การพัฒนาเครื่องฉายรังสี UV-C ในคลินิกแพทย์แผนไทยสำหรับลดการปนเปื้อนเชื้อจุลินทรีย์ในวัตถุดิบพืชสมุนไพรที่ใช้ทำยา กรณีศึกษา ขมิ้นชัน
คำสำคัญ:
รังสี UV-C, การปนเปื้อน, เชื้อจุลินทรีย์, วัตถุดิบพืชสมุนไพร, ขมิ้นชันบทคัดย่อ
การศึกษานี้เพื่อพัฒนาเครื่องฉายรังสี UV-C ในคลินิกแพทย์แผนไทยสำหรับใช้ในการลดการปนเปื้อนเชื้อจุลินทรีย์ในวัตถุดิบพืชสมุนไพร และตรวจสอบคุณภาพทางยาของวัตถุดิบพืชสมุนไพรภายหลังการฉายรังสี UV-C ในตัวอย่างขมิ้นชัน โดยเริ่มจากศึกษาความรู้เกี่ยวกับรังสี UV-C เพื่อนำมาออกแบบและผลิตเครื่องฉายรังสี UV-C จากนั้นทำการทดสอบประสิทธิภาพของเครื่องฉายรังสี UV-C ในการลดการปนเปื้อนเชื้อจุลินทรีย์ในขมิ้นชัน ตรวจสอบลายพิมพ์นิ้วมือ (Fingerprint) ด้วยวิธี Thin layer chromatography ตรวจสอบปริมาณสารสำคัญ ได้แก่ ปริมาณสารประกอบฟีนอลิกรวมและสารประกอบฟลาโวนอยด์รวม พร้อมทั้งตรวจสอบฤทธิ์ชีวภาพเบื้องต้น ได้แก่ ฤทธิ์ต้านอนุมูลอิสระด้วยวิธี DPPH และ ABTS assay ในขมิ้นชันที่ผ่านการฉายรังสี UV-C เทียบกับขมิ้นชันที่ไม่ผ่านการฉายรังสี UV-C จากการศึกษาความรู้เกี่ยวกับรังสี UV-C ที่มีผลต่อการลดการปนเปื้อนเชื้อจุลินทรีย์ สามารถออกแบบและผลิตเครื่องฉายรังสี UV-C ในลักษณะตู้ฉายแบบอุโมงค์รูปวงรี ที่ผลิตจากโลหะที่รังสี UV-C ไม่สามารถทะลุทะลวงออกมายังผู้ใช้งานได้ มีระบบควบคุมการปิด-เปิดภายนอกตู้ มีระบบสายพานทำให้วัตถุดิบพืชสมุนไพรสามารถเคลื่อนที่ได้ จึงทำให้รังสี UV-C สามารถสัมผัสกับวัตถุดิบพืชสมุนไพรได้อย่างทั่วถึง ภายในเครื่องฉายรังสี UV-C มีจำนวนหลอด UV-C และ UV dose ที่เพียงพอต่อการฆ่าเชื้อจุลินทรีย์ เมื่อทำการทดสอบประสิทธิภาพของเครื่องฉายรังสี UV-C พบว่าสามารถลดการปนเปื้อนเชื้อราและเชื้อ Clostridium spp. ที่พบในขมิ้นชันได้ นอกจากนี้ยังพบว่าลายพิมพ์นิ้วมือ (Fingerprint) ของขมิ้นชันที่ผ่านและไม่ผ่านกระบวนการฉายรังสี UV-C ไม่แตกต่างกัน รวมถึงปริมาณสารประกอบฟีนอลิกรวมและสารประกอบฟลาโวนอยด์รวม และฤทธิ์ต้านอนุมูลอิสระไม่แตกต่างกันในขมิ้นชันที่ผ่านและไม่ผ่านกระบวนการฉายรังสี UV-C ดังนั้นเครื่องฉายรังสี UV-C สามารถลดการปนเปื้อนเชื้อจุลินทรีย์ในขมิ้นชันได้ โดยไม่มีผลต่อคุณภาพทางยาของขมิ้นชัน
References
กรมพัฒนาการแพทย์แผนไทยและการแพทย์ทางเลือก. กระทรวงสาธารณสุข. ข้อกำหนดคุณภาพสมุนไพร (Monograph) [อินเตอร์เน็ต]. 2562. [สืบค้นเมื่อ 10 ธ.ค. 66]. เข้าถึงจาก: https://www.phonabon.go.th/
ศูนย์วิทยาศาสตร์การแพทย์ที่ 9. การประเมินความเสี่ยงด้านคุณภาพและความปลอดภัยของสมุนไพรด้านการปนเปื้อนเชื้อจุลินทรีย์ [อินเตอร์เน็ต]. 2554. [สืบค้นเมื่อ 23 ต.ค. 66]. เข้าถึงจาก: https://cloud.dmsc.moph.go.th/itc/annual_report/pdf/2559/59-9.pdf
เชาวลิต มณฑล. การฉายรังสีแกมมา: กระบวนการทําไรเชื้อสําหรับผลิตภัณฑสมุนไพร. วารสารไทยไภษัชยนิพนธ์ 2566; 8(1):41-54.
กองวัณโรค. กรมควบคุมโรค. กระทรวงสาธารณสุข. แนวทางการใช้ UV ทำลายเชื้อโรค [อินเตอร์เน็ต]. 2562. [สืบค้นเมื่อ 20 พ.ย. 66]. เข้าถึงจาก: https://www.tbthailand.org/
สำนักงานสาธารณสุขจังหวัดเชียงใหม่, คณะเภสัชศาสตร์ มหาวิทยาลัยเชียงใหม่และศูนย์วิทยาศาสตร์การแพทย์ที่ 1 เชียงใหม่. คู่มือการแปรรูปวัตถุดิบสมุนไพร. เชียงใหม่: สำนักงานสาธารณสุขจังหวัดเชียงใหม่; 2556.
พรพรรณ ก้อใจ, เกียรติภูมิ ลาภภิญโญ และจักรกฤษณ์ คณารีย์. การศึกษาการปนเปื้อนโลหะหนักและเชื้อจุลินทรีย์ในดีปลีที่เพาะปลูกในพื้นที่จำกัด. วารสารวิจัยและส่งเสริมวิชาการเกษตร 2566; 40(3):43-54.
พรพรรณ ก้อใจ, ศิวพงษ์ ตันสุวรรณวงค์, กันยานุช เทาประเสริฐ, ยิ่งยง เทาประเสริฐ และจักรกฤษณ์ คณารีย์. การนำเทคนิคโครมาโทกราฟีแบบชั้นบางมาปรับใช้ในกระบวนการตรวจสอบคุณภาพ พืชสมุนไพรของแพทย์แผนไทย (กรณีศึกษาขมิ้นชัน). รายงานสืบเนื่องจากการประชุมวิชาการพะเยาวิจัย ครั้งที่ 9; 2563 ม.ค. 23-24; พะเยา.
Tonin LT, de Oliveira TF, de Marco IG, Palioto GF and Düsman E. Bioactive compounds and antioxidant, antimicrobial and cytotoxic activities of extracts of Curcuma longa. J Food Meas Charact 2021;15:3752-3760.
Chumphukam O, Pintha K, Khanaree C, Chewonarin T, Chaiwangyen W, Tantipaiboonwong P, et al. Potential anti-mutagenicity, antioxidant, and anti-inflammatory capacities of the extract from perilla seed meal. J Food Biochem 2018;42(11):e12556.
Min B, McClung AM and Chen MH. Phytochemicals and antioxidant capacities in rice brans of different color. J Food Sci 2011;76(1):C117-126.
Wu Q, Er-Bu A, Liang X, Luan S, He C, Yin L, et al. Determination of the main naphthoquinones in Onosma hookeri Clarke. var. longiforum Duthie and its optimization of the ultrasound-assisted extraction using response surface methodology. J Food Sci 2020;86(2):357-365.
Abbasi BH, Khan T, Khurshid R, Nadeem M, Drouet S and Hano C. UV-C mediated accumulation of pharmacologically significant phytochemicals under light regimes in in vitro culture of Fagonia indica (L.). Sci Rep 2021;11(1):679.
Takeda F, Janisiewicz W, Short B, Leskey T and Stager A. Ultraviolet-C (UV-C) for disease and pest management and automating UV-C delivery technology for strawberry. Acta Hortic 2021;1309:533-542.
กองยา. สำนักงานคณะกรรมการอาหารและยา. กระทรวงสาธารณสุข. หลักเกณฑ์การพิจารณาขึ้นทะเบียนตำรับยาแผนโบราณเกี่ยวกับมาตรฐานการปนเปื้อนเชื้อจุลินทรีย์และโลหะหนัก [อินเตอร์เน็ต]. 2566. [สืบค้นเมื่อ 15 พ.ย. 66]. เข้าถึงจาก: www.fda.moph.go.th/sites/drug/download/manual-herbal-medicines.pdf
ผกากรอง วนไพศาล. การฆ่าเชื้อด้วยรังสียูวีซี (UVC) [อินเตอร์เน็ต]. 2563. [สืบค้นเมื่อ 9 ธ.ค. 66]. เข้าถึงจาก: https://pharmacy.mahidol.ac.th
พรพรรณ ก้อใจ, ศิวพงษ์ ตันสุวรรณวงค์, กันยานุช เทาประเสริฐ, ยิ่งยง เทาประเสริฐ และจักรกฤษณ์ คณารีย์. ภูมิปัญญาในการตรวจสอบพืชสมุนไพรอย่างร่วมสมัย. รายงานสืบเนื่องจากการประชุมวิชาการระดับชาติและนานาชาติ ครั้งที่ 6 มหาวิทยาลัยภาคตะวันออกเฉียงเหนือ; 2562 ก.ค. 20; ขอนแก่น.
Alafiatayo AA, Syahida A and Mahmood M. Total anti-oxidant capacity, flavonoid, phenolic acid and polyphenol content in ten selected species of Zingiberaceae rhizomes. Afr J Tradit Complement Altern Med 2014;11(3):7-13.