การพยาบาลผู้ป่วยไตวายเรื้อรังระยะสุดท้ายที่ได้รับการฟอกเลือดด้วยเครื่องไตเทียม และมีการติดเชื้อไวรัสตับอักเสบบี (Hepatitis B) : กรณีศึกษา 2 ราย

ผู้แต่ง

  • ณัฐพร ทองดี พยาบาลวิชาชีพชำนาญการ กลุ่มการพยาบาลงานรักษาพิเศษ โรงพยาบาลศูนย์สกลนคร

คำสำคัญ:

ผู้ป่วยโรคไตวายเรื้อรังระยะสุดท้าย, การฟอกเลือดด้วยเครื่องไตเทียม, การติดเชื้อไวรัสตับอักเสบบี

บทคัดย่อ

     การศึกษานี้เป็นกรณีศึกษามีวัตถุประสงค์เพื่อศึกษาแนวทางการพยาบาลผู้ป่วยโรคไตเรื้อรังที่ได้รับการฟอกเลือดด้วยเครื่องไตเทียมและมีการติดเชื้อไวรัสตับอักเสบบี (Hepatitis B) กรณีศึกษาผู้ป่วย 2 ราย โดยศึกษาในผู้ป่วยโรคไตเรื้อรังที่ได้รับการฟอกเลือดด้วยเครื่องไตเทียมและมีการติดเชื้อไวรัสตับอักเสบบี (Hepatitis B) ดำเนินการศึกษาและวางแผนการพยาบาลผู้ป่วยที่เข้ารับการรักษาในโรงพยาบาลสกลนคร ระหว่างปีงบประมาณ 2565 ถึง 2566 โดยทำการศึกษาจากประวัติและเวชระเบียนผู้ป่วย การรักษาพยาบาลที่ได้รับ เครื่องมือที่ใช้ในรวบรวมข้อมูล ประกอบด้วย 1) การสังเกตสัมภาษณ์ผู้ป่วยและญาติ 2) แบบบันทึกการพยาบาล และ 3) แบบบันทึกทางการพยาบาลของโรงพยาบาลสกลนคร กำหนดข้อวินิจฉัยการพยาบาลโดยใช้แนวคิดแบบแผนสุขภาพของของกอร์ดอน และแนวทางการวางแผนจำหน่าย DMETHOD มาวางแผนปฏิบัติการพยาบาลตามข้อวินิจฉัยทางการพยาบาล สรุปและประเมินผลลัพธ์ทางการพยาบาล
     ผลการศึกษา : กรณีศึกษาที่1 ผู้ป่วยชายไทย อายุ 36 ปี ไม่มีประวัติโรคประจำตัว มาโรงพยาบาลสกลนครในช่วงเดือนกันยายน 2565 ด้วยอาการมีแผลที่เท้า ติดเชื้อ ตรวจพบไวรัสตับอักเสบบีและไตวายระยะสุดท้ายได้รับการฟอกเลือดด้วยเครื่องไตเทียม ขณะที่นอนรักษาตัวได้รับการรักษาตามแผนการรักษาของแพทย์ และให้การรักษาด้วยการฟอกเลือดด้วยเครื่องไตเทียมต่อเนื่อง 2 ครั้ง/สัปดาห์ ที่โรงพยาบาลศูนย์สกลนคร มีการประเมินและให้การพยาบาลจากภาวะแทรกซ้อนติดเชื้อไวรัสตับอักเสบบี ตามแผนการรักษาของแพทย์และแผนการพยาบาล กรณีศึกษาที่ 2 ผู้ป่วยชายไทย อายุ 42 ปี ไม่มีประวัติโรคประจำตัว แพทย์ที่โรงพยาบาลชุมชนวินิจฉัยเป็นโรคความดันโลหิตสูงก่อนส่งตัวมารักษาต่อโรงพยาบาลสกลนครในช่วงเดือนกันยายน 2566 ส่งตัวมาด้วยถ่ายเหลวเป็นน้ำมากกว่า 10 ครั้ง อาเจียนเป็นเศษอาหารมากกว่า 10 ครั้ง ตรวจพบไวรัสตับอักเสบบีและไตวายระยะสุดท้ายได้รับการฟอกเลือดด้วยเครื่องไตเทียม ขณะที่นอนรักษาตัวได้รับการรักษาตามแผนการรักษาของแพทย์ และให้การรักษาด้วยการฟอกเลือดด้วยเครื่องไตเทียมต่อเนื่อง 2 ครั้ง/สัปดาห์ ที่โรงพยาบาลศูนย์สกลนคร ประเมินและให้การพยาบาลไม่มีภาวะแทรกซ้อนใดๆ

References

กองระบาดวิทยา. สรุปรายงานการเฝ้าระวัง โรคประจำปี 2562 Annual Epidemiological Surveillance Report 2019. นนทบุรี: กองระบาดวิทยา กรมควบคุมโรค กระทรวงสาธารณสุข.2562.

กองโรคเอดส์และโรคติดต่อทางเพศสัมพันธ์ กรมควบคุมโรค.การเปรียบเทียบการวัดความเพียงพอในการฟอกเลือดระหว่างการวัดโดยเครื่องไตเทียมประสิทธิภาพสูงแบบออนไลน์และการวัดแบบจำลองกลศาสตร์ ของยูเรีย ในผู้ป่วยโรคไตวายเรื้อรังระยะสุดท้ายที่ได้รับการฟอกเลือดด้วยเครื่องไตเทียม โรงพยาบาลธรรมศาสตร์เฉลิมพระเกียรติ.มหาวิทยาลัยธรรมศาสตร์: กรุงเทพฯ.2564.

คำแนะนําการให้วัคซีนป้องกันโรคสำหรับผู้ใหญ่และผู้สูงอายุ (Recommended Adult and Elderly Immunization Schedule). สมาคมโรคติดเชื้อแห่งประเทศไทย. 2561.

คณะอนุกรรมการการลงทะเบียนการบำบัดทดแทนไตในประเทศไทย(TRT) สมาคมโรคไตแห่งประเทศไทย.ข้อมูลการบำบัดทดแทนไตในประเทศไทย พ.ศ. 2559–2562. กรุงเทพฯ: สมาคมโรคไตแห่งประเทศไทย; 2563.

คณะอนุกรรมการกำหนดแนวทางการรักษาด้วยฟอกเลือดและการกรองพลาสม่า สมาคมโรคไตแห่งประเทศไทย. คู่มือการรักษา ด้วยฟอกเลือดและการกรองพลาสมาสำหรับ ผู้ป่วยโรคไต. กรุงเทพฯ : สมาคมโรคไตแห่งประเทศไทย; 2561.

แนวทางการดูแลรักษาผู้ป่วยไวรัสตับอักเสบ บี และ ซี เรื้อรังในประเทศไทยปี 2558. (Thailand Practice Guideline for Management of Chronic Hapatitis B and C 2015).สมาคมโรคตับแห่งประเทศไทย. 2558.

ชัชวาลย์วงค์สารีและพลตรีหญิง ดร.อรนันท์หาญยุทธ. การใช้กระบวนการพยาบาลในการดูแลผู้ป่วยไตวายระยะสุดท้ายที่ฟอกเลือดด้วยเครื่องไตเทียม. ว. พยาบาลตำรวจ 2557;6(2):220–233.

นงณภัทร รุ่งเนย. (2560). การประเมินสุขภาพแบบองค์รวม. (พิมพ์ครั้งที่ 2). นนทบุรี: โครงการสวัสดิการวิชาการสถาบันพระบรมราชชนก.

Downloads

เผยแพร่แล้ว

2024-02-29