การพยาบาลผู้ป่วยติดเชื้อในกระแสเลือดระบบทางเดินอาหารร่วมกับมีภาวะหัวใจเต้นเร็วผิดปกติ : กรณีศึกษา

ผู้แต่ง

  • ไฉไล กลิ่นอุ่น พยาบาลวิชาชีพชำนาญการ โรงพยาบาลบ้านหมี่

คำสำคัญ:

ติดเชื้อในกระแสเลือด, ระบบทางเดินอาหาร, ภาวะหัวใจเต้นเร็วผิดปกติ

บทคัดย่อ

     การศึกษานี้เป็นกรณีศึกษามีวัตถุประสงค์เพื่อศึกษาการพยาบาลผู้ป่วยติดเชื้อในกระแสเลือดระบบทางเดินอาหารร่วมกับมีภาวะหัวใจเต้นเร็วผิดปกติโดยศึกษาในผู้ป่วยชายไทย อายุ 52 ปี เข้ารับการรักษาในโรงพยาบาล วันที่ 20 กรกฎาคม 2566 ด้วยอาการสำคัญ หน้ามืด วูบ ใจสั่น 1 วันก่อนมาโรงพยาบาล แรกรับ EKG: SVT rate 235 ครั้ง/นาที มีอาการถ่ายเหลวบ่อย
     ผลการศึกษา: วินิจฉัย Sepsis with Atrial fibrillation ได้รับการใส่ท่อช่วยหายใจ Syncohronized cardioversion 50 J, Adenosine 6 mg iv bolus, load codarone 300 mg in 5% D/W 200 ml in 30 min เข้ารับการรักษาที่หอผู้ป่วยอายุรกรรมชาย และย้ายเข้าห้องผู้ป่วยหนัก หลังหายใจ On T-piece 10 LPM ย้ายกลับมาดูแลต่อ ขณะดูแล ยังมีภาวะหัวใจเต้นเร็วผิดปกติ เสี่ยงต่อปริมาณเลือดที่ออกจากหัวใจใน 1 นาทีลดลง เสี่ยงต่อลิ่มเลือดอุดตันในสมอง ป้องกันภาวะพร่องออกซิเจน เสี่ยงต่อภาวะติดเชื้อในกระแสเลือด มีภาวะพร่องกิจวัตรประจำวัน ได้ให้การพยาบาลตามแผนที่วางไว้ สามารถถอดท่อช่วยหายใจได้ อัตราการเต้นของหัวใจ 98-110 ครั้ง/นาที วางแผนจำหน่าย ให้ความรู้แก่ผู้ป่วยและญาติ จำหน่ายวันที่ 9 สิงหาคม 2566 รวมรักษาตัวในโรงพยาบาล 23 วัน

References

กองยุทธศาสตร์และแผนงาน สำนักงานปลัดกระทรวงสาธารณสุข. (2564). สถิติสาธารณสุข. สำนักพิมสยามเจริญ.

กลุ่มงานสารสนเทศทางการแพทย์. (2566). รายงานสถิติการบริการโรงพยาบาลบ้านหมี่ จังหวัดลพบุรี: โรงพยาบาลบ้านหมี่

จริยา พันธุวิทยากุล และจิราพร มณีพราย. (2561). การพัฒนารูปแบบการพยาบาลผู้ป่วยที่มีภาวะ ติดเชื้อในกระแสโลหิต. วารสารกองการพยาบาล; 45(1): 86-104.

รัฐภูมิ ชามพูนท, ไชยรัตน์ เพิ่มพิกุล และบุญส่ง พัจนสุนทร. (2561). แนวทางเวชปฏิบัติการดูแลรักษาผู้ป่วย severe sepsis และ septic shock พ.ศ. 2561. สมาคมเวชบําบัดวิกฤตแห่งประเทศไทย

วิพัชร พันธวิมล, พีรพัฒน์ เกตุค้างพลู. (2562). วิธีใช้ยาต้านการแข็งตัวของเลือดกลุ่มใหม่ในผู้ป่วยโรคหัวใจห้องบนสั่นพลิ้ว: Practical Use of Non-Vitamin K Antagonist in Atrial Fibrillation.วารสารกรมการแพทย์; 44:20.

Rhodes A, Evans LE, Alhazzani W, et al. (2017). Surviving sepsis campaign: International guidelines for management of sepsis and septic shock: 2016. Crit Care Med; 45: 486-552.

Sanjay B, Geetanjali D, Muhammad S, Ahmad H, Vijayadershan M, Atul B, et al. (2016). Predicting Outcomes in Patients with Atrial Fibrillation and Acute Mesenteric Ischemia. JPCRR; 3(4 ):177-86.

Downloads

เผยแพร่แล้ว

2024-02-29