ของการใช้แนวทางการคัดแยกผู้ป่วยตามระดับความฉุกเฉิน งานอุบัติเหตุฉุกเฉินและนิติเวช โรงพยาบาลศรีเชียงใหม่ ในยุคชีวิตวิถีใหม่ (New Normal)

ผู้แต่ง

  • จินดา จันภักดี พยาบาลวิชาชีพชำนาญการ งานอุบัติเหตุฉุกเฉินและนิติเวช โรงพยาบาลศรีเชียงใหม่

คำสำคัญ:

แนวทางการคัดแยกผู้ป่วย, ประสิทธิภาพการคัดแยก, ยุคชีวิตวิถีใหม่

บทคัดย่อ

     การวิจัยนี้ มีวัตถุประสงค์ เพื่อเปรียบเทียบความรู้และทักษะของผู้คัดแยกก่อนและหลังใช้แนวทางการคัดแยกผู้ป่วยตามระดับความฉุกเฉิน งานอุบัติเหตุฉุกเฉินและนิติเวช โรงพยาบาลศรีเชียงใหม่ในยุคชีวิตวิถีใหม่ (New Normal) และ เพื่อเปรียบเทียบประสิทธิภาพก่อนและหลังใช้แนวทางการคัดแยกผู้ป่วยตามระดับความฉุกเฉิน โดยใช้ระเบียบวิธีวิจัยกึ่งทดลอง (Quasi-Experimental Research) แบบ Case Studies กลุ่มตัวอย่างเวชระเบียนที่ได้จากการสุ่มอย่างง่ายซึ่งแบ่งเป็น 2 ระยะ คือระยะก่อนการให้ความรู้จำนวน 285 ตัวอย่าง และระยะหลังให้ความรู้จำนวน 217 ตัวอย่าง และหลังจากนั้นได้ดำเนินการระยะที่สองของกลุ่มตัวอย่างเวชระเบียนอีกจำนวน 162 ตัวอย่าง เครื่องมือที่ใช้ในการเก็บรวบรวมข้อมูล คือแบบทดสอบและแบบบันทึกทักษะการปฏิบัติการคัดแยกผู้ป่วย โปรแกรมคอมพิวเตอร์ในโรงพยาบาล ดำเนินการวิจัยโดยการวัดความรู้และทักษะ ติดตามประสิทธิภาพการคัดแยกก่อนและหลังการให้ความรู้และการฝึกปฏิบัติการคัดแยก นำข้อมูลที่ได้มาวิเคราะห์ โดยการแจกแจงค่าความถี่ (f) ร้อยละ (Percentile) สถิติเชิงเปรียบเทียบใช้ค่าสถิติ Wilcoxon signed rank test ในการเปรียบเทียบข้อมูลก่อนและหลังของกลุ่มตัวอย่างพยาบาลวิชาชีพและใช้จำนวน ร้อยละ ในกลุ่มตัวอย่างเวชระเบียน
     ผลการวิจัยพบว่า 1) การให้ความรู้การคัดแยกผู้ป่วยและการฝึกทักษะปฏิบัติในสถานการณ์จริงมีผลทำให้ผู้ปฏิบัติงานมีความรู้ ทักษะและมีประสิทธิภาพในการคัดแยกเพิ่มมากขึ้น ระดับนัยทางสถิติที่ .05 2) การตรวจสอบความถูกต้องเวชระเบียนในระยะที่หนึ่งก่อนการให้ความรู้ในภาพรวม พยาบาลประเมินการคัดแยกประเภทผู้ป่วยตามความฉุกเฉินประเภท 1,2 และ 3 จำนวนทั้งหมด 285 ราย คัดแยกได้ถูกต้อง จำนวน 239 ราย คิดเป็นร้อยละ 84 คัดแยกต่ำกว่าความเป็นจริง จำนวน 26 ราย คิดเป็นร้อยละ 9 คัดแยกสูงกว่าความเป็นจริง จำนวน 20 ราย คิดเป็นร้อยละ 7 และหลังการให้ความรู้ พยาบาลสามารถประเมินการคัดแยกประเภทผู้ป่วยตามความฉุกเฉินประเภท1, 2 และ 3 จำนวนทั้งหมด 217 ราย คัดแยกได้ถูกต้อง จำนวน 189 รายคิดเป็นร้อยละ 87  คัดแยกต่ำกว่าความเป็นจริง จำนวน 17 รายคิดเป็นร้อยละ 8  คัดแยกสูงกว่าความเป็นจริง จำนวน 11 รายคิดเป็นร้อยละ 5 ในระยะที่สองการให้ความรู้ คำแนะนำเป็นรายบุคคล คัดแยกทั้งหมดจำนวน 162 ราย คัดแยกถูกต้องจำนวน 147 ราย คัดแยกต่ำกว่าความจริง 8 ราย ร้อยละ 5 คัดแยกสูงกว่าความจริงจำนวน 7 ราย คิดเป็นร้อยละ 4 

References

Christ, M, Goransson, F., Winter, D., Bingisser, R., Platz, E. (2010). Modern Triage in the Emergency Department Medicine 2010; 107 (50); 892 898.

กระทรวงสาธารณสุข. (2566). การวินิจฉัย ดูแลรักษาและป้องกันการติดเชื้อในโรงพยาบาล กรณีโรคติดเชื้อไวรัสโคโรนา 2019. สืบค้นวันที่ 20 สิงหาคม 2566 จากhttps://covid19.dms.go.th/backend/Content/Content_File/Covid_Health/Attach/2566041.

กระทรวงสาธารณสุข. (2563).มาตรการการดำเนินงาน เฝ้าระวัง ป้องกัน ควบคุมโรคติดเชื้อไวรัสโคโรนา 2019 สำหรับพัฒนา“สถานที่ทำงานต้านโควิด 19 ในฐานวิถีชีวิตใหม่ : New Normal”.สำนักพิมพ์อักษรกราฟฟิคแอนดีไซน์.

กระทรวงสาธารณสุข. (2561). MOPH ED. TRIAGE. สำนักวิชาการแพทย์ กรมการแพทย์ กระทรวงสาธารณสุข: นนทบุรี

เมตตา สุทธิพรไพศาลกุลและคณะ.(2566).ประสิทธิผลการใช้โปรแกรม Thabo Crown Prince Hospital Emergency Severity Index (TCPH ESI)ในการคัดแยกผู้ป่วย แผนกผู้ป่วยอุบัติเหตุฉุกเฉิน โรงพยาบาลสมเด็จพระยุพราชท่าบ่อ.วารสารการพยาบาลสุขภาพ และการศึกษา. ปีที่ 6 ฉบับที่ 1 (มกราคม-เมษายน 2566) Vol.6 No.1(January– April 2023).

อรวรรณ อุทัยมณีรัตน์. (2552). การจัดการความรู้เพื่อพัฒนาการปฏิบัติงานด้านกิจการนักศึกษา มหาวิทยาลัยนอร์ท-เชียงใหม่. (การค้นคว้าแบบอิสระศึกษาศาสตร์มหาบัณฑิต, มหาวิทยาลัยเชียงใหม่)

Chakravarti, Laha, and Roy, (1967). Handbook of Methods of Applied Statistics, Volume I, John Wiley and Sons, pp. 392-394.

อรพินทร์ ชูชม. (2552). การวิจัยกึ่งทดลอง.วารสารพฤติกรรมศาสตร์. ปีที่ 15 ฉบับที่ 1 กันยายน 2552.

Downloads

เผยแพร่แล้ว

2024-02-29