การพัฒนาระบบคัดกรองเพื่อขึ้นทะเบียนทุพพลภาพผู้ประกันตน โรงพยาบาลหนองคาย

ผู้แต่ง

  • รพิพรรณ โสภาเวทย์ แผนกผู้ป่วยนอก โรงพยาบาลหนองคาย

คำสำคัญ:

งานประจำสู่งานวิจัย, ทุพพลภาพ, ผู้ประกันตน

บทคัดย่อ

     การวิจัยนี้เป็นการวิจัยเชิงปฏิบัติการมีวัตถุประสงค์เพื่อพัฒนาแนวทางหรือขั้นตอนการคัดกรองเพื่อขึ้นทะเบียนทุพพลภาพ ผู้ประกันตน โรงพยาบาลหนองคายให้เหมาะสม โดยพัฒนาจากงานประจำเพื่อการพัฒนา (Routine to Research: R2R) กลุ่มตัวอย่างเลือกแบบเจาะจง (Purposive Sampling) กลุ่มก่อนพัฒนาจำนวน 11 ราย และกลุ่มหลังพัฒนาจำนวน 10 ราย เครื่องมือที่ใช้ในการเก็บรวบรวมข้อมูล ได้แก่ แบบสอบถาม (Questionnaires) บันทึกระยะเวลารอคอยของหน่วยงาน การประชุมอย่างไม่เป็นทางการ (Informal meeting) บันทึกสะท้อนคิด (Reflexive Journal) ภาพถ่ายหรือวีดิโอ นำข้อมูลมาวิเคราะห์ด้วยโปรแกรมสำเร็จรูป โดยการแจกแจงความถี่ ค่าเฉลี่ย ส่วนเบี่ยงเบนมาตรฐาน Mann-Whitney U ระดับนัยสำคัญที่ .05 และการวิเคราะห์เนื้อหา (Content Analysis)
     ผลการวิจัย: การพัฒนาระบบคัดกรองเพื่อขึ้นทะเบียนทุพพลภาพ ผู้ประกันตน มีผลทำให้ระยะเวลารอคอยการตรวจประเมินเพื่อขึ้นทะเบียนลดลง ก่อนการพัฒนาค่าเฉลี่ยระยะเวลารอคอย 5 ชั่วโมง16 นาที ค่าอันดับเฉลี่ย (Mean Rank) เท่ากับ 16 หลังการพัฒนาค่าเฉลี่ยระยะเวลารอคอย 1 ชั่วโมง 25 นาที ค่าอันดับเฉลี่ย (Mean Rank) เท่ากับ 5.5 ค่า Mann-Whitney U เท่ากับ .00 ค่า Z เท่ากับ -3.88 p เท่ากับ .00 (p<.05)และความพึงพอใจในบริการการคัดกรองเพื่อขึ้นทะเบียนทุพพลภาพส่วนใหญ่อยู่ในระดับมากที่สุด (gif.latex?\bar{X} =4.55, S.D.= .17) ได้แก่ ความสะดวกในการติดต่อขอใช้บริการ ความรวดเร็วในบริการ ต้อนรับด้วยมิตรไมตรีที่ดี พูดจาสุภาพ ให้เกียรติ กระตือรือร้นเต็มใจให้บริการ ให้การดูแลเอาใจใส่เป็นอย่างดี ให้บริการด้วยความเสมอภาค เป็นธรรม ให้บริการตามลำดับก่อน-หลังด้วยความยุติธรรม ให้คำแนะนำหรือตอบปัญหาข้อซักถามได้เป็นอย่างดีและสถานที่ตรวจประเมินผู้ทุพพลภาพสะอาด รองลงมาเป็นความพึงพอใจระดับมากได้แก่ มีป้ายบอกทางชัดเจน สถานที่ตรวจประเมินผู้ทุพพลภาพคนไม่แออัดมีความเป็นส่วนตัวและมีอุปกรณ์ในการช่วยเหลือเหมาะสม

References

กระทรวงการพัฒนาสังคมและความมั่นคงของมนุษย์, กรมส่งเสริมและพัฒนาคุณภาพชีวิตคนพิการ. (2564). รายงานข้อมูลสถานการณ์ด้านคนพิการในประเทศไทย. สืบค้นจาก www.dep.go.th

จำเนียร จวงตระกูล. (2553). การวิจัยเชิงคุณภาพ:เครื่องมือสร้างองค์ความรู้เพื่อการพัฒนาประเทศ.บริษัทศูนย์กฎหมายธุรกิจอินเตอร์เนชั่นแนลจำกัด.

จุฑาภรณ์ แก้วสุด.(2562).การปรับปรุงกระบวนการผลิตด้วยการประยุกต์ใช้แนวคิดลีน กรณีศึกษา: โรงงานผลิตถุงมือยาง จ. สงขลา. วิทยานิพนธ์มหาบัณฑิต มหาวิทยาลัยสงขลานครินทร์.

ชยันต์ วรรธนะภูติ.(2546). การกำหนดกรอบคิดในการวิจัยเชิงคุณภาพ. พิมพ์ครั้งที่ 4. ใน : อุทัย ดุลย เกษม, คู่มือการวิจัยเชิง คุณภาพเพื่อการพัฒนา. สถาบันวิจัยและพัฒนา : กรุงเทพฯ.

พัชนี สุมานิตย์.(2565). Journal of Research and Health Innovative Development วารสารวิจัย และพัฒนานวัตกรรมทางสุขภาพ. ปีที่ 3 ฉบับที่ 1 (2022): ตุลาคม 2564 - เมษายน 2565

พัชรมน เชื้อนาคะ.(2564). คุณภาพการบริการที่มีผลต่อความพึงพอใจของผู้รับบริการในแผนกผู้ป่วยนอก โรงพยาบาลพระมงกุฎเกล้า. สืบค้นจาก https://archive.cm.mahidol.ac.th/handle/123456789/2271

วิจารณ์ พาณิช. (2551). R2R: Routine to Research สยบงานจำเจด้วยการวิจัย สู่โลกใหม่ของงานประจำ.สถาบันวิจัยระบบสาธารณสุข (สวรส.).

อาณัติ สุนทรหุต.(2562).การลดรอบเวลาการผลิตโดยใช้แนวคิดลีน กรณีศึกษา บริษัท อิเลกทรอนิกส์ จํากัด. ปริญญาบริหารธุรกิจมหาบัณฑิต. สถาบันเทคโนโลยีไทย-ญี่ปุ่น.

อนุวัฒน์ ศุภชุติกุล.(2560). Lean กับการพัฒนาคุณภาพระบบบริการสุขภาพ. สถาบันรับรองคุณภาพสถานพยาบาล (องค์การมหาชน). การประชุมเชิงปฏิบัติการ “แนวคิด Leanกับการพัฒนาคุณภาพระบบบริการสุขภาพ.

Cresswell, J.W. (2009). Research Design: Qualitative, quantitative and mixed method approaches (3rd ed.). Thousand Oaks, CA: Sage.

J Kaneku-Orbegozo and etc. (2019). Applying Lean Manufacturing Principles to reduce waste and improve process in a manufacturer: A research study in Peru. Retrieved from .https://iopscience.iop.org/article/10.108.8/1757-899X/689/1/012020

Downloads

เผยแพร่แล้ว

2024-02-29