การพยาบาลผู้ป่วยโรคหลอดเลือดสมองโป่งพองหลังได้รับการผ่าตัดหนีบหลอดเลือดสมองโป่งพองและ มีภาวะติดเชื้อที่ปอด: กรณีศึกษา
คำสำคัญ:
โรคหลอดเลือดสมองโป่งพอง, การผ่าตัดหนีบหลอดเลือดสมองโป่งพอง, ภาวะติดเชื้อที่ปอดบทคัดย่อ
การศึกษานี้เป็นกรณีศึกษามีวัตถุประสงค์เพื่อศึกษาการพยาบาลผู้ป่วยโรคหลอดเลือดสมองโป่งพองหลังได้รับการผ่าตัดหนีบหลอดเลือดสมองโป่งพองและมีภาวะติดเชื้อที่ปอดในระยะหลังผ่าตัด โดยศึกษาในผู้ป่วยหญิงไทยอายุ 58 ปี เข้ารับการรักษาในโรงพยาบาลวันที่ 19 สิงหาคม 2566 ด้วยอาการซึมลง 4 ชั่วโมงก่อนมาโรงพยาบาล ผล CTA brain พบ Acute SAH at both parietal-temporal, saccular type AcoA aneurysm.
ผลการศึกษา: ส่งไปผ่าตัด Lt pterional craniotomy with aneurysm ciipping โรงพยาบาลธรรมศาสตร์เฉลิมพระเกียรติ หลังผ่าตัดส่งกลับมาดูแต่อวันที่ 25 สิงหาคม 2566 ผู้ป่วยทำตามคำสั่งได้ ใส่ท่อหลอดลมคอ มีเสมหะมาก พบการติดเชื้อที่ปอด ผู้ป่วยซึมลง ส่ง CT brain พบ Rt hydrocephalus และได้รับการผ่าตัด Rt ventriculostomy ระยะก่อนผ่าตัด ป้องกันภาวะเนื้อเยื่อพร่องออกซิเจน ลดการติดเชื้อที่ปอด ป้องกันการเกิดภาวะ IICP มีความไม่สมดุลของระดับโซเดียม ระยะหลังผ่าตัด ยังมีความเสี่ยงการเกิดภาวะ IICP เสี่ยงติดเชื้อเข้าสู่สมอง มีโอกาสพร่องสารน้ำและสารอาหาร พร่องกิจวัตรประจำวัน ได้ให้การพยาบาลตามแผนที่วางไว้ ผู้ป่วยไม่เกิดภาวะ IICP การติดเชื้อที่ปอดลดลง ถอดท่อหายใจได้วันที่ 6 กันยายน 2566 อาการดีขึ้นตามลำดับ จำหน่ายกลับบ้านวันที่ 14 กันยายน 2566 รวมรักษาตัวในโรงพยาบาล 17 วัน
References
จิตติมา แสงสุวรรณ. (2560). เวชศาสตร์ฟื้นฟูในผู้ป่วยโรคหลอดเลือดสมอง. ภาควิชาเวชศาสตร์ฟื้นฟู คณะแพทยศาสตร์ มหาวิทยาลัยขอนแก่น.
บุบผา ไวยพัฒน์. (2559). การพยาบาลผู้ป่วยผ่าตัดโรคหลอดเลือดแดงในสมองโป่งพอง: กรณีศึกษา.วารสารสมาคมเวชศาสตร์ป้องกันแห่งประเทศไทย; 6(1): 71-9.
วรรณา ปัดทพัด (2564). การพยาบาลผู้ป่วยสูงอายุโรคหลอดเลือดสมอง ระยะฟื้นูสภาพ : กรณีศึกษา. วารสารพยาบาล สภากาชาดไทย; 14(2).
วิไล สุรสาคร. (2565). การพยาบาลผู้ป่วยโรคหลอดเลือดสมองโป่งพองแตกที่มีภาวะเลือดออกใต้เยื่อหุ้มสมองชั้นกลาง: กรณีศึกษา 2 ราย. วารสารวิชาการแพทย์และสาธารณสุข เขตสุขภาพที่ 3; 19(3): 221-226.
ศิริอร สินธุ. (2565). การพยาบาลผู้ป่วยโรคหลอดเลือดสมอง ( Nursing care for stroke patients). สภาการพยาบาล:ยิ้มการพิมพ์.
อุษา พ่วงสมจิตร. (2564). https://www.yrh.moph.go.th/wp-content/uploads/2021/10/Km-28102021.pdf.
Shah KB, Shrestha S, Jaiswal SK, Qian LB, Kui CL. (2018). Aneurysm clipping and outcome for Hunt & Hess grade 4, 5 subarachnoid hemorrhage - a literature review. OJMN; 8(2): 215-32.
Inagawa T. (2016). Risk factors for cerebral vasospasm following aneurysmal subarachnoid hemorrhage: a review of the literature. World Neurosurg; 85: 56-76.
กลุ่มงานสารสนเทศทางการแพทย์. (2566). รายงานสถิติการบริการโรงพยาบาลพระนารายณ์มหาราช จังหวัดลพบุรี: โรงพยาบาลพระนารายณ์มหาราช