การพัฒนารูปแบบการจัดการดูแลผู้ป่วยโรคกล้ามเนื้อหัวใจขาดเลือดเฉียบพลัน โรงพยาบาลรัตนวาปี จังหวัดหนองคาย

ผู้แต่ง

  • ชัญญา ศรีจันทร์ -
  • รัชนีกร แสงมะณี

บทคัดย่อ

การวิจัยเชิงปฏิบัติการครั้งนี้มีวัตถุประสงค์เพื่อพัฒนารูปแบบการจัดการดูแลผู้ป่วยโรคกล้ามเนื้อหัวใจขาดเลือดเฉียบพลัน โรงพยาบาลรัตวาปี จังหวัดหนองคาย ประชากร คือ พยาบาลวิชาชีพที่ปฏิบัติงานในกลุ่มงานการพยาบาล โรงพยาบาลรัตวาปี จังหวัดหนองคาย จำนวน 27 คน เก็บข้อมูลระหว่างเดือนมีนาคม ถึง เดือนธันวาคม พ.ศ.2566 ดำเนินการวิจัย 3 ระยะ ได้แก่ 1) วิเคราะห์สถานการณ์ 2) พัฒนารูปแบบ และ 3) ผลการพัฒนา วิเคราะห์ข้อมูลเชิงปริมาณโดยใช้ค่าสถิติพื้นฐานและสถิติเปรียบเทียบ Paired t-test และวิเคราะห์ข้อมูลเชิงคุณภาพโดยวิเคราะห์เชิงเนื้อหา ผลการวิจัยพบว่า

รูปแบบการดูแลผู้ป่วยกล้ามเนื้อหัวใจขาดเลือดเฉียบพลัน ประกอบด้วยการเตรียมความรู้ความเข้าใจในโรคกล้ามเนื้อหัวใจขาดเลือดเฉียบพลัน ทั้งสาเหตุ ปัจจัยเสี่ยง ภาวะแทรกซ้อน การรักษา และทักษะการปฏิบัติในการดูแลผู้ป่วย แล้วนำไปปฏิบัติในรูปแบบเดียวกัน โดยมีกระบวนการดูแลตั้งแต่ระยะคัดกรอง ระยะให้การพยาบาล ระยะส่งต่อ และระยะติดตามผล รวมทั้งจัดให้มีการสื่อสารเพื่อประเมินผลความก้าวหน้าในการปฏิบัติงาน

คะแนนความรู้เกี่ยวกับการดูแลผู้ป่วยโรคกล้ามเนื้อหัวใจขาดเลือดเฉียบพลัน โดยรวม  ก่อนการพัฒนาอยู่ในระดับปานกลาง Mean=19.41(S.D.=2.55) หลังการพัฒนาอยู่ในระดับมาก Mean=27.41(S.D.=0.84) เมื่อเปรียบเทียบพบว่ามีความแตกต่างกันอย่างมีนัยสำคัญทางสถิติที่ระดับ 0.05(p-value < 0.001)

คะแนนทักษะการปฏิบัติการดูแลผู้ป่วยโรคกล้ามเนื้อหัวใจขาดเลือดเฉียบพลันก่อนการพัฒนาอยู่ในระดับปานกลาง Mean=2.78(S.D.=0.31) หลังการพัฒนาอยู่ในระดับดี Mean=4.30(S.D.=0.45) เมื่อเปรียบเทียบพบว่ามีความแตกต่างกันอย่างมีนัยสำคัญทางสถิติที่ระดับ 0.05(p-value < 0.001) และผลลัพธ์คุณภาพการดูแลผู้ป่วยผ่านเกณฑ์ชี้วัดของเขตบริการสุขภาพที่ 8

 

คำสำคัญ : โรคกล้ามเนื้อหัวใจขาดเลือดเฉียบพลัน, การจัดการดูแล

References

World Heart Federation. (2013). Annual report 2013. Geneva: World Heart Federation.

สมาคมแพทย์โรคหัวใจแห่งประเทศไทย ในพระบรมราชูปถัมภ์. (2563) แนวเวชปฏิบัติการดูแลรักษาผู้ป่วย ภาวะหัวใจขาดเลือดเฉียบพลัน พ.ศ.2563. กรุงเทพฯ : ห้างหุ้นส่วนจำกัด เนคสเตป ดีไซน์.

โรงพยาบาลรัตนวาปี. (2566). รายงานการจำแนกผู้ป่วยประจำเดือน โรงพยาบาลรัตนวาปี พ.ศ. 2566. หนองคาย : โรงพยาบาลรัตนวาปี.

จินดาพร ศิลาทอง (2562). การพัฒนารูปแบบการจัดการดูแลผู้ป่วยโรคกล้ามเนื้อหัวใจขาดเลือดเฉียบพลัน โรงพยาบาลบ้าน แหลม จังหวัดเพชรบุรี. วารสารวิทยาลัยพยาบาลพระจอมเกล้า จังหวัดเพชรบุรี. 2(3), 33-46.

นริสา สะมาแอ, เสาวลักษณ์ พุฒแก้ว, กนกรัตน์ ขานโบ. (2565) การพัฒนารูปแบบการจัดการรายกรณีผู้ป่วยโรคกล้ามเนื้อหัวใจขาดเลือดเฉียบพลัน ในบริบทมุสลิม โรงพยาบาลนราธิวาสราชนครินทร์. วารสารมหาวิทยาลัยนราธิวาสราช นครินทร์. 14(1), 63-79.

เยาวลักษณ์ วิไชย. (2563). การพัฒนาการดูแลผู้ป่วยโรคหัวใจขาดเลือดเฉียบพลัน โรงพยาบาลสุวรรณภูมิ จังหวัดร้อยเอ็ด. วารสารวิจัยและพัฒนานวัตกรรมทางสุขภาพ. 1(3), 43-51.

สุรีย์ กรองทอง, ศศิธร กระจายกลาง, นงลักษณ์ สุรศร และ สุนันญา พรมตวง. (2561). พัฒนารูปแบบบริการทางด่วน ผู้ป่วยกล้ามเนื้อหัวใจขาดเลือด. วารสารการแพทย์โรงพยาบาลศรีสะเกษ สุรินทร์ บุรีรัมย์. 33(1), 45-60.

สุเพียร โภคทิพย์, นวลน้อย โหตระไวศยะ, นาฎอนงค์ เสนาพรหม, แจ่มจันทร์ พวงจันทร์, หนึ่งฤทัย อินมณี, และอัญชลี สุธรรม วงษ์. (2560). การพัฒนาสมรรถนะพยาบาลในการบริหารยาละลายลิ่มเลือดชนิด Streptokinase ในผู้ป่วยโรคกล้ามเนื้อหัวใจตายเฉียบพลันชนิด STEMI: โรงพยาบาลชุมชนขนาดกลาง เขตสุขภาพที่10. วารสารวิทยาศาสตร์สุขภาพ วิทยาลัยพยาบาลบรมราชชนนี สรรพสิทธิประสงค์, 1(2), 1-19.

Downloads

เผยแพร่แล้ว

2024-02-29