การพัฒนารูปแบบการให้บริการเพื่อลดระยะเวลาการรอคอยบริการในแผนกผู้ป่วยนอก โรงพยาบาลนามน จังหวัดกาฬสินธุ์

ผู้แต่ง

  • ศศิธร กำทองดี โรงพยาบาลนามน จังหวัดกาฬสินธุ์
  • อรรถวิทย์ เนินชัด โรงพยาบาลนามน จังหวัดกาฬสินธุ์
  • จารึก ประคำ โรงพยาบาลนามน จังหวัดกาฬสินธุ์

คำสำคัญ:

การพัฒนารูปแบบการบริการแผนกผู้ป่วยนอก, การลดระยะเวลารอคอย, การลดแออัด

บทคัดย่อ

     การวิจัยเชิงพัฒนา (Research and Development) มีวัตถุประสงค์เพื่อพัฒนารูปแบบการให้บริการเพื่อลดระยะเวลาการรอคอยบริการในแผนกผู้ป่วยนอก ประชากรและกลุ่มตัวอย่าง ได้แก่ เจ้าหน้าที่ผู้ปฏิบัติงานและสหวิชาชีพที่เกี่ยวข้องกับแผนกผู้ป่วยนอก จำนวน 21 คน วิเคราะห์ข้อมูลทั่วไป ด้วยค่าความถี่ ร้อยละ ค่าเฉลี่ยเลขคณิต และส่วนเบี่ยงเบนมาตรฐาน และเปรียบเทียบความแตกต่าง ความรู้ ทัศนคติ ความพึงพอใจ ด้วยสถิติ Paired t-test  ในส่วนของข้อมูลเชิงคุณภาพวิเคราะห์เชิงเนื้อหาแบบสามเส้าร่วมกัน
     ผลการศึกษาพบว่า กลุ่มตัวอย่างส่วนมากเป็นเพศหญิง ร้อยละ 77.4 ส่วนมากมีอายุ 36-45 ปี ร้อยละ 52.4 การศึกษาอยู่ในระดับปริญญาตรี ร้อยละ 52.4 อาชีพส่วนมากพยาบาล ร้อยละ 33.3 การวิเคราะห์ปัญหาพบว่าเนื่องจากเป็นโรงพยาบาลชุมชนขนาดเล็ก แห่งเดียวในตัวอำเภอ มีผู้มารับบริการจำนวนมาก ขัดต่ออัตรากำลัง ขาดการผลักดันนโยบายและความรู้ ทัศนคติ ในการลดระยะเวลารอคอย กระบวนการพัฒนาประกอบด้วย 6 มาตรการ 1) ประชุมวิเคราะห์สถานการณ์ 2) จัดทำแผนงานโครงการบูรณาการงบร่วมกันในโรงพยาบาลนามน 3) การสร้างมาตรการลดระยะเวลารอคอย 4) การใช้นวัตกรรมเทคโนโลยี 5) การให้ความรู้และทัศนคติ 6) การประเมินผลและถอดบทเรียนร่วมกัน กระบวนการพัฒนาได้มีการปรับในจุดบริการเดิม 14จุด เหลือ 8  จุดบริการ เพิ่มซักประวัติ ผู้ป่วยที่แพทย์นัดให้มีการส่งตรวจทางห้องปฏิบัติการหรือบริการอื่นๆ ก่อนเข้าพบแพทย์ มีพยาบาลจุดคัดกรองเป็นคนส่งตรวจ มีการนัดเหลื่อมเวลากันในระหว่างคลินิก กระจายผู้มารับบริการไปรับการตรวจอื่นๆ มีระบบการส่งตรวจทางห้องปฏิบัติการ มีการใช้คลินิกรุ่งอรุณ  การใช้ระบบบัตรประชาชนใบเดียว และระบบจองคิว ระบบไร้กระดาษภายหลังการพัฒนา จากการทดสอบระยะเวลารอคอยพบว่ามีค่าเวลาเฉลี่ย 82.36 นาที อยู่ระหว่าง 78-112 นาที ความรู้ ทัศนคติ และความพึงพอใจผู้รับบริการดีขึ้น อย่างมีนัยสำคัญทางสถิติ (p<0.05) 

References

คู่มือการออกแบบอาคารสถานบริการสุขภาพและสภาพแวดล้อม. กรมสนับสนุนบริการสุขภาพ กองแบบแผน.กรมสนับสนุนบริการสุขภาพ, กระทรวงสาธารณสข, 2558

แนวทางปฏิบัติการปรับรูปแบบบริการการบริการดูแลผู้ป่วยนอกในสถานการณ์การระบาดของ COVID-19. กรมการแพทย์. กระทรวงสาธารณสุข, 2563

สำนักงานสาธารณสุขจังหวัดกาฬสินธุ์. รายงานผลการบันทึกระยะเวลาการรอคอย (HDC) จังหวัดกาฬสินธุ์. (2565) สำนักงานสาธารณสุข จังหวัดกาฬสินธุ์. 2565

โรงพยาบาลนามน. รายงานศูนย์คุณภาพโรงพยาบาลนามน อำเภอนามน จังหวัดกาฬสินธุ์. (2564) สำนักงานสาธารณสุข จังหวัดกาฬสินธุ์ 2564

ไซนับ ศุภศิริ สมใจ พุทธาพิทักษ์ผล และ ดวงใจ เปลี่ยนบํารุง. ผลของรูปแบบบริการผู้ป่วยนอกโรคเบาหวาน ต่อระยะเวลารอคอยและความพึงพอใจในบริการ. วารสารพยาบาลโรคหัวใจและทรวงอก. 2560; 28(1): 271-281

นิยม ศิริ และ วรยุทธ นาคอ้าย. รูปแบบการส่งเสริมสุขภาพและป้องกันโรคไม่ติดต่อเรื้อรังในกลุ่มเสี่ยงโรคไม่ติดต่อเรื้อรัง จังหวัดน่าน. วารสารวิชาการสาธารณสุข. 2565; 31(2): 271-281

สุพัตรา ศรีวณิชชากร. การพัฒนาเพื่อลดความแออัดในโรงพยาบาล. วารสารระบบวิจัยสาธารณสุข. 2550; 1(3-4): 216-223.

วนิดา รักผกาวงศ์ และคณะ. ระยะเวลาการรอคอยและระยะเวลารับบริการแผนกผู้ป่วยนอกโรงพยาบาลทั่วไปขนาดกลาง ภาคเอกชนแห่งหนึ่ง.วารสารเภสัชกรรมคลินิก. 2564; 27(2): 53-63.

Downloads

เผยแพร่แล้ว

2024-02-29