การพยาบาลผู้ป่วยภาวะช็อคจากการติดเชื้อในกระแสเลือด: กรณีศึกษา 2 ราย

ผู้แต่ง

  • พิไลลักษณ์ นักพิณพาทย์ โรงพยาบาลอัมพวา จังหวัดสมุทรสงคราม
  • รัชนี หลงสวาสดิ์ โรงพยาบาลอัมพวา จังหวัดสมุทรสงคราม

คำสำคัญ:

การพยาบาล, ภาวะช็อกจากการติดเชื้อในกระแสเลือด

บทคัดย่อ

     การศึกษานี้เป็นกรณีศึกษา มีวัตถุประสงค์เพื่อศึกษาเปรียบเทียบการพยาบาลผู้ป่วยภาวะช็อคจากการติดเชื้อในกระเลือด โดยทบทวนข้อมูลผู้ป่วยภาวะช็อคจากการติดเชื้อในกระแสเลือดในโรงพยาบาลอัมพวา จังหวัดสมุทรสงคราม โดย เลือกศึกษาข้อมูลผู้ป่วย จำนวน 2 ราย ที่เข้ารับการรักษาในปี 2566 โดยเป็นผู้ป่วยที่ส่งต่อการรักษา 1 ราย  และผู้ป่วยที่รับไว้ดูแลในโรงพยาบาล อีก 1 ราย และค้นคว้าความรู้เอกสารทางวิชาการ นำมาวางแผนการดูแลตามกระบวนการพยาบาล และเปรียบเทียบกรณีศึกษา ทั้ง 2 ราย       ผลการศึกษา กรณีศึกษาที่ 1 มาตรวจที่ห้องฉุกเฉินด้วยอาการสำคัญ คือ ไข้สูง ไม่พูด ซึมลง  และมีแผลกดทับที่ก้นกบ หลัง และแขนข้างขวา แพทย์วินิจฉัย Alteration of Conscious, Pneumonia, Infected Bedsore, R/O Sepsis /AKI ส่วนกรณีศึกษาที่ 2 มาตรวจที่ห้องฉุกเฉินด้วยอาการสำคัญ คือ มีไข้สูง อ่อนเพลีย ซึม กินไม่ได้ มีถ่ายดำ และพบก้อนที่คอ  แพทย์วินิจฉัย Sepsis UTI, CA Lymph node ทั้ง 2 รายได้รับการรักษาตามแนวทางการดูแลผู้ป่วยเชื้อในกระแสเลือด กรณีศึกษาที่ 1 มีปัญหาคุกคามชีวิตเรื่องสัญญาณชีพ และระบบการหายใจล้มเหลว ต้องได้รับยา Vasopressor และใส่ท่อช่วยหายใจ ส่วนกรณีศึกษาที่ 2 มีปัญหา เรื่อง ติดเชื้อในระบบทางเดินปัสสาวะ กินไม่ได้ ซีด เสียสมดุลของสารน้ำและเกลือแร่ มีภาวะไตวายเฉียบพลัน ปัญหาทั้ง 2 กรณีศึกษานี้ พยาบาลประเมิน และคัดกรองผู้ป่วยทั้ง 2 ราย ในระยะแรกได้อย่างรวดเร็วให้การรักษาพยาบาลแบบมุ่งเป้าหมายอย่างรวดเร็วใน 1 ชั่วโมงแรก และดูแลเฝ้าระวังอย่างใกล้ชิด ผู้ป่วยจึงปลอดภัยจากภาวะช็อค และภาวะแทรกซ้อน ไม่เกิดอัตรายถึงแก่ชีวิต กรณีศึกษาที่ 1 ได้รับส่งต่อการรักษาไปโรงพยาบาลสมเด็จพระพุทธเลิศหล้า ภายใน 3 ชั่วโมง กรณีศึกษาที่ 2 พักรักษาในหอผู้ป่วยใน 5 วัน จำหน่ายกลับบ้านได้

References

สำนักตรวจราชการกระทรวง สาธารณสุข. รายงานการตรวจราชการ ประจำปี 2562. [อินเตอร์เน็ต]. [2562]. [เข้าถึงเมื่อ 1 มิถุนายน 2566]. เข้าถึงได้จาก http://dmsic.moph.go.th/index/ detail/2779

ศูนย์ข้อมูลสารสนเทศโรงพยาบาลอัมพวา พ.ศ. 2562-2566

สุณีรัตน คงเสรีวงศ์. Resuscitation in Surgical Sepsis/Septic Shock Patient. ใน: ดุสิต สถาวร, ครรชิต ปิยะเวชวิรัตน์, สหดล ปุญญถาวร, บรรณาธิการ. ICU Everywhere. กรุงเทพฯ: บียอนด์ เอ็นเทอร์ไพรซ์; 2561. หน้า 87-98

ชุติมา จิระนคร. Rapid Detection of Sepsis. ใน: ดุสิต สถาวร, ครรชิต ปิยะเวชวิรัตน์, สหดล ปุญญถาวร, บรรณาธิการ. ICU Everywhere. กรุงเทพฯ: บียอนด์เอ็นเทอร์ไพรซ์; 2561.หน้า115-25

รัฐภูมิ ชามพูนท. Sepsis Fast track. ใน:ดุสิต สถาวร, ครรชิต ปิยะเวชวิรัตน์, สหดล ปุญญถาวร, บรรณาธิการ. ICU Everywhere. กรุงเทพฯ: บียอนด์ เอ็นเทอร์ไพรซ์; 2561. หน้า 128-37

นนทรัตน์ จำเริญวงศ์, สุพรรณิการ์ ปิยะรักษ์, ชยธิดา ไชยวงษ์. การประเมินและการพยาบาลผู้ป่วยที่มีภาวะช็อกจากการติดเชื้อในกระแสเลือด. วารสารเครือข่ายวิทยาลัยพยาบาลและการสาธารณสุขภาคใต้ 2563; 7:319-29

Downloads

เผยแพร่แล้ว

2024-02-29