การพัฒนาแนวปฏิบัติการเฝ้าระวังการติดเชื้อระบบทางเดินปัสสาวะในผู้ป่วยคาสายสวนปัสสาวะ หอผู้ป่วยใน โรงพยาบาลท่าอุเทน จังหวัดนครพนม
คำสำคัญ:
การพัฒนาแนวปฏิบัติ, การเฝ้าระวังการติดเชื้อ, ผู้ป่วยคาสายสวนปัสสาวะบทคัดย่อ
การวิจัยเชิงปฏิบัติการนี้ มีวัตถุประสงค์เพื่อพัฒนาและประเมินผลของการพัฒนาแนวปฏิบัติการเฝ้าระวังการติดเชื้อระบบทางเดินปัสสาวะในผู้ป่วยคาสายสวนปัสสาวะ หอผู้ป่วยใน โรงพยาบาลท่าอุเทน จังหวัดนครพนม ระยะเวลาตั้งแต่เดือนตุลาคม 2566 - มกราคม 2567 กลุ่มตัวอย่างเป็นผู้ป่วยคาสายสวนปัสสาวะที่นอนรักษาตัวในโรงพยาบาลท่าอุเทน จำนวน 20 คน ในช่วงเดือน ตุลาคม 2566 ถึง มกราคม 2567 สมัครใจเข้าร่วมโครงการ เครื่องมือที่ใช้ในการวิจัย ได้แก่ แบบสอบถามความคิดเห็นของพยาบาลวิชาชีพ และแบบบันทึกการเฝ้าระวังการติดเชื้อที่ระบบทางเดินปัสสาวะ (UTI/ CAUTI) สถิติที่ใช้ในการวิเคราะห์ข้อมูลคุณลักษณะส่วนบุคคลและตัวชี้วัดที่กำหนดขึ้น ได้แก่ ความถี่ ร้อยละ ค่าเฉลี่ย () ค่าเบี่ยงเบนมาตรฐาน (S.D.) วิเคราะห์เปรียบเทียบคะแนนเฉลี่ยประสิทธิภาพการนำไปใช้ของแนวปฏิบัติการเฝ้าระวังการติดเชื้อระบบทางเดินปัสสาวะ หลังการพัฒนาแนวปฏิบัติการเฝ้าระวังการติดเชื้อในระบบทางเดินปัสสาวะเทียบกับเกณฑ์ (2.40 คะแนน หรือ ร้อยละ 80.00) โดยใช้สถิติ paired t - test และวิเคราะห์ข้อมูลเชิงคุณภาพ โดยการวิเคราะห์เนื้อหา (Content analysis)
ผลการวิจัยพบว่า 1. ผลเชิงกระบวนการ 1.1 มีแนวปฏิบัติการเฝ้าระวังการติดเชื้อระบบทางเดินปัสสาวะในผู้ป่วยคาสายสวนปัสสาวะที่ง่ายต่อการนำไปใช้ CAUTI BUNDLE 1.2 มีแนวปฏิบัติการดูแลผู้ป่วยคาสายสวนปัสสาวะ (CA-UTI) เกิน 48 ชั่วโมงและภายใน 2 วันหลังถอดสายสวนปัสสาวะ 2. ผลเชิงผลลัพธ์ 2.1 หลังการพัฒนาแนวปฏิบัติการเฝ้าระวังการติดเชื้อระบบทางเดินปัสสาวะในผู้ป่วยคาสายสวนปัสสาวะ พบว่า ไม่พบอัตราการติดเชื้อระบบทางเดินปัสสาวะจากการคาสายสวนปัสสาวะ ไม่พบการเกิดภาวะแทรกซ้อน ไม่มี refer และไม่มีอุบัติการณ์การเสียชีวิต 2.2 ผลการประเมินประสิทธิภาพการนำไปใช้ของแนวปฏิบัติการเฝ้าระวังการติดเชื้อระบบทางเดินปัสสาวะในผู้ป่วยคาสายสวนปัสสาวะ อยู่ในระดับสูง 89.47 ( = 2.84, S.D.= 0.29) 2.3 หลังการพัฒนาแนวปฏิบัติ มีคะแนนเฉลี่ยประสิทธิภาพการนำไปใช้ของแนวปฏิบัติการเฝ้าระวังการติดเชื้อระบบทางเดินปัสสาวะในผู้ป่วยคาสายสวนปัสสาวะ สูงกว่าเกณฑ์อย่างมีนัยสำคัญทางสถิติ (p< 0.01)
References
Dudeck, M. A., Weiner, L. M., Allen-Bridson, K., Malpiedi, P. J.. Peterson, K. D..Pollock, D. A., ... Edwards, J. R. National Healthcare Safety Network (NHSN) Report, Data Summary for 2012, Device-associated Module. American Journal of Infection Control, 41(12): 1148-1166; 2013.
อะเคื้อ อุณหเลขกะ, สุขาดา เหลืองอาภาพงศ์, และ จิตตาภรณ์ จิตรีเชื้อ. การป้องกันการติดเชื้อดื้อยาในหออภิบาลผู้ป่วย. สถาบันวิจัยระบบสาธารณสุข; 2557.
Lee, J. H., Kim, S. W.. Yoon, B. I., Ha, U. S., Sohn, D. W., & Cho, Y.-H. Factors That Affect Nosocomial Catheter-Associated Urinary Tract Infection in Intensive Care Units: 2-Year Experience at a Single Center, Korean Journal of Urology, 54(1): 59-65; 2013.
Tsuchida, T., Makimoto, K., Toki, M.. Sakai, K., Onaka, E.. & Otani, Y. The effectiveness of a nurse-Initiated intervention to reduce catheter-associated bloodstream infections in an urban acute hospital: An intervention study with before and after comparison. International Journal of Nursing Studies, 44(8): 1324-33; 2007.
ปัทมา วงษ์กี้ยู้. ผลของโปรแกรมส่งเสริมการใช้แนวปฏิบัติทางคลินิกต่อการปฏิบัติของพยาบาลวิชาชีพและการติดเชื้อในระบบทางเดินปัสสาวะที่สัมพันธ์กับการคาสายสวนปัสสาวะ ของผู้ป่วยในหอผู้ป่วยวิกฤตทางอายุรกรรม. [วิทยานิพนธ์ปริญญามหาบัณฑิต]. มหาวิทยาลัยนเรศวร; 2563.
กาญจนา ชวนไชยสิทธิ์, กิตติรัตน์ สสัสติวัดษ์, และ ศันสนีย์ ชัยบุตร. การพัฒนาระบบการพยาบาลเพื่อป้องกันและควบคุมการติดเชื้อระบบทางเดินปัสสาวะในผู้ป่วยที่ได้รับการใส่คาสายสวนปัสสาวะ. วารสารการพยาบาลและการดูแลสุขภาพ, 36(1): 224-233; 2561.
วชิราภรณ์ พึ่งศรีเพ็ง. การติดเชื้อระบบทางเดินปัสสาวะของผู้ป่วยที่คาสายสวนปัสสาวะในหอผู้ป่วยวิกฤติโรงพยาบาลแห่งหนึ่ง [วิทยานิพนธ์ปริญญามหาบัณฑิต]. มหาวิทยาลัยธรรมศาสตร์; 2561.
เยาวลักษณ์ อโณทยานนท์. ปัจจัยที่มีผลต่อการติดเชื้อระบบทางเดินปัสสาวะที่สัมพันธ์กับการใส่คาสายสวนปัสสาวะ โรงพยาบาลตติยภูมิ. วารสารพยาบาลตำรวจ. 12(1): 48-57; 2563.
ทิวากร กล่อมปัญญา, และ ดลวิวัฒน์ แสนโสม. ผลการใช้แนวปฏิบัติทางการพยาบาลในการป้องกันการติดเชื้อทางเดินปัสสาวะที่สัมพันธ์กับการใส่สายสวนปัสสาวะต่อผลลัพธ์ที่คัดสรร. วารสารพยาบาลศาสตร์และสุขภาพ. 41(4): 34-43; 2561.