ความเสี่ยงต่อการเกิดโรคหัวใจและหลอดเลือดโดยใช้แบบประเมิน RAMA-EGAT Heart Score และระดับไฟบริโนเจนในพระสงฆ์ที่มีภาวะอ้วนลงพุง ในจังหวัดพะเยา

ผู้แต่ง

  • ศุภกัญญา ลาสม อาจารย์ ประจำคณะสหเวชศาสตร์ มหาวิทยาลัยพะเยา จังหวัดพะเยา Corresponding author
  • สุรสิทธิ์ สุวรรณสินธุ์ อาจารย์ประจำคณะเทคนิคการแพทย์ มหาวิทยาลัยเนชั่น จังหวัดลำปาง
  • ปาจรีย์ มาน้อย อาจารย์ประจำคณะสหเวชศาสตร์ มหาวิทยาลัยพะเยา จังหวัดพะเยา
  • ปิยะวรรณ เอมอิ่มอนันต์ อาจารย์ประจำคณะสหเวชศาสตร์ มหาวิทยาลัยพะเยา จังหวัดพะเยา

คำสำคัญ:

ภาวะอ้วนลงพุง, ไฟบริโนเจน, ความเสี่ยงต่อการเกิดโรคหัวใจและหลอดเลือด, แบบประเมิน RAMA-EGAT Heart Score, พระสงฆ์

บทคัดย่อ

     การศึกษานี้มีวัตถุประสงค์เพื่อประเมินความเสี่ยงต่อการเกิดโรคหัวใจและหลอดเลือด (cardiovascular disease ; CVD) และศึกษาความสัมพันธ์ของไฟบริโนเจนซึ่งเป็นโปรตีนที่ตอบสนองต่อสภาวะอักเสบและเหนี่ยวนำให้เกิดลิ่มเลือดอุดตันหลอดเลือด กับปัจจัยเสี่ยงต่าง ๆ ในพระสงฆ์ที่มีภาวะอ้วนลงพุง (metabolic syndrome; MS) ในจังหวัดพะเยา โดยตรวจวัดระดับไฟบริโนเจนด้วยวิธี Cluass method และประเมินความเสี่ยงการเกิด CVD โดยใช้แบบประเมิน RAMA-EGAT Heart Score และ Thai CV risk score ในอาสาสมัครจำนวน 144 ราย ได้แก่ กลุ่มอาสาสมัครเพศชาย (54 ราย) และกลุ่มพระสงฆ์ (90 รูป) ซึ่งถูกแบ่งออกเป็น 2 กลุ่มย่อย คือ ผู้ที่เป็น MS (36 รูป) และไม่เป็น MS (54 รูป) ผลการศึกษาพบว่ากลุ่มพระสงฆ์มีระดับไฟบริโนเจนสูงกว่ากลุ่มอาสาสมัครเพศชาย อย่างมีนัยสำคัญทางสถิติ (p<0.001) ทั้งนี้เมื่อเปรียบเทียบค่า RAMA-EGAT Heart Score และ Thai CV risk score พบว่าในกลุ่มพระสงฆ์มีค่าความเสี่ยงต่อการเกิดโรคหัวใจและหลอดเลือดในอีก 10 ปีข้างหน้า สูงกว่าอาสาสมัครเพศชาย (p<0.001 และ 0.043 ตามลำดับ) อีกทั้งยังพบว่าระดับไฟบริโนเจนมีความสัมพันธ์แบบแปรผันตรงกับ RAMA-EGAT Heart Score Thai CV risk score และปัจจัยเสี่ยงต่อการเกิด CVD (p<0.01)

References

พชฏ นรสิงห์, กฤติณัฎฐ์ นวพงษ์ปวีณ และปัณณวิชญ์ ปิยะอร่ามวงศ์. ความชุกและปัจจัยที่เกี่ยวข้องต่อการเกิดภาวะ Metabolic Syndrome ของพระสงฆ์ในจังหวัดพระนครศรีอยุธยา. วารสารการแพทย์และวิทยาศาสตร์สุขภาพ 2561; 25: 21-9.

โรงพยาบาลสงฆ์ กรมการแพทย์ กระทรงสาธารณสุข. รายงานประจำปี 2565. กระทรวงสาธารณสุข [อินเตอร์เน็ต]. 2565 [สืบค้นเมื่อ 13 ธ.ค. 2566] เข้าถึงจาก: https://www.priest-hospital.go.th/report/reportYear

สุนันทา ยงวนิชเศรษฐ. อาการเมตาบอลิก: ผลกระทบต่อสุขภาพ การป้องกัน และการจัดการรักษา. สงขลานครินทร์เวชสาร 2558; 33: 207-15.

Bal Z, Bal U, Okyay K, Yilmaz M, Balcioglu S, Turgay O, et al. Hematological parameters can predict the extent of coronary artery disease in patients with end-stage renal disease. Int Urol Nephrol 2015; 47: 1719-25.

กองโรคไม่ติดต่อ กรมควบคุมโรค. ข้อมูลโรคไม่ติดต่อ: จำนวนและอัตราการตายด้วย 5 โรคไม่ติดต่อ (ปี 2560-2564): กระทรวงสาธารณสุข [อินเตอร์เน็ต]. 2564 [สืบค้นเมื่อ 15 ธ.ค. 2566] เข้าถึงจาก: http://www.thaincd.com/2016/mission3

เกษชดา ปัญเศษ, สุกาญฎา กลิ่นถือศิล, อาภาสิณี กิ่งแก้ว และวิยดา วงศ์มณีโรจน์. ความเสี่ยงต่อการเกิดโรคหัวใจและหลอดเลือดของบุคลากรที่ปฏิบัติราชการส่วนกลาง กระทรวงสาธารณสุข[โดยใช้แบบประเมินความเสี่ยงต่อโรคหัวใจและหลอดเลือด Rama – EGAT Heart Score. วารสารพยาบาลกระทรวงสาธารณสุข 2558; 25: 57-70.

คณิศฉัตร์ วุฒิศักดิ์สกุล. ปัจจัยที่มีผลต่อพฤติกรรมสุขภาพของพระสงฆ์ในเขตอำเภอฝาง จังหวัดเชียงใหม่. วารสารสมาคมพยาบาลแห่งประเทศไทยฯ สาขาภาคเหนือ 2559; 24: 71-83.

Dhawale S, Jayant S and Gupta AK. Serum fibrinogen level in type 2 diabetes mellitus patients. Int J Adv Med 2016; 3: 83-7.

Huang, PL. A comprehensive definition for metabolic syndrome. Dis Model Mech 2009; 2: 231-7.

Lasom S, Komanasin N, Settasatian N, Settasatian C, Kukongviriyapan U, Intharapetch P. Association of a disintegrin and metalloproteinase with a thrombospondin type 1 motif member 13 polymorphisms with severity of coronary stenosis in type 2 diabetes mellitus. J Res Med Sci 2018; 23: p59.

Miesbach W, Schenk J, Alesci S, Lindhoff-Last E. Comparison of the fibrinogen Clauss assay and the fibrinogen PT derived method in patients with dysfibrinogenemia. Thromb Res 2010; 126: e428-33.

พัฒนาพร สุปินะ, กิติพงษ์ หาญเจริญ, สุคนธา ศิริ และอดิศักดิ์ มณีไสย. การทดสอบความแม่นยำของแบบประเมินความเสี่ยงโรคหลอดเลือด หัวใจ Rama–EGAT Heart Score ในผู้ป่วย Acute Coronary Syndrome โรงพยาบาลศิริราช. วารสารพยาบาลศาสตร์ 2552; 27: 77-82.

Wang S. Association between serum low-density lipoprotein cholesterol and metabolic syndrome in a working population. Lipids Health Dis 2021; 20: 73.

Khunger JM, Kumar N, Punia VPS, Malhotra MK. Study of prothrombotic changes in metabolic syndrome. Indian J Hematol Blood Transfus 2020; 36: 695-9.

Halldin M, Halldin M, Vikström M, Stenling A, Gigante B, de Faire U, et al. Physical activity attenuates cardiovascular risk and mortality in men and women with and without the metabolic syndrome – a 20-year follow-up of a population-based cohort of 60-year-olds. Eur J Prev Cardiol 2021; 28: 1376-85.

Liu SL, Wu NQ, Shi HW, Dong Q, Dong QT, Gao Y, et al. Fibrinogen is associated with glucose metabolism and cardiovascular outcomes in patients with coronary artery disease. Cardiovasc Diabetol 2020; 19: 36.

Ma J, Xu A, Jia C, Liu L, Fu Z, Dong J, et al. Associations of fibrinogen with metabolic syndrome in rural Chinese population. J Atheroscler Thromb 2010; 17: 486-92.

ประกาย จิโรจน์กุล, สมจิต นิปัทธหัตถพงศ์, เพลินตา พิพัฒน์สมบัติ, ณัฐนาฎ เร้าเสถียร และฐิตาพร เขียนวงษ์. ปัจจัยเสี่ยงต่อการเกิดโรคหัวใจและหลอดเลือด ในการศึกษาภาคตัดขวาง. วารสารพยาบาลโรคหัวใจและทรวงอก 2556: 24: 44-55.

Downloads

เผยแพร่แล้ว

2024-02-29