ผลของโปรแกรมการวางแผนจำหน่ายผู้ป่วยโรคหลอดเลือดสมองตีบหรืออุดตันโรงพยาบาลหนองคาย

ผู้แต่ง

  • ระวิวรรณ์ โสชมภู พยาบาลวิชาชีพชำนาญการ โรงพยาบาลหนองคาย
  • นภาวรรณ มิ่งวงษ์ยาง พยาบาลวิชาชีพชำนาญการ โรงพยาบาลหนองคาย

คำสำคัญ:

โปรแกรมการวางแผนจำหน่าย, ผู้ป่วยที่มีภาวะโรคหลอดเลือดสมอง, ความพร้อมของญาติผู้ดูแลผู้ป่วยที่มีภาวะโรคหลอดเลือดสมอง

บทคัดย่อ

     การวิจัยนี้เป็นการวิจัยกึ่งทดลองมีวัตถุประสงค์เพื่อเปรียบเทียบจำนวนวันนอนและการกลับเข้ารักษาในโรงพยาบาลภายใน 28 วัน และเปรียบเทียบความรู้ของผู้ดูแลผู้ป่วยก่อนและหลังการใช้โปรแกรมการวางแผนจำหน่ายผู้ป่วยที่มีภาวะโรคหลอดเลือดสมองและความพร้อมของผู้ดูแล โรงพยาบาลหนองคาย กลุ่มตัวอย่างมีจำนวน 60 คนและต้องมีผู้ดูแล เลือกกลุ่มตัวอย่างแบบเจาะจง เริ่มเก็บข้อมูลในช่วงเดือนตุลาคม 2566 – ธันวาคม 2566 เครื่องมือที่ใช้ในการเก็บรวบรวมข้อมูลมี 2 ชุด คือ แบบบันทึกข้อมูลส่วนบุคคลของผู้ป่วยและผู้ดูแล และแบบทดสอบความรู้ของผู้ดูแล ตรวจสอบความเที่ยงโดยใช้สูตร KR 21 ได้เท่ากับ 0.9 วิเคราะห์ข้อมูลด้วย ร้อยละ ค่าเฉลี่ย ค่าเบี่ยงเบนมาตรฐานการทดสอบที (t-test)
     ผลการวิจัยพบว่าค่าเฉลี่ยความรู้ของผู้ดูแลภายในกลุ่มทดลองและระหว่างกลุ่ม ทั้งก่อนและหลังการใช้โปรแกรมการวางแผนจำหน่าย พบว่า กลุ่มทดลองมีความรู้เพิ่มขึ้นมากกว่ากลุ่มควบคุมอย่างมีนัยสำคัญทางสถิติที่ระดับ .05 การกลับเข้ารักษาในโรงพยาบาลของผู้ป่วยโรคหลอดเลือดสมองหลังการใช้โปรแกรมการวางแผนจำหน่ายตามแนวทางการดูแลรักษาผู้ป่วยโรคหลอดเลือดสมองของกลุ่มทดลอง มีจำนวนลดลงกว่ากลุ่มควบคุมอย่างมีนัยสำคัญทางสถิติที่ระดับ .05

References

สถาบันประสาทวิทยา, แนวทางการฟื้นฟูสมรรถภาพผู้ป่วยโรคหลอดเลื่อดสมองฉบับปรับปรุงครั้งที่ 3, ed. พ. 1. 2559, กรุงเทพา: บริษัท ธนาเพรส จำกัด.

Naylor M, Shaid EC, Carpenter D, Gass B, Levine C, Li J, et al. Components of comprehensive and effective transitional Care. J Am GeriatrSoc [internet]. 2017

Archbold PJ, Stewart BJ. Family Caregiving Inventory [Unpublished manuscript]Portland: Oregon Health Sciences University; 1986.

สุทธิชัย จิตะพันธ์กุล, และคณะ. การวิเคราะห์ผู้สูงอายุ. ใน สุทธิชัย จิตะพันธ์กุล (บก.), หลักสำคัญ ของเวชศาสตร์ผู้สูงอายุ (หน้า 85-86). กรุงเทพฯ: โรงพิมพ์แห่งจุฬาลงกรณ์มหาวิทยาลัย;2544.

Bamrasnaradura Infectious Diseases Institute. Guide to diagnosis of infections in hospitals. Bangkok: Aksorngraphic & desing; 2018

Haesler E, et al. Prevention and treatment of pressure ulcers: reference guidelines [internet]. 3nd ed. EPUAP/ NPIAP/PPPIA: 2019[cited in 2021 March 29]. Available from: https://www.epuap.org/wp-content/ uploads/2021/04/qrg-2019-thai-04-21.pdf [cited 2021/11/9].65;1119-1125. Available from: https://www.researchgate.net/publication/ 315776473

กระทรวงสาธารณสุข (ร่าง) Intermediate care service plan กระทรวงสาธารณสุข คณะทำงานโครงการพัฒนางานการดูแลผู้ป่วยระยะฟื้นฟู (Subacute Rehabilitation)wศ. 2558 2559

การพัฒนางานการดูแลผู้ป่วยระยะฟื้นฟู(Subacute Rehabitation) และถอดบทเรียนการดำเนินงานในสังกัดกระทรวงสาธารณสุข และถอดบทเรียนการดำเนินงาน ในสังกัดกระทรวงสาธารณสุข. 2559, สมาคมเวชศาสตร์ฟื้นฟูแห่งประเทศไทย: กรุงเทพฯ.

รัชวรรณ สุขเสถียร, การเข้าถึงบริการเวชกรรมฟื้นฟูโรคหลอดเลือดสมองระยะเฉียบพลันแบบผู้ป่วยใน ณ โรงพยาบาลมหาราชนครราชสีมา :ปัจจัยที่เกี่ยวข้องและผลลัพธ์. J Thai Rehabil Med, 2014. 24(2):

Budratana S. Effects of discharge preparedness program among primary caregivers of patients with ischemic stroke in NongBuaLamphu Hospital. Nursing, Health, and Education Journal 2020; 3: 56-64. (in Thai)

De Wit, L., et al., Motor and functional recovery after stroke: a comparison of 4 European rehabilitation centers. Stroke, 2007. 38(7): p. 2101-7. p. 37-43.

Boonchuwong O, Saneha C, Pinyopasakul W, Nilanont Y. Factors influencing readiness of caregivers of patients with stroke before hospital discharge. Journal of Nursing Science 2017; 35: 46-5. (in Thai)

Downloads

เผยแพร่แล้ว

2024-02-29