เปรียบเทียบสุขภาวะองค์กร (Happy Public Organization Index : HPI) สำนักงานสาธารณสุขจังหวัดมหาสารคาม

ผู้แต่ง

  • สุธิดา คณะมะ สำนักงานสาธารณสุขจังหวัดมหาสารคาม
  • วิภาดา คงทรง สำนักงานสาธารณสุขจังหวัดมหาสารคาม

คำสำคัญ:

สุขภาวะ, องค์กร, ความสุข

บทคัดย่อ

     การวิจัยเชิงปฏิบัติการ (Action research) นี้ มีวัตถุประสงค์เพื่อศึกษากระบวนการขับเคลื่อนการสร้างสุของค์กรและเปรียบเทียบสุขภาวะองค์กร (Happy Public Organization Index : HPI)  ของหน่วยงานภายใต้การกำกับดูแลในสังกัดสำนักงานสาธารณสุขจังหวัดมหาสารคาม ดำเนินการพัฒนาการสร้างสุของค์กรร่วมกับบุคลากรที่เกี่ยวข้อง ตามแนวคิดการสร้างสุขภาวะองค์กร (happy workplace) ตามหลัก MapHR ระยะเวลาวิจัย เดือน พฤศจิกายน 2562 – กุมภาพันธ์  2565 ประเมินผลการพัฒนาจากการประเมินประเมินสุขภาวะองค์กร (Happy Public Organization Index: HPI) วิเคราะห์ข้อมูลข้อมูลเชิงปริมาณโดยสถิติเชิงพรรณนา ได้แก่ จำนวน ร้อยละ ข้อมูลเชิงคุณภาพใช้วิธีวิเคราะห์เนื้อหา
     ผลการศึกษา พบว่า กระบวนการขับเคลื่อนการสร้างสุของค์กรของหน่วยงานภายใต้การกำกับดูแลสำนักงานสำนักงานสาธารณสุขจังหวัดมหาสารคาม ประกอบด้วย 1. การผลักดันเชิงนโยบาย (Policy) โดยนายแพทย์สาธารณสุขจังหวัดมหาสารคามซึ่งเป็นผู้บริหารระดับสูง โดยแสดงให้เห็นถึงความมุ่งมั่น กำหนดเป็นตัวชี้วัดการประเมินผลการปฏิบัติราชการ(KPIs)  ระดับอำเภอ 2. บูรณาการการทำงานผ่านกลไกการดำเนินงานคณะกรรมการ 3. การสร้างทีมนำองค์กรสร้างสุขเพื่อนำองค์ความรู้เพื่อนำไปถ่ายทอดความรู้ การจัดการองค์กรสร้างสุข 4. หน่วยงานภายใต้การกำกับดูแลสำนักงานสำนักงานสาธารณสุขจังหวัดมหาสารคาม ทั้งโรงพยาบาลและสำนักงานสาธารณสุขอำเภอทุกแห่ง  ดำเนินงานตามแนวคิดสร้างสุขภาวะองค์กร  5. จัดเวทีมหกรรรรมแลกเปลี่ยนเรียนรู้การขับเคลื่อนการดำเนินงานการสร้างสุขในองค์กรระดับจังหวัด 6. สร้างกระแสการดำเนินงานองค์กรสร้างสุขในภาพรวมของจังหวัดโดยการประชาสัมพันธ์ผ่าน สื่อ Social Media 7. นิเทศ กำกับติดตามการดำเนินงานจากการวิเคราะห์ข้อมูลทุกไตรมาส และจากการประเมินผลการปฏิบัติราชการ(KPIs)  ระดับอำเภอ ปีละ 2 ครั้ง จากการดำเนินงานตามกระบวนการดังกล่าวส่งผลให้คะแนนการประเมินสุขภาวะองค์กร (Happy Public Organization Index: HPI) เพิ่มขึ้นทุกด้านทุกหน่วยงาน 

References

กองยุทธศาสตร์และแผนงาน สำนักงานปลัดกระทรวงสาธารณสุข กระทรวงสาธารณสุข. (2560).แผนยุทธศาสตร์ชาติ ระยะ 20 ปี (พ.ศ. 2560 - 2579) ด้านสาธารณสุข.กระทรวงสาธารณสุข.

สำนักงานคณะกรรมการพัฒนาการเศรษฐกิจและสังคมแห่งชาติ สำนักนายกรัฐมนตรี. (2560). แผนพัฒนาเศรษฐกิจและสังคมแห่งชาติ ฉบับที่ 12 พ.ศ.2560-2564. สำนักนายกรัฐมนตรี.

สำนักงานสาธารณสุขจังหวัดมหาสารคาม . สรุปรายงานการนิเทศงานสาธารณสุข ระดับอำเภอ ประจำปี 25661. สำนักงานสาธารณสุขจังหวัดมหาสารคาม จังหวัดมหาสารคาม.

ขวัญเมือง แก้วดำเกิง. (2557). รวมผลงานนักสร้างสุของค์กร. กรุงเทพมหานคร. บริษัท ไนซ์ เอิร์ธ ดีไซด์ จำกัด.

บุญชม ศรีสะอาด . (2553). การวิจัยเบื้องต้น. กรุงเทพมหานคร : สุวีริยาสาส์น.

ทวีศักดิ์ นพเกสร. (2549). วิธีการวิจัยเชิงคุณภาพเล่ม 2. พิมพ์ครั้งที่ 2. นครราชสีมา: โรงพิมพ์โชคเจริญมาร์เก็ตติ้ง.

เกษราวัลณ์ นิลวรางกูร. (2558). การวิจัยเชิงปฏิบัติการสำหรับวิชาชีพการพยาบาล. ขอนแก่น: โรงพิมพ์คลังนานาวิทยา.

ธิติภัทร คูหา,จิราพร อิทธิชัยวัฒนา. (2564). การพัฒนาและขับเคลื่อนนโยบายกระทรวงสาธารณสุขที่มุ่งสู่เป้าหมาย “เจ้าหน้าที่มีความสุข”.วารสารวิชาการสาธารณสุข. 30(3). 547-560.

ทวีศักดิ์ วัดอุดม,บุษบง วิเศษพลชัย. (2563) การพัฒนารูปแบบองค์กรสร้างสุขของโรงพยาบาลชุมชนในจังหวัดเพชรบุรี. วารสารวิชาการสาธารณสุข. 29(1). 122-130.

Downloads

เผยแพร่แล้ว

2024-02-29