การพัฒนาระบบการพยาบาลทารกแรกเกิดที่มีภาวะติดเชื้อในกระแสโลหิต โรงพยาบาลพหลพลพยุหเสนา จังหวัดกาญจนบุรี

ผู้แต่ง

  • ผจงวรรณ อดุลยศักดิ์ พยาบาลวิชาชีพชำนาญการพิเศษ โรงพยาบาลพหลพลพยุหเสนา จังหวัดกาญจนบุรี
  • ณัฐศิกา ใคร่ครวญ พยาบาลวิชาชีพชำนาญการพิเศษ โรงพยาบาลพหลพลพยุหเสนา จังหวัดกาญจนบุรี
  • สุภาภรณ์ ประยูรมหิศร พยาบาลวิชาชีพชำนาญการพิเศษ โรงพยาบาลพหลพลพยุหเสนา จังหวัดกาญจนบุรี

คำสำคัญ:

ระบบการพยาบาล, ทารกแรกเกิดที่มีภาวะติดเชื้อในกระแสโลหิต

บทคัดย่อ

     การวิจัยและพัฒนานี้มีวัตถุประสงค์เพื่อพัฒนาและศึกษาผลการใช้ระบบการพยาบาลทารกแรกเกิดที่มีภาวะติดเชื้อในกระแสโลหิต โรงพยาบาลพหลพลพยุหเสนา จังหวัดกาญจนบุรี โดยใช้กรอบแนวคิดทฤษฎีเชิงระบบของ Donabedian เลือกกลุ่มตัวอย่างแบบเจาะจง เป็น ทารกแรกเกิดที่เสี่ยงต่อภาวะติดเชื้อในกระแสโลหิตที่เข้ารับการรักษาในโรงพยาบาลพหลพลพยุหเสนาช่วงเดือนเมษายน พ.ศ. 2565 ถึง กันยายน พ.ศ. 2565 จำนวนทั้งหมด 60 ราย เครื่องมือที่ใช้รวบรวมข้อมูลได้แก่ แนวคำถามการสนทนากลุ่ม แบบวัดความรู้ แบบวัดทักษะการพยาบาล แบบวัดความมั่นใจในการปฏิบัติการพยาบาล แบบวัดความพึงพอใจ และแบบบันทึกการดูแลทารกแรกเกิดที่มีภาวะติดเชื้อในกระแสโลหิต วิเคราะห์ข้อมูลเชิงคุณภาพโดยการวิเคราะห์เชิงเนื้อหา วิเคราะห์ข้อมูลเชิงปริมาณโดยการใช้สถิติเชิงพรรณนาได้แก่ การแจกแจงความถี่ ร้อยละ ค่าเฉลี่ย และส่วนเบี่ยงเบนมาตรฐาน และสถิติทดสอบที
     ผลการวิจัย พบว่า 1) ระบบการพยาบาลทารกแรกเกิดที่มีภาวะติดเชื้อในกระแสโลหิตที่พัฒนาขึ้นได้แก่ CARES model 2) พยาบาลมีคะแนนเฉลี่ยของความรู้ ทักษะการพยาบาลและความมั่นใจในการปฏิบัติการพยาบาลทารกแรกเกิดที่มีภาวะติดเชื้อในกระแสโลหิตหลังการใช้ระบบการพยาบาลฯ สูงกว่าก่อนการใช้ระบบการพยาบาลฯ อย่างมีนัยสำคัญทางสถิติที่ระดับ .05 (p<.01) มีความพึงพอใจต่อระบบการพยาบาลฯ ในระดับมากที่สุด 3) ทารกแรกเกิดได้รับการวินิจฉัยและการรักษารวดเร็วขึ้น มีอัตราการเกิดการติดเชื้อในกระแสโลหิตลดลง และไม่พบการเสียชีวิต

References

Ozmeral, O., et al. Neonatal sepsis. The medical bulletin of sisietfal hospital 2020; 54(2): 142-158.

Weston, E. J. et al. The burden of invasive early-onset neonatal sepsis in the United States, 2005–2008. Pediatric Infectious Disease Journal 2011; 30: 937–941.

Osrin, D., Vergnano, S. & Costello, A. Serious bacterial infections in newborn infants in developing countries. Current Opinion in Infectious Diseases 2004; 17: 217–224.

Oza, S., Lawn, J. E., Hogan, D. R., Mathers, C. & Cousens, S. N. Neonatal cause-of death estimates for the early and late neonatal periods for 194 countries: 2000- 2013. Bull. World Health Organ 2015; 93: 19–28.

กัณณิกา อยู่มั่น. ลักษณะการติดเชื้อในกระแสเลือดของทารกแรกเกิดในโรงพยาบาลพังงา. วารสารวิชาการแพทย์เขต 11 จังหวัดสุราษฏร์ธานี 2564; 35(1): 37-49.

ปิยดา พรใหม่. อุบัติการณ์และปัจจัยเสี่ยงของภาวะสงสัยติดเชื้อระยะแรกในทารกแรกเกิดของโรงพยาบาลปราสาท. วารสารโรงพยาบาลเจริญกรุงประชารักษ์ 2564; 17(2): 56-73.

วิลาวัลย์ วงศ์วัฒนอนันต์. อุบัติการณ์ของภาวะติดเชื้อในทารกแรกเกิด ลักษณะทางคลินิก และการรักษาในทารกแรกเกิดที่ คลอดในในโรงพยาบาลปักธงชัย. วารสารวิจัยและพัฒนาด้านสุขภาพ สำนักงานสาธารณสุขจังหวัดนครราชสีมา 2566; 9(1): 62-77.

ฉฎาธร ปรานมนตรี, วรรณภา ตั้งแต่ง, พรจันทร์ สุวรรณมนตรี, ประกอบพร ทิมทอง, ชุลีพร การะภักดี. การพัฒนาระบบ การพยาบาลภาวะติดเชื้อในกระแสเลือดทารกแรกเกิด. วารสารวิชาการแพทย์และสาธารณสุข เขตสุขภาพที่ 3 งหวัด นครสวรรค์ 2565; 19(2): 138-154.

Mukhopadhyay, S. et al. Neuro developmental outcomes following neonatal late onset sepsis and blood culture-negative conditions. Archives Disease Child Fetal Neonatal Ed. 2021; 106: 467–473.

Istemi, H., C., Morcos, H., Fuat, E., C.,and Mohan, P. Diagnosis of neonatal sepsis: the past, present and future. Pediatric Research 2022; 91:337–350.

โรงพยาบาลพหลพลพยุหเสนา. รายงานตัวชี้วัด การลงรหัสโรคและรหัสหัตถการผู้ป่วยในฐานข้อมูลโรงพยาบาลพหลพล พยุหเสนา ปี 2563-2564 [data base]. สรุปรายงานฝ่าย แผนงานของโรงพยาบาลพหลพลพยุหเสนา 2564.

Donabedian A. An introduction to quality assurance in health care. New York: Oxford University Press. 2003.

มณี คูประสิทธิ์ และสมคิด ปานประเสริฐ. การพัฒนารูปแบบการพยาบาลทารกแรกเกิดที่มีภาวะติดเชื้อในกระแสเลือด โรงพยาบาลสมเด็จพระพุทธเลิศหล้า จังหวัดสมุทรสงคราม. วารสารพยาบาลสาธารณสุข 2564; 35(1): 1-20.

Wimonrat Chaowinai, Sutthiporn Munasat, Wanpen Kaewpan. Development of the competency development of neonatal patient care in professional nurses in the nursing unit of neonatal patients Panyananthaphikkhu Chonprathan Medical Center. Journal of the Royal Thai army nurses. 2019; 20(3): 256-65.Thai.

จันทร์เพ็ญ เนียมวัน และกลอยใจ แสนวงษ์.การพัฒนาระบบการพยาบาลทารกเกิดก่อนกำหนดที่มีภาวะหายใจลำบาก โรงพยาบาลยโสธร. วารสารกองการพยาบาล 2564; 48(1):1-18.

Wileman, R. E. Visual communicating. Educational Technology 1993; 147.

Roehling, P. V. & Brown, T, S. Differential use and benefits of power point in upper level versus lower level courses. Technology, Pedagogy and Education 2011; 20(1): 113-124.

Downloads

เผยแพร่แล้ว

2024-02-29