป่วย ญาติและการสังเกต เครื่องมือที่ใช้ในการศึกษาได้แก่ กรอบแนวคิดกระบวนการพยาบาล 5 ขั้นตอน ในขั้นตอนการประเมินภาวะสุขภาพรวบรวมและวิเคราะห์ข้อมูลตาม 11 แบบแผนสุขภาพของ Gordon เปรียบเทียบข้อมูลภาวะสุขภาพ การรักษา ข้อวินิจฉัยทางการพยาบาลในระยะก่อนผ่าตัด ขณะผ่าตัด และระยะหลังผ่าตัด 24 ชั่วโมง
ผลการศึกษา พบว่า กรณีศึกษาทั้ง 2 ราย ได้รับการวินิจฉัยเป็นเป็นนิ่วในถุงน้ำดีมี แต่รายที่ 2 มีการอักเสบของถุงน้ำดีร่วมด้วย ได้รับการรักษาด้วยการผ่าตัดแตกต่างกัน เริ่มต้นการผ่าตัดด้วยวิธีผ่านกล้องเช่นเดียวกัน ส่งเครื่องมือตามขั้นตอนการผ่าตัด รายที่ 1 ผ่าตัดสำเร็จลุล่วงไปได้ด้วยดี รายที่ 2 ผ่าตัดแบบผ่านกล้องไม่สำเร็จเปลี่ยนวิธีการผ่าตัดมาเป็นแบบเปิดหน้าท้อง เนื่องจากพบว่าการอักเสบของถุงน้ำดี ถุงน้ำดีเน่าและพังผืด(Gangrene gallbladder, adhesions uaid Gallbladder) ในบริเวณที่จะทำการผ่าตัดมาก ไม่พบภาวะแทรกซ้อนจากการผ่าตัดทั้ง 2 ราย กรณีศึกษารายที่ 1 พบข้อวินิจฉัยทางการพยาบาล จำนวน 6 ข้อ รายที่ 2 จำนวน 9 ข้อ ติดตามเยี่ยมผู้ป่วยก่อน และหลังผ่าตัดได้ให้คำแนะนำเกี่ยวกับโรคที่เป็น และการปฏิบัติตัวก่อและหลังผ่าตัด ประสานพยาบาลหอผู้ป่วยในการส่งต่อข้อมูลการผ่าตัดร่วมกันวางแผนการพยาบาลเพื่อให้ผู้ป่วย บรรเทาอาการรบกวนต่าง ได้แก่ การปวดแผล แน่นอัดอัดท้องและฟื้นหายโดยเร็ว ทั้ง 2 รายได้รับการดูแลรักษาจนอาการทุเลา แพทย์อนุญาตให้กลับบ้านได้ ระยะเวลาการนอนรักษาในโรงพยาบาลรายที่ 1 จำนวน 4 วัน รายที่ 2 จำนวน 8 วัน เนื่องจากกรณีศึกษารายที่ 2 มีอาการรุนแรงมากกว่า ได้รับการรักษาด้วยการผ่าตัดทั้ง 2 แบบ ระยะเวลาวันนอนโรงพยาบาลจึงนานกว่า
References
ชัชชัย โกศลศศิธร. ปัจจัยที่สัมพันธ์กับการตรวจพบเชื้อในน้ำดีและภาวะแทรกซ้อนจากการติดเชื้อภายหลังการผ่าตัดถุงน้ำดีในโรงพยาบาลลําปาง. ลําปางเวชสาร2555; 33 (1):42-48.
ดรุณี สมบูรณ์กิจ, อัจฉรา มีนาสันติรักษ์, กมลรัตน์ สุปัญญาบุตรและรัชชยา มหาสิริมงคล.การพัฒนาแนวปฏิบัติการพยาบาลผู้ป่วยที่ได้รับการผ่าตัดนิ่วในถุงน้ำดีผ่านกล้องโรงพยาบาลมหาสารคาม.วารสารโรงพยาบาลมหาสารคาม2561;15 (3): 24-34.3.
งานเวชระเบียนและสถิติ.สถิติผู้ป่วยโรงพยาบาลบ้านไผ่ จังหวัดขอนแก่น ประจำปี 2564 -2566. โรงพยาบาลบ้านไผ่; 2566.
วีระยุทธ โถวประเสริฐ.Gall stone. [อินเตอร์เน็ต]. [เข้าถึงเมื่อ 2 ต.ค. 2566]. เข้าถึงได้จาก https://www.med.tu.ac.th/department/surgery/wp-content/uploads/sites/3/2018/11/Gallstone.pdf.
อนุวัตร์ สีวาที.การศึกษาเปรียบเทียบการผ่าตัดนิ่วในถุงน้ำดีแบบเปิดช่องท้องและแบบผ่าตัดผ่านกล้องวีดีทัศน์ 3 แผล ในโรงพยาบาลจัตุรัส จังหวัดชัยภูมิ .ชัยภูมิเวชสาร.2561;36(3)48-59.
ชญาดา เกตุรัตน์กุล.ผู้ป่วยโรคนิ่วในถุงน้ำดีที่ได้รับการผ่าตัดด้วยการส่องกล้อง.คู่มือปฏิบัติการช่วยพยาบาล 2561,9-35. [อินเตอร์เน็ต]. [เข้าถึงเมื่อ 2 ต.ค. 2566]. เข้าถึงได้จาก https:www2.si.mahidol.ac.th
ธัญญ์ อิงคะกุล และอรุณ ศิริปุณย์. รักษานิ่วในถุงน้ำในท่อน้ำดีด้วยการส่องกล้องและผ่าตัดแผลเล็ก.[อินเตอร์เน็ต]. 2564. [เข้าถึงเมื่อ 2 ต.ค. 2566]. เข้าถึงได้จาก https://www.bangkokhospital.com/content/ercp-and-laparoscopic-cholecystectomy