การพัฒนาแนวปฏิบัติการพยาบาลการเตรียมความพร้อมผู้รับบริการก่อนได้รับยาระงับความรู้สึก โรงพยาบาลเสลภูมิ
คำสำคัญ:
การเตรียมความพร้อมก่อนการได้รับยาระงับความรู้สึก, การระงับความรู้สึกบทคัดย่อ
การวิจัยเชิงปฏิบัติการ (Action Research)ครั้งนี้ มีวัตถุประสงค์เพื่อพัฒนาแนวปฏิบัติการพยาบาลการเตรียมความพร้อมผู้รับบริการก่อนได้รับยาระงับความรู้สึก โรงพยาบาลเสลภูมิ จังหวัดร้อยเอ็ด และผลลัพธ์ของการใช้แนวปฏิบัติการการเตรียมความพร้อมผู้รับบริการก่อนได้รับยาระงับความรู้สึก เก็บข้อมูลจากแบบสอบถามจากผู้มารับบริการผ่าตัดโดยได้รับยาระงับความรู้สึกที่โรงพยาบาลเสลภูมิ จำนวน 30 ราย และวิสัญญีพยาบาล จำนวน 5 คน ตั้งแต่วันที่ 15 ตุลาคม 2566 ถึง 30 พฤศจิกายน 2566 วิเคราะห์ข้อมูลโดยใช้สถิติร้อยละ ค่าเฉลี่ยและส่วนเบี่ยงเบนมาตรฐาน
ผลการวิจัยพบว่า ได้แนวปฏิบัติการพยาบาลจำนวน 3 แนวปฏิบัติ ได้แก่ 1. แนวปฏิบัติการพยาบาลการเตรียมความพร้อมด้านร่างกายผู้รับบริการใช้ยาระงับความรู้สึก 2. แนวปฏิบัติการพยาบาลการเตรียมความพร้อมด้านจิตใจผู้รับบริการใช้ยาระงับความรู้สึก 3. แนวปฏิบัติการพยาบาลการเตรียมความพร้อมด้านข้อมูลแก่ผู้รับบริการใช้ยาระงับความรู้สึก ผลลัพธ์การปฏิบัติตามแนวปฏิบัติการพยาบาลพบว่า คือ ก่อนแนวปฏิบัติการพยาบาลฯ ผู้มารับบริการผ่าตัดโดยได้รับยาระงับความรู้สึกที่โรงพยาบาลเสลภูมิ มีความวิตกกังวลก่อนการผ่าตัดระดับปานกลาง ร้อยละ 76.66 แต่เมื่อได้รับการปฏิบัติตามแนวปฏิบัติการพยาบาลฯพบว่า ไม่มีอาการและอาการแสดงของความวิตกกังวล ร้อยละ 100 ผู้รับบริการมีความพึงพอใจในระดับมาก ค่าเฉลี่ย 4.20 (S.D.= 0.58) ส่วนวิสัญญีพยาบาลพบว่ามีความพึงพอใจในระดับมาก ค่าเฉลี่ย 4.04 (S.D.= 0.08) มี
References
สำนักการพยาบาล กรมการแพทย์. (2559). มาตรฐานการพยาบาลในโรงพยาบาล. กรุงเทพมหานคร : โรงพิมพ์องค์การสงเคราะห์ทหารผ่านศึก.
Clerk, D.M., K., Salkovskis, P. M., Kirk, J. & Clarl, D.M, (Eds) .(1990). Cognition behavior theory for psychiatric problem. Oxford: Oxford University Press.
Bysshe JE. (1998). The effect of giving information to patients before surgery. Nursing (London), 3(30):36-39.
Phipps C.G., Long B.C. (1995). The patient undergoing surgery. In Long BC, Phipps WJ, Cassmeyer VL, editors. Adult-Nursing: A nursing process approach. London: Mosby.
Akildiz M, Aksoy Y, Kaydu A, Kacar CK, Sahin OF, Yildirim ZB. (2017). Effect of anaesthesia method on preoperative anxiety level in elective caesarean section surgeries. Turk J Anaesthesiol Reanim.
เวชระเบียนโรงพยาบาลเสลภูมิ. (2565). สถิติข้อมูลการบริการวิสัญญี โรงพยาบาลเสลภูมิ จังหวัดร้อยเอ็ด ปีงบประมาณ 2565. ร้อยเอ็ด: โรงพยาบาลเสลภูมิ.
กรมสุขภาพจิต. (2566). คู่มือแบบประเมินคัดกรองโรคจิตและปัญหาสุขภาพจิต [อินเทอร์เน็ต]. สุราษฎรธานี: กลุ่มภารกิจการพยาบาล โรงพยาบาลสวนสราญรมย์; 2563 [เข้าถึงเมื่อ 15 สิงหาคม 2566 ]. เข้าถึงได้จาก : URL: http://1.179.139.229/upload/2021-02-17-1010.pdf
Best, J.W. (1977). Research in Education. (3rd ed.) Englewood Cliffs, New Jersey: Prentice Hall.
Nicholls, M.E. & Wessells, V.G. (1977). Nursing standards and nursing process. Wakefield: Contemporary Publishing.
Mason.(1994) How to write meaningful standards of care. 3rd ed, New York: Delmar Publishers Inc.
ราชวิทยาลัยวิสัญญีแพทย์แห่งประเทศไทย. (2562). คำแนะนำทางเวชปฏิบัติในการประเมินผู้ป่วยก่อนการระงับความรู้สึก Practice Advisory for Pre-Anesthesia Evaluation [อินเทอร์เน็ต]. ประกาศของราชวิทยาลัยวิสัญญีแพทย์แห่งประเทศไทย. [เข้าถึงเมื่อ 10 สิงหาคม 2566]. เข้าถึงได้จาก : URL: https://www.rcat.org/_files/ugd/82246c_6386a015c1574075a50dff87cfc2b060.pdf.
Daniel John Doyle; Joseph Maxwell Hendrix; Emily H. Garmon. Author Information and Affiliations. American Society of Anesthesiologists Classification: National Library of Medicine (NIH) [อินเทอร์เน็ต].[ เข้าถึงเมื่อ 20 กรกฎาคม 2566 ] เข้าถึงได้จากhttps://www.ncbi.nlm.nih.gov/books/NBK441940/.
รัตนา เพิ่มเพ็ชร์ และ เบญจมาภรณ์ บุตรศรีภูมิ. (2559). บทบาทของพยาบาลห้องผ่าตัด: การให้ข้อมูลในการเยี่ยมผู้ป่วยก่อนและหลังผ่าตัด. รามาธิบดีพยาบาล, 20 (1): 9-20.
ขษีร์สิริ หงษ์วิไล. (2556). ผลลัพธ์ของแบบแผนการเตรียมความพร้อมในการดูแลผู้ป่วยที่ได้รับยาระงับความรู้สึก[ วิทยานิพนธ์] มปท: มหาวิทยาลัยคริสเตียน.
Herzberg, Frederick and Others. (1959). The Motivation of Work. New York: John Wiley & Sons.