ผลการใช้รูปแบบ “ชวนน้องไม่ท้องซ้ำ” ในการป้องกันการตั้งครรภ์ซ้ำ ในหญิงอายุน้อยกว่า 20 ปี อำเภอราษีไศล
คำสำคัญ:
การตั้งครรภ์ซำ้ในวัยรุ่น, การป้องกันการตั้งครรภ์ซ้ำ, รูปแบบบทคัดย่อ
การวิจัยครั้งนี้ เป็นการวิจัยเชิงปฏิบัติการเพื่อศึกษาผลการใช้รูปแบบ “ชวนน้องไม่ท้องซ้ำ” ในการป้องกันการตั้งครรภ์ซ้ำ ในหญิงอายุน้อยกว่า 20 ปี อำเภอราษีไศล ศึกษาจำนวน 2 รอบ โดยประยุกต์ใช้ทฤษฎีแบบแผนความเชื่อด้านสุขภาพ ในการป้องกันการตั้งครรภ์ซ้ำในวัยรุ่น กลุ่มตัวอย่างแบ่งเป็นกลุ่มทดลอง จำนวน 20 คน กลุ่มควบคุม จำนวน 20 คน สุ่มตัวอย่างแบบเฉพาะเจาะจง โดยกลุ่มควบคุมได้รับบริการป้องกันการตั้งครรภ์ซ้ำตามมาตรฐาน กลุ่มทดลองได้รับบริการตามรูปแบบที่พัฒนาขึ้น รวบรวมข้อมูลโดยใช้แบบสอบถามที่มีค่า CVI เท่ากับ 1 วิเคราะห์ข้อมูลโดยใช้สถิติเชิงพรรณนา Chi-square, Mann-whitney U test, Wilcoxon signed-rank test และการวิเคราะห์เชิงเนื้อหา
ผลการศึกษาพบว่าการรับรู้การส่งเสริมสุขภาพเพื่อป้องกันการตั้งครรภ์ซ้ำในวัยรุ่น ระหว่างกลุ่มทดลองที่รับบริการตามโปรแกรม กับกลุ่มควบคุมที่เข้ารับบริการตามมาตรฐานเดิม แตกต่างกันอย่างมีนัยสำคัญทางสถิติ การรับรู้การส่งเสริมสุขภาพเพื่อป้องกันการตั้งครรภ์ซ้ำในวัยรุ่นมีความสัมพันธ์กับการคุมกำเนิดหลังคลอดอย่างมีนัยสำคัญทางสถิติ กลุ่มทดลองที่รับบริการตามโปรแกรมที่พัฒนาขึ้น คุมกำเนิดหลังคลอดมากกว่ากลุ่มควบคุมที่เข้ารับบริการตามมาตรฐานเดิมอย่างมีนัยสำคัญทางสถิติ ข้อเสนอแนะ ควรนำรูปแบบ “ชวนน้องไม่ท้องซ้ำ” ในการป้องกันการตั้งครรภ์ซ้ำในหญิงอายุน้อยกว่า 20 ปี ที่พัฒนาขึ้น ร่วมกับการรับรู้การส่งเสริมสุขภาพไปใช้ เนื่องจากสามารถเพิ่มการคุมกำเนิดหลังคลอดเพื่อป้องกันการตั้งครรภ์ซ้ำในวัยรุ่นได้
References
Bucknall A, Bick D. Repeat pregnancies in teenage mothers: An exploratory study. J Adv Nurs. 2019; 75(11): 2923-2933. doi:10.1111/jan.14140
World Health Organization [WHO]. Adolescent pregnancy [Online]. [cited Sep. 10 2023] Available from: https://www.who.int/news-room/fact-sheets/detail/adolescent-pregnancy
Health Data Center [HDC]. รายงานมาตรฐานด้านสุขภาพ [online]. [cited Sep. 10 2023] Available from: https://hdcservice.moph.go.th/hdc/reports/report.php?
Maravilla, J. C. The role of community health workers in preventing adolescent repeated pregnancies and births. Journal of Adolescent Health. 2016; 59: 378 – 390.
Srivilai, K.. Repeated Pregnancy among Adolestcent: A Case Study a Community Hospital, Southern Thailand. The Southern College Network Journal of Nursing and Public Health.
; 3(3): 142 – 152.
Puangniyom S, Kaewpan W. Factors Related to Repeated Pregnancy in Adolescents, Phetchaburi Province. J Health Sci. 2018; 27(1): 30-41. Available from: https://thaidj.org/index.php/JHS/article /view/2447
Pancharern S, Kontha J, Jongkae P. FACTORS RELATED TO THE INTENTION TO REPEAT PREGNANCY AMONG PREGNANT ADOLESCENTS. JSBA. 2020; 5(10): 231-47. Available from: https://so04.tci-thaijo.org/index.php/JSBA/article /view/245253
Marangsee S. Risk Factors and Guidelines for Prevention of Repeated Teenage Pregnancy. JFONUBUU. 2019; 26(2): 84-9. Available from: https://he02.tcithaijo.org/index.php/Nubuu/article/view/188787
Marnach ML, Long ME, Casey PM. Current issues in contraception. Mayo Clin Proc. 2013; 88(3): 295-9.
Pender, N. J., Murdaugh, C. L., & Parsons, M. A. Health promotion in nursing practice. New Jersey: Peason Education, Inc. 2006. 5th (ed).
Likert, Rensis. The Method of Constructing and Attitude Scale. Attitude Theory and Measurement.1967: 90-95.
Best, John W. Research in Education. 3rd ed. Englewood Cliffs, New Jersey : Prentice Hall, Inc. 1977.
Bloom, Benjamin S. Handbook on Formative and Summative Evaluation of Student Learning. New York : McGraw-Hill. 1971.
Polit, D.F. and Beck, C.T. Nursing Research: Generating and Assessing Evidence for Nursing Practice. 10th Edition, Wolters Kluwer Health, Philadelphia. 2017: 784 https://doi.org/10.1016/j.iccn.2015.01.005
William, Gosset S. (Student). The Probable Error of a Mean. Biometrika. 1908: 1–25.
ทิวัตถ์ มณีโชติ. เทคนิคการเขียนรายงานการวิจัยและวิทยานิพนธ์. กรุงเทพฯ: ศูนย์การเรียนรู้และผลิตสิ่งพิมพ์ระบบดิจิตอล มหาวิทยาลัยราชภัฏพระนคร; 2554.
พรรณพิไล ศรีอาภรณ์ ,ฤดี ปุงบางกะดี ,จิราวรรณ ดีเหลือ, จิระศักดิ์ สาระรัตน์, พัชนียา เชียงตา, ชัชฏาพร จันทรสุข,ลวิตรา เขียวคํา และรุณราวรรณ์ แก้วบุญเรือง. ผลของโปรแกรมส่งเสริมการคุมกําเนิดต่อความรู้และความตั้งใจในการคุมกําเนิดในมารดาวัยรุ่น. พยาบาลสาร. 2564: 48(1); 199-209.
เพ็ญพยงค์ ตาระกา, กินรี ชัยสวรรค์ และ ธนพร แย้มสุดา. ผลของโปรแกรมส่งเสริมการรับรู้ความสามารถแห่งตนต่อพฤติกรรมส่งเสริมสุขภาพของหญิงตั้งครรภ์วัยรุ่นครรภ์แรก. วารสารแพทย์นาวี. 2562: 46(2); 319-335.