บทบาทเจ้าพนักงานสาธารณสุขสังกัดสำนักงานสาธารณสุขจังหวัดระยอง ต่อการสนับสนุนการบังคับใช้กฎหมายเพื่อระงับเหตุรำคาญขององค์กรปกครองส่วนท้องถิ่น

ผู้แต่ง

  • อารี ควรเนตร สำนักงานสาธารณสุขจังหวัดระยอง

คำสำคัญ:

เจ้าพนักงานสาธารณสุข, สำนักงานสาธารณสุขจังหวัด, การบังคับใช้กฎหมายว่าด้วยการสาธารณสุข, เหตุรำคาญ

บทคัดย่อ

     การวิจัยนี้เป็นการวิจัยเชิงสำรวจวิเคราะห์ข้อมูลแบบผสมผสาน มีวัตถุประสงค์หลักเพื่อศึกษาบทบาทของเจ้าพนักงานสาธารณสุขสังกัดสำนักงานสาธารณสุขจังหวัดระยองต่อการสนับสนุนการบังคับใช้กฎหมายว่าด้วยการสาธารณสุขเพื่อระงับเหตุรำคาญขององค์กรปกครองส่วนท้องถิ่น ดำเนินการเก็บรวบรวมข้อมูลจากหน่วยงานในสังกัดสำนักงานสาธารณสุขจังหวัดระยองที่รัฐมนตรีว่าการกระทรวงสาธารณสุขประกาศแต่งตั้งให้เป็นเจ้าพนักงานสาธารณสุข ประกอบด้วย สำนักงานสาธารณสุขจังหวัด สำนักงานสาธารณสุขอำเภอ 8 แห่ง และโรงพยาบาล 8 แห่ง โดยใช้แบบสอบถามและเก็บรวบรวมข้อมูลทุติยภูมิผลการดำเนินงานของสำนักงานสาธารณสุขจังหวัด วิเคราะห์ข้อมูลเชิงคุณภาพและใช้สถิติ Fisher’s exact test เพื่อวิเคราะห์ความสัมพันธ์ระหว่างบทบาทการดำเนินงานของเจ้าพนักงานสาธารณสุขและประสิทธิผลการระงับเหตุรำคาญ
     ผลการศึกษาพบว่า หน่วยงานสังกัดสำนักงานสาธารณสุขจังหวัดระยองมีเจ้าพนักงานสาธารณสุขรวมจำนวน 52 คน โดยบทบาทการดำเนินงานของเจ้าพนักงานสาธารณสุขในการสนับสนุนการบังคับใช้กฎหมายขององค์กรปกครองส่วนท้องถิ่นเพื่อระงับเหตุรำคาญที่เกิดขึ้นระหว่างปี 2564 –2566 ซึ่งมีจำนวนข้อร้องเรียนที่ได้รับรวมทั้งสิ้น 193 เรื่อง เป็นบทบาทในการดำเนินการแจ้งข้อร้องเรียนเหตุรำคาญให้เจ้าพนักงานท้องถิ่นดำเนินการตามอำนาจหน้าที่ การลงพื้นที่ร่วมตรวจสอบข้อเท็จจริง การให้คำปรึกษาแนะนำในการปรับปรุงแก้ไข และการร่วมติดตามผลการแก้ไขปัญหาเหตุรำคาญ พบว่ามีประสิทธิผลสามารถระงับเหตุรำคาญได้สูงถึงร้อยละ 92.7 ของจำนวนข้อร้องเรียนทั้งหมด และพบว่าบทบาทการดำเนินงานของเจ้าพนักงานสาธารณสุขมีความสัมพันธ์กับประสิทธิผลการระงับเหตุรำคาญขององค์กรปกครองส่วนท้องถิ่นอย่างมีนัยสำคัญ (p-value<0.05) สำหรับการใช้อำนาจของเจ้าพนักงานสาธารณสุขตามมาตรา 46 วรรคหนึ่ง ซึ่งมีจำนวน 14 เรื่องส่วนใหญ่เป็นการดำเนินการโดยเจ้าพนักงานสาธารณสุขสังกัดสำนักงานสาธารณสุขจังหวัด ในขณะที่การใช้อำนาจของ เจ้าพนักงานสาธารณสุขตามมาตรา 46 วรรคสอง ไม่ปรากฏรายงานการใช้อำนาจดังกล่าว

References

กรมควบคุมมลพิษ. สถิติการร้องเรียนปัญหามลพิษ. [อินเตอร์เน็ต]. 2566 [สืบค้นเมื่อ 30 กันยายน 2566]. เข้าถึงจาก: https://www.pcd.go.th/stat.

ศูนย์ดำรงธรรมจังหวัดระยอง. ศูนย์ดำรงธรรมจังหวัดระยองเปิดเผยผลการแก้ปัญหาความเดือดร้อนประชาชน. [อินเตอร์เน็ต]. 2565 [สืบค้นเมื่อ 30 กันยายน 2566]. เข้าถึงจาก: https://thainews.prd.go.th/th/news/print_news/TCATG220502145547323.

กองกฎหมาย กรมอนามัย. ประกาศกระทรวงสาธารณสุข เรื่อง แต่งตั้งเจ้าพนักงานสาธารณสุขตามพระราชบัญญัติการสาธารณสุข พ.ศ. 2535 พ.ศ. 2562. [อินเตอร์เน็ต]. 2562 [สืบค้นเมื่อ 30 กันยายน 2566]. เข้าถึงจาก: https://laws.anamai.moph.go.th/th/doh-annuance/204279.

กองกฎหมาย กรมอนามัย. พระราชบัญญัติการสาธารณสุข พ.ศ. 2535. [อินเตอร์เน็ต]. 2560 [สืบค้นเมื่อ 30 กันยายน 2566]. เข้าถึงจาก: https://laws.anamai.moph.go.th/th/act-of-doh/204256.

ศูนย์บริหารกฎหมายสาธารณสุข กรมอนามัย. การศึกษาเพื่อประเมินผลการบังคับใช้กฎหมายตามประกาศกระทรวงสาธารณสุข เรื่อง แต่งตั้งเจ้าพนักงานสาธารณสุขตามพระราชบัญญัติการสาธารณสุข พ.ศ. 2535. [อินเตอร์เน็ต]. 2560 [สืบค้นเมื่อ 30 กันยายน 2566]. เข้าถึงจาก: https://laws.anamai.moph.go.th/th/cms-of-118/download/?did=201521&id=63761&reload.

กฤตน ชมภูรัตน์. การศึกษารูปแบบการจัดการอนามัยสิ่งแวดล้อมในจังหวัดเชียงใหม่: กรณีศึกษาการจัดการเหตุรำคาญ. [วิทยานิพนธ์สาธารณสุขศาสตรมหาบัณฑิต วิชาเอกการจัดการอนามัยสิ่งแวดล้อม]. ปทุมธานี: คณะสาธารณสุขศาสตร์ มหาวิทยาลัยธรรมศาสตร์;2563.

กรมอนามัย กระทรวงสาธารณสุข. รายงานสถานการณ์ด้านอนามัยสิ่งแวดล้อม พ.ศ. 2563. [อินเตอร์เน็ต]. 2564 [สืบค้นเมื่อ 30 กันยายน 2566]. เข้าถึงจาก:http://www.oic.go.th/FILEWEB/CABINFOCENTER17/DRAWER002/GENERAL/DATA0004/00004106.PDF.

คณะสาธารณสุขศาสตร์ มหาวิทยาลัยมหิดล. โครงการศึกษามาตรฐานเหตุรำคาญและประสิทธิผลการบังคับใช้กฎหมายว่าด้วยการสาธารณสุขในการควบคุมเหตุรำคาญขององค์กรปกครองส่วนท้องถิ่น. นนทบุรี: สำนักอนามัยสิ่งแวดล้อม กรมอนามัย;2562.

ปาริชาติ ฤกษ์พิพัฒน์พงศ์. การบังคับใช้กฎหมายสิ่งแวดล้อมในการจัดการปัญหาเหตุเดือดร้อนรำคาญ: กรณีศึกษาเหตุเดือดร้อนรำคาญ เทศบาลนครระยอง. [รายงานการค้นคว้าอิสระของการศึกษาตามหลักสูตรวิทยาศาสตรมหาบัณฑิต (การจัดการสิ่งแวดล้อม)]. กรุงเทพพฯ: คณะบริหารการพัฒนาสิ่งแวดล้อม สถาบันบัณฑิตพัฒนบริหารศาสตร์;2564.

สำนักอนามัยสิ่งแวดล้อม กรมอนามัย. คู่มือวิชาการ เรื่อง ระบบการจัดการเหตุรำคาญ. พิมพ์ครั้งที่ 4. กรุงเทพฯ: สำนักกิจการโรงพิมพ์องค์การสงเคราะห์ทหารผ่านศึก;2557.

ศุมล ศรีสุขวัฒนา. แนวทางการจัดการเหตุรำคาญสำหรับองค์กรปกครองส่วนท้องถิ่น. นนทบุรี: สำนักอนามัยสิ่งแวดล้อม กรมอนามัย;2562.

Downloads

เผยแพร่แล้ว

2024-02-29