การประเมินผลการดำเนินงานตามนโยบายทีมหมอประจำตัว 3 คนในการดูแลกลุ่มเปราะบางของ จังหวัดอุตรดิตถ์
คำสำคัญ:
การประเมินผล, ทีมหมอประจำตัว 3 คน, กลุ่มเปราะบาง, ความพึงพอใจ, คุณภาพชีวิตบทคัดย่อ
การวิจัยนี้เป็นการวิจัยเชิงปฏิบัติการ มีวัตถุประสงค์เพื่อศึกษาผลการดำเนินงานตามนโยบายทีมหมอประจำตัว 3 คนในการดูแลกลุ่มเปราะบางของจังหวัดอุตรดิตถ์ กลุ่มตัวอย่างกลุ่มที่ 1 คือ ทีมหมอครอบครัว จำนวน 180 คนกลุ่มตัวอย่างกลุ่มที่ 2 คือ ผู้รับบริการในคลินิกหมอครอบครัวที่เป็นกลุ่มเปราะบาง จำนวน 180 คน จัดเก็บข้อมูลในช่วงเดือนตุลาคมถึงพฤศจิกายน 2566 ด้วยแบบสอบถามประสิทธิผลการดำเนินงานตามนโยบายทีมหมอประจำตัว 3 คน ในการดูแลกลุ่มเปราะบาง ความพึงพอใจและคุณภาพชีวิตของผู้รับบริการที่เป็นกลุ่มเปราะบาง วิเคราะห์ข้อมูลโดยการแจกแจงความถี่ ร้อยละ ค่าเฉลี่ย ส่วนเบี่ยงเบนมาตรฐาน ผลการวิจัยพบว่า ประสิทธิผลการดำเนินงานตามนโยบายทีมหมอประจำตัว 3 คนหรือทีม 3 หมอในการดูแลกลุ่มเปราะบางของจังหวัดอุตรดิตถ์ (1) ด้านบริบท (Context) สามารถตอบสนองต่อความต้องการและแก้ไขปัญหาของประชาชนและดำเนินงานในพื้นที่มีความสอดคล้องโดยตรงกับนโยบายของรัฐบาล (2) ด้านปัจจัยนำเข้า (Input) การจัดระบบส่งต่อเพื่อการดูแลรักษาผู้ป่วยได้ครอบคลุมและนำเทคโนโลยีมาใช้ในการดูแลกลุ่มผู้ป่วย (3) ด้านกระบวนการ (Process) การเยี่ยมบ้านให้คำแนะนำ คัดกรอง ติดตามและดูแลผู้ป่วยเบื้องต้น การรักษาพยาบาลและให้คำปรึกษาประสานและส่งต่อการรักษาพิเศษ (4) ด้านผลผลิต (Product) สามารถดำเนินงานตอบสนองและการสื่อสารความรู้ทางวิชาการ การเฝ้าระวังควบคุมโรค ส่งเสริมสุขภาพ ปัจจัยแห่งความสำเร็จ ได้แก่ นโยบาย/กลุ่มเป้าหมายชัดเจน การทำงานเป็นทีม/ความร่วมมือ การประสานงาน/บทบาทหน้าที่ ส่งผลให้ความพึงพอใจผู้รับบริการที่เป็นกลุ่มเปราะบางอยู่ในระดับมาก ปัญหาและอุปสรรค ได้แก่ ภาระงาน/บุคลากรไม่เพียงพอ เทคโนโลยี/อินเตอร์เน็ต/มือถือ งบประมาณและวัสดุอุปกรณ์ การพัฒนาศักยภาพ/ทักษะทีมหมอครอบครัว
References
สำนักบริหารการสาธารณสุข สำนักงานปลัดกระทรวงสาธารณสุข. คู่มือแนวทางการดำเนินงานคลินิกหมอครอบครัวสำหรับหน่วยบริการ. กรุงเทพมหานคร: ชุมนุมสหกรณ์การเกษตรแห่งประเทศไทย, 2559.
สำนักงานวิจัยและพัฒนากำลังคนด้านสุขภาพ. นายแพทย์สำเริง แหยงกระโทก กับการขับเคลื่อนนโยบายหมอ 3 คน. [อินเตอร์เน็ต]. 2563. [สืบค้นเมื่อ 10 มี.ค. 2565]. เข้าถึงจาก: https://hrdo.org
กองสนับสนุนบริการสุขภาพภาคประชาชน กรมสนับสนุนบริการสุขภาพ. แนวทางการดำเนินงานสุขภาพภาคประชาชน ปีงบประมาณ พ.ศ. 2564. [อินเตอร์เน็ต] 2564. [สืบค้นเมื่อ 1 ก.พ. 2565] เข้าถึงจาก: http://bps.moph.go.th/new_bps/node/63
กองยุทธศาสตร์และแผน สำนักงานปลัดกระทรวงสาธารณสุข. คลินิกหมอครอบครัว Primary Care Cluster: แนวทางการดำเนินงานคลินิกหมอครอบครัวสำหรับหน่วยบริการ. [อินเตอร์เน็ต]. ม.ป.ป.. [สืบค้นเมื่อ 10 เม.ย. 2566]. เข้าถึงจาก: http://bps.moph.go.th/new_bps/node/86.
Stufflebeam, Daniel L. “Education Evaluation and Decision Making” in Education Evaluation : Theory and Practice. New York: Harcourt, Brace and World Nic. 1973.
Cronbach, L. J. Essentials of psychology and education. New York, NY: McGraw-Hill. 1984.
สุชาติ ประสิทธิ์รัฐสินธุ์. การสร้างมาตรวัดสำาหรับการวิจัยที่ถูกต้องและได้มาตรฐานสากล. กรุงเทพฯ: สามลดา. 2558.
สมยศ ศรีจารนัย, พิชญาภัสสร์ วรรณศิริกุล, ปารณัฐ สุขสุทธิ์ , อรณรินทร์ ขจรวงศ์วัฒนา และสมใจ นกดีวิจัย. การประเมินผลการดำเนินงานตามนโยบายทีมหมอครอบครัว. กรุงเทพฯ :ชุมนุมสหกรณ์การเกษตรแห่งประเทศไทย. 2558.
สุวัฒน์ มหัตนิรันดร์กุล. เปรียบเทียบแบบวัดคุณภาพชีวิตขององค์การอนามัยโลกทุก 100 ตัวชี้วัด และ 26 ตัวชี้วัด. รายงานการวิจัย. เชียงใหม่: โรงพยาบาลสวนปรุง; 2540.
สุชาติ ประสิทธิ์รัฐสินธุ์. การใช้สถิติในงานวิจัยอย่างถูกต้องและได้มาตรฐานสากล. กรุงเทพฯ: สามลดา. 2556.
สันติ ทวยมีฤทธิ์. การพัฒนากระบวนการบริหารยุทธศาสตร์สุขภาพ จังหวัดนครราชสีมา. วารสารวิจัยและพัฒนาระบบสุขภาพ, 2563; 14(1); 230-240.
สำนักงานวิจัยและพัฒนากําลังคนด้านสุขภาพ. Long Term Care การดูแลระยะยาว เพื่อพึ่งพิงอย่างมีคุณภาพในสังคมไทย. นนทบุรี: สำนักงานวิจัยและพัฒนากําลังคนด้านสุขภาพ; 2563.
ฑิณกร โนรี. กําลังคนด้านสุขภาพของประเทศไทยในปัจจุบันและอนาคต: บทเรียนจากการระบาด COVID-19 การประชุมวิชาการ 30 ปี สถาบันวิจัยระบบสาธารณสุข7กรกฎาคม 2565 [อินเตอร์เน็ต]. [สืบค้นเมื่อ 20 มิ.ย. 2565]. เข้าถึงได้จาก;https://kb.hsri.or.th/dspace/handle/11228/5659
ปิยะ เทพปิยวงศ์. แนวพัฒนาการดำเนินงานทีมหมอครอบครัวและความพึงพอใจของกลุ่มผู้ป่วยที่ต้องการการดูแลระยะยาว อำเภอหนองบัวระเหว จังหวัดชัยภูมิ. วารสารสุขศึกษา, 2558;. 38(130), 1-15.