การพยาบาลผู้ป่วยมะเร็งลำไส้ใหญ่ ที่ได้รับการผ่าตัดเปิดทวารเทียม : กรณีศึกษา 2 ราย
คำสำคัญ:
มะเร็งลำไส้ใหญ่, การผ่าตัดเปิดทวารเทียม, การพยาบาลผู้ป่วยมะเร็งลำไส้ใหญ่บทคัดย่อ
การศึกษานี้เป็นกรณีศึกษา มีวัตถุประสงค์เพื่อศึกษาเปรียบเทียบสาเหตุ อาการและอาการแสดง การรักษา และข้อวินิจฉัยทางการพยาบาล ผู้ป่วยมะเร็งลำไส้ใหญ่ ที่ได้รับการผ่าตัดเปิดทวารเทียม กรณีศึกษา 2 ราย เพื่อเสนอแนวทางการพยาบาลผู้ป่วยมะเร็งลำไส้ใหญ่ ที่ได้รับการผ่าตัดเปิดทวารเทียม ชนิด colostomy และ ileostomy ที่เข้ารับการรักษาในหอผู้ป่วยศัลยกรรมชาย 1 โรงพยาบาลขอนแก่น
ผลการศึกษา พบว่า กรณีศึกษารายที่ 1 มาด้วยอาการ อ่อนเพลีย น้ำหนักลด ได้รับการวินิจฉัยเป็นมะเร็งลำไส้ใหญ่ในครั้งแรก ส่วนกรณีศึกษารายที่ 2 ได้รับการวินิจฉัยเป็นมะเร็งลำไส้ใหญ่ และได้รับการรักษามาก่อน ผู้ป่วยมาตามนัดเพื่อรับการผ่าตัดทวารเทียม (Ostomy) ทั้งสองรายได้รับการรักษา โดยการผ่าตัดเปิดทวารเทียม กรณีศึกษารายที่ 1 เป็นชนิด Colostomy ส่วนกรณีศึกษารายที่ 2 ได้รับการผ่าตัดโดยวิธีส่องกล้อง เป็นชนิด Ileostomy มีการวินิจฉัยทางการพยาบาลในระยะก่อนผ่าตัดที่เหมือนกันคือ ญาติและผู้ป่วยวิตกกังวลเกี่ยวกับสภาวะโรคและการรักษาที่ได้รับ ในระยะวิกฤต มีความไม่สุขสบายเนื่องจากปวดแผล ระยะต่อเนื่อง ได้รับการสอนโดยพยาบาลเฉพาะทางบาดแผล ออสโตมี ควบคุมการขับถ่ายไม่ได้ (Entrostomal Therapy Nurse : ET Nurse) ระยะจำหน่าย ญาติและผู้ป่วยวิตกกังวลเกี่ยวกับการดูแลตนเองเมื่อกลับบ้านเนื่องจากมีทวารเทียม ส่วนการวินิจฉัยการพยาบาลที่ต่างกัน ระยะก่อนผ่าตัด กรณีศึกษารายที่ 1 มีภาวะซีดจากการดำเนินของโรค และไม่ได้รับการกำหนดตำแหน่งเปิดทวารเทียม ในขณะที่กรณีศึกษารายที่ 2 ได้รับการกำหนดตำแหน่งเปิดทวารเทียมโดยพยาบาล ET Nurse และ เสี่ยงต่ออันตรายจากภาวะไม่สมดุลของอิเลคโตรไลท์ ในระยะวิกฤตกรณีศึกษารายที่ 2 มีภาวะพร่องออกซิเจนหลังผ่าตัดได้รับการใช้เครื่องช่วยหายใจ ส่วนในระยะต่อเนื่อง กรณีศึกษารายที่ 2 มีภาวะโพแทสเซียมในเลือดต่ำ การพยาบาลที่สำคัญคือ การเตรียมความพร้อมด้านร่างกาย และจิตใจให้กับผู้ป่วยและญาติ โดยการให้ข้อมูลเกี่ยวกับทวารเทียม และผู้ป่วยทุกรายควรได้รับการกำหนดตำแหน่งทวารเทียมที่เหมาะสม การพยาบาลเพื่อแก้ไขและบรรเทาปัญหาเฉียบพลันที่กำลังคุกคามชีวิต การจัดการความปวดเพื่อลดความทุกข์ทรมาน การพยาบาลเพื่อป้องกันการภาวะแทรกซ้อนจากมีทวารเทียม การให้ความรู้ ฝึกทักษะผู้ป่วยและผู้ดูแล เสริมพลังอำนาจในการดูแลตนเอง ผู้ป่วยทั้งสองรายไม่มีภาวะแทรกซ้อนสามารถจำหน่ายกลับบ้านได้
References
จุฬาพร ประสังสิต. (2561). การพยาบาลผู้ป่วยผ่าตัดมะเร็งลำไส้ใหญ่และทวารหนัก. ใน สุวรรณี สิริเลิศตระกูล และ เนตร์สุวีณ์ เจริญจิตสวัสดิ์. บทความวิชาการ การศึกษาต่อเนื่องสาขาการพยาบาลศาสตร์ เล่มที่ 18 การพยาบาลผู้ป่วยโรคมะเร็ง. กรุงเทพ: ศิริยอดการพิมพ์.
จุฬาพร ประสังสิต และกาญจนา รุ่งแสงจันทร์. (2558). การพยาบาลผู้ป่วยที่มีลำไส้และรูเปิดทางหน้าท้อง:ประสบการณ์จากผู้เชี่ยวชาญ. กรุงเทพฯ: พี.เอ.ลิฟวิ่ง.
ชิตชวรรณ คงเกษม. (2017). โปรแกรมส่งเสริมการปรับตัวสำหรับผู้ป่วยไตวายเรื้อรังระยะสุดท้ายที่รักษาด้วยวิธีการล้างไตทางช่องท้อง. Journal of Public Health Nursing, 31(1), 75-89.
ไพบูลย์ จิวะไพศาลพงศ์. (2555). Colostomy/Ileostomy. กรุงเทพมหานคร: กรุงเทพเวชสาร.
รัสวดี บุษยะจารุ. (2554). การดูแลผู้ป่วยที่มีทวารใหม่. การดูแลบาดแผลและออสโตมี, 74.
วันดี สำราญราษฎร์. (2561). การพยาบาลผู้ป่วยมะเร็งลำไส้ใหญ่และทวารหนักที่ผ่าตัดเปิดทวารเทียม.วารสารวิทยาลัยพยาบาลพระจอมเกล้า, 1(2), 96-111.
ศิริพรรณ ภมรพล. (2559). บทบาทพยาบาลในการส่งเสริม การลุกเดินจากเตียงโดยเร็วภายหลังผ่าตัด. วารสารพยาบาลสภากาชาดไทย, 9(2), 14-23.
กองยุทธศาสตร์และแผนงาน กระทรวงสาธารณสุข. (2560). สถิติสาธารณสุข 2560-2562. นนทบุรี: กองยุทธศาสตร์และแผนงาน กระทรวงสาธารณสุข.
สนธยา ทองรุ่ง จรรจา สนตยากร ยวยงค์ จันทรวิจิตร และปกรณ์ ประจันบาน. (2556). ผลของโปรแกรมการ ปรับตัวต่อความสามารถในการปฏิบัติกิจวัตรประจำวันและคุณภาพชีวิตของผู้ป่วยโรคหลอดเลือด สมอง. วารสารการพยาบาลและสขภาพ, 7(3), 88-97.
สุวรรณี สิริเลิศตระกูล. (บรรณาธิการ). (2555). การพยาบาลผู้ป่วยโรคมะเร็ง. สมุทรปราการ: สินทวีกิจพริ้นติ้ง
เอมปภา ปรีชาธีรศาสตร์. (2560). บทบาทพยาบาลเฉพาะทางดูแลบาดแผล ออสโตมี และควบคุมการขับถ่ายไม่ได้ : กรณีศึกษา การพยาบาลผู้ป่วยมะเร็งลำไส้ตรง. วารสารพยาบาลสภากาชาดไทย, 10(1), 22-34.
Ron G Landmann. (2020). Ileostomy or Colostomy care and complications. 17 กันยายน 2563, www. Uptodate. Com 2020 UpToDate, Inc. and/or its affilates. All Rights Reseerved.