การวางแผนจําหน่ายผู้ป่วยโรคจิตเภทที่ใช้สารเสพติดระยะต่อเนื่องโดยการมีส่วนร่วมของผู้ดูแล

ผู้แต่ง

  • คณิวรรณ ภูษา พยาบาลวิชาชีพชำนาญการ หอผู้ป่วยภูมิจิต กลุ่มการพยาบาล โรงพยาบาลหนองคาย
  • ณัชมนพรรณ ปลื้มรุ่งโรจน์ พยาบาลวิชาชีพชำนาญการ หอผู้ป่วยภูมิจิต กลุ่มการพยาบาล โรงพยาบาลหนองคาย

คำสำคัญ:

รูปแบบการวางแผนจําหน่าย, ผู้ป่วยโรคจิตเภทที่ใช้สารเสพติด, การมีส่วนร่วมของผู้ดูแล

บทคัดย่อ

     การวิจัยนี้เป็นวิจัยกึ่งทดลอง เพื่อพัฒนารูปแบบการวางแผนจําหน่ายผู้ป่วยโรคจิตเภทที่ใช้สารเสพติดระยะต่อเนื่องโดยการมีส่วนร่วมของผู้ดูแล และเพื่อศึกษาความแตกต่างของการผิดนัดการรักษาและการขาดยาในผู้ป่วยจิตเวชก่อนและหลังการใช้รูปแบบการวางแผนจำหน่ายฯ ระหว่างกลุ่มควบคุมและกลุ่มทดลอง กลุ่มตัวอย่างเป็นผู้ป่วยโรคจิตเภทและผู้ดูแลที่เข้ารับการรักษาในหอผู้ป่วยภูมิจิต โรงพยาบาลหนองคาย ระหว่างเดือนตุลาคม 2566 - เดือนธันวาคม 2566 จำนวน 60 ราย แบ่งเป็นกลุ่มทดลอง 30 ราย และกลุ่มควบคุม 30 ราย เครื่องมือที่ใช้เก็บข้อมูล ได้แก่ แบบสอบถามข้อมูลทั่วไป และแบบประเมินพฤติกรรมการใช้ยาตามเกณฑ์การรักษา หาความตรงของเนื้อหาได้ค่า CVI=0.91 และหาค่าความเชื่อมั่น ได้ค่าสัมประสิทธิ์แอลฟาของครอนบาค=0.85 วิเคราะห์ข้อมูลโดยใช้สถิติบรรยาย สถิติทดสอบ t-test และ Mann-Whitney U test
     ผลการวิจัยพบว่า รูปแบบการวางแผนจําหน่ายฯ ประกอบด้วย 4 กิจกรรม ได้แก่ 1) สร้างความตระหนักในการดูแลผู้ป่วย 2) สร้างองค์ความรู้และเสริมสร้างความมั่นใจ 3) ส่งเสริมความร่วมมือ และ 4) ติดตามดูแลต่อเนื่อง หลังจากเข้าร่วมโปรแกรม กลุ่มทดลองมีจำนวนครั้งการผิดนัดการรักษาลดลงมากกว่ากลุ่มควบคุมอย่างมีนัยสำคัญทางสถิติ (p<0.01) และหลังเข้าโปรแกรมฯ กลุ่มทดลองมีคะแนนเฉลี่ยการรับประทานยาจากการติดตามครั้งที่ 1, 2 และ 3 สูงกว่ากลุ่มควบคุมอย่างมีนัยสำคัญทางสถิติที่ p<0.05

References

Jenner, L., Kanavanagh, D. J., Greenway, L., & Saunders, J. B. (1998). Dual diagnosis Consortium 1998 report. Brisbane: Dual Diagnosis Consortium.

Jabensky, A., McGrath, J., & Herrman, H. (1999). People living with psychotic illness; An Australian study 1997-98. National Mental Health Strategy, Commonwealth Department of Health and Aged Care.

ธวัชชัย ลีฬหานาจ. ระบาดวิทยาของโรคติดสารเสพติด, โรคจิตเวชที่เกิดร่วมกับโรคติดสารเสพติดและ ความผิดปกติที่เกิดจากการใช้สารเสพติด. ในพิชัย แสง ชาญชัย, พงศธร เนตราคม และนวพร หิรัญวิวัฒน์กุล, 4. กรมสุขภาพจิต. (2557). เอกสารประกอบการประชุมปฏิบัติการพัฒนาศักยภาพผู้ปฏิบัติงานเพื่อขับเคลื่อนการดําเนินงานระบบสุขภาพจิตและจิตเวชระยะที่ 2. วันที่ 15- 16 กันยายน 2557. นนทบุรี: โรงแรมริชมอนด์.

ฐานันดร์ ปิยศิริศิลป์. (2557). โรคจิตเภทที่ใช้สารเสพติดร่วม. เอกสารประกอบการบรรยาย การประชุมวิชาการนานาชาติครั้งที่ 13. 2557. เชียงใหม่: กรมสุขภาพจิต.บรรณาธิการ. ตำราจิตเวชศาสตร์การติดสารเสพติดกรุงเทพมหานคร: สำนักงาน ป.ป.ส; 2549. หน้า 3-115.

สมภพ เรืองตระกูล. ตำราจิตเวชศาสตร์พื้นฐานและโรค ทางจิตเวช.(พิมพ์ครั้งที่ 2) กรุงเทพมหานคร: เรือนแก้วการพิมพ์.2553.

พิชัย แสงชาญชัย. (2549). หลักการประเมินและการเข้าถึงผู้ป่วยติดสารเสพติดและการสัมภาษณ์และการบําบัดเพื่อเสริมสร้างแรงจูงใจ. ในพิชัย แสงชาญชัย, พงศธร เนตราคม และนวพร หิรัญวิวัฒน์กุล (บรรณาธิการ), ตําราจิตเวชศาสตร์ การติดสารเสพติด (หน้า77-163). กรุงเทพมหานคร:สํานักงาน ป.ป.ส.

ปัทมา ศิริเวช. (2552). การฟื้นฟูสมรรถภาพทางจิตสังคม ใน พิเชษฐ อุดมรัตน์ และสรยุทธ วาสิกนานนท์.ตําราโรคจิตเภท (หน้า 305- 316). สงขลา: ชานเมืองการพิมพ์.

Suzuki, Y. (2003). Associated factors of rehospitalization among schizophrenic patients. Psychiatric Clinical Neurosis, 57, 555-561.14-1158(046-060)4.indd 6010/30/141:41:11 AM

Bandura A. (1997). Self-efficacy: The exercise of control. New York: W.H. Freeman.

Cheng KD, Huang CJ, Tsang HY, Lin CH. (2014). Factors related to missed first appointments after discharge among patients with schizophrenia in Taiwan. J Formos Med Assoc;113(7) :436-441.doi:10.1016/j.jfma.2012.09.016

พรทิพย์ วัชรดิลก, ธีระ ศิริสมุด, สินีนุช ชัยสิทธิ์, อนุชา เศรษฐเสถียร. (2559). การคัดแยกผู้ป่วยของแผนกอุบัติเหตุ-ฉุกเฉินในประเทศไทย; วารสารสภาการพยาบาล;31(2):96-108.

สรินทร เชี่ยวโสธร. (2545). ผลของการเสริมสร้างพลังอำนาจในผู้ป่วยจิตเภทต่อพฤติกรรมการใช้ยาตามเกณฑ์การรักษา. [วิทยานิพนธ์พยาบาลศาสตร์มหาบัณฑิต สาขาวิชาการพยาบาลสุขภาพจิตและจิตเวช]. กรุงเทพฯ: จุฬาลงกรณ์มหาวิทยาลัย.

เยาวภา ไตรพฤกษชาติ. (2554). การเสริมสร้างแรงจูงใจในการรักษาด้วยยาในผู้ป่วยโรคจิตเภทโรงพยาบาลจิตเวชขอนแก่นราชนครินทร์. [การศึกษาอิสระปริญญาพยาบาลศาสตรมหาบัณฑิต สาขาวิชาการพยาบาลสุขภาพจิตและจิตเวช].ขอนแก่น: มหาวิทยาลัยขอนแก่น.

กรมสุขภาพจิต กระทรวงสาธารณสุข. (2551). ชุดความรู้และแนวทางปฏิบัติ เรื่อง การวางแผนจำหน่ายผู้ป่วย จิตเภท (ฉบับปรับปรุง 2551) [อินเตอร์เน็ต]. 2551 [เข้าถึงเมื่อ 2566 ก.ค. 24] เข้าถึงได้จาก:https://dmh.go.th/download/DMHKM/styAWBOOK.pdf

อติญา โพธิ์ศรี. (2562). การมีส่วนร่วมของครอบครัวและชุมชนในการดูแลผู้ป่วยจิตเภทเรื้อรัง: กรณีศึกษาที่ชุมชนบ้านท่าม่วงจังหวัดร้อยเอ็ด, ศรีนครินทร์เวชสาร;34(1):83-9

Downloads

เผยแพร่แล้ว

2024-02-29