การพยาบาลผู้ป่วยกระดูกสะโพกหักและมีโรคร่วมที่ได้รับการผ่าตัดเปลี่ยนข้อสะโพกเทียม: กรณีศึกษา 2 ราย

ผู้แต่ง

  • ศุภราภรณ์ สิริวาสการ พยาบาลวิชาชีพชำนาญการ โรงพยาบาลตรัง

คำสำคัญ:

กระดูกสะโพกหัก, ภาวะแทรกซ้อน, ข้อสะโพกเทียม, ผู้สูงอายุ

บทคัดย่อ

     การศึกษาแบบกรณีศึกษาครั้งนี้มีวัตถุประสงค์เพื่อศึกษาเปรียบเทียบแนวทางการพยาบาลผู้ป่วยผ่าตัดเปลี่ยนข้อสะโพกเทียมที่มีภาวะโรคร่วม 2 กรณีศึกษา ที่มารับการผ่าตัดเปลี่ยนข้อสะโพกเทียมในเดือนมีนาคม - เดือนเมษายน พ.ศ.2566 โดยใช้เครื่องมือบันทึกการพยาบาล การสัมภาษณ์ผู้ป่วยและครอบครัว วิเคราะห์เปรียบเทียบ ลักษณะประชากรอาการและอาการแสดง ปัญหาและการพยาบาล
     ผลการศึกษา พบว่า ข้อมูลทั่วไป เพศ อายุ สาเหตุของการมานอนโรงพยาบาล การวินิจฉัยโรค และโรคประจำตัวไม่แตกต่างกันแต่การดำเนินการของโรคร่วมแตกต่างกันโดยกรณีศึกษาที่ 1 มีปัจจัยเสี่ยงมากกว่า คือ เป็นผู้สูงอายุตอนปลายและมีโรคร่วมได้แก่โรคความดันโลหิตสูง ใช้การผ่าตัดเปลี่ยนข้อสะโพกเทียมแบบชนิดการผ่าตัดที่เปลี่ยนเฉพาะส่วนหัวกระดูกต้นขาโดยไม่ได้เปลี่ยนเบ้าหรือที่เรียกว่า hemiarthroplasty ส่วนผู้ป่วยกรณีศึกษาที่ 2 เป็นผู้สูงอายุตอนต้นและมีโรคร่วมได้แก่โรคความดันโลหิตสูงและไขมันในเลือดสูง แพทย์ทำการผ่าตัดเปลี่ยนข้อสะโพกเทียมชนิดการผ่าตัดที่เปลี่ยนเฉพาะส่วนหัวกระดูกต้นขาโดยไม่ได้เปลี่ยนเบ้าหรือที่เรียกว่า hemiarthroplastyเหมือนกัน มีปัญหาการพยาบาลใกล้เคียงกัน แต่เนื่องจากกรณีศึกษาที่ 1 เป็นผู้สูงอายุตอนปลายจึงและมีโรคร่วมจึงทำให้มีภาวะแทรกซ้อนหลังผ่าตัดได้แก่ ภาวะ AKI (Acute kidney injury) และภาวะซีดหลังผ่าตัด พยาบาลหอผู้ป่วยศัลยกรรมกระดูก จึงมีบทบาทสำคัญในการดูแลผู้ป่วยต้องมีการเสริมพลังและสร้างความมั่นใจให้กับญาติผู้ดูแล ในการดูแลผู้ป่วยที่บ้าน ทำให้ผู้ป่วยสามารถช่วยเหลือตนเองเดินได้ด้วย Pick up walker โดยมีญาติช่วยประคอง ทำให้ผู้ป่วยกลับบ้านได้เร็ว ญาติผู้ดูแลผู้ป่วยมีความมั่นใจในการดูแลผู้ป่วยต่อเนื่องที่บ้าน  ส่วนผู้ป่วยรายที่ 2 เป็นผู้สูงอายุวัยต้น สามารถช่วยเหลือตนเองได้มากกว่า  กรณีศึกษาที่ 1 นอนพักรักษาตัวในโรงพยาบาลรวม 15 วัน และกรณีศึกษาที่ 2 นอนพักรักษาตัวในโรงพยาบาลรวม 9 วัน

References

จอมศรี โพธิสาร. (2554). ภาวะหลอดเลือดดำลึกอุดตันในผู้ป่วยหลังผ่าตัดข้อเข้าและข้อสะโพก : ประเด็นท้าทาย ในการป้องกัน. วารสารชมรมพยาบาลออร์โธปิดิกส์ แห่งประเทศไทย, 16(1), 5-13

นรเทพ กุลโชติ. กระดูกหักและข้อเคลื่อนรอบข้อสะโพก. [เข้าถึงเมื่อ 17 พฤษภาคม. 2566]. เข้าถึงได้จาก: https://med.mahidol.ac.th/ortho/sites/default/files/public/file/pdf/Hip-fx.Dr_.Naratep.pdf

บวรฤทธิ์ จักรไพวงศ์ และคณะ. (2556). การตรวจร่างกายทางออร์โธปิดิกส์. พิมพ์ครั้งที่ 2. กรุงเทพฯ :

มรรยาท ณ นคร. (2558). การพยาบาลผู้ป่วยกระดูกหักที่ได้รับการยึดตรึงด้วยวัสดุภายในร่างกาย. พิมพ์ครั้งที่ 7.เชียงใหม่: นันทพันธ์พริ้นติ้ง.

วรรณี สัตยวิวัฒน์. การพยาบาลผู้ปุวยออร์โธปิดิกส์. กรุงเทพฯ: ห้างหุ้นส่วนจำกัด เอ็นพีเพรส; 2553.

สถาบันรับรองคุณภาพสถานพยาบาล (องค์การมหาชน).แนวปฏิบัติเพื่อการบริหารจัดการการผ่าตัดกระดูกข้อสะโพกหักในผู้สูงอายุ ฉบับ 25 พฤศจิกายน 2563. เอกสารอัดสำเนา

เสาวภา อินผา. คู่มือการพยาบาลผู้ปุวยที่ได้รับการผ่าตัดเปลี่ยนข้อสะโพกเทียม.2557. 51-74 อมรินทร์พริ้นติ้งแอนด์พับลิชชิ่ง.

อาศิส อุนนะนันท์.(2562).ตำรากระดูกข้อสะโพกหักในผู้สูงอายุ.พิมพ์ครั้งที่ 1.กรุงเทพฯ:สำนักพิมพ์ศิริราช คณะแพทย์ศาสตร์ศิริราชพยาบาล มหาวิทยาลัยมหิดล

Downloads

เผยแพร่แล้ว

2024-02-29