การพยาบาลผู้ป่วยโรคความดันโลหิตสูง เบาหวาน ที่มีภาวะหัวใจล้มเหลว: กรณีศึกษา
คำสำคัญ:
โรคความดันโลหิตสูง, โรคเบาหวาน, ภาวะหัวใจล้มเหลวบทคัดย่อ
การศึกษานี้เป็นกรณีศึกษามีวัตถุประสงค์เพื่อศึกษาการพยาบาลผู้ป่วยโรคความดันโลหิตสูง เบาหวานที่มีภาวะหัวใจล้มเหลว โดยศึกษาในผู้ป่วยหญิงไทยอายุ 42 ปี มาตรวจที่แผนกผู้ป่วยนอกวันที่ 3 มกราคม 2566 ด้วยอาการหายใจเหนื่อย ขาบวม 2 ข้าง ปัสสาวะออกน้อย 1 วัน ก่อนมาโรงพยาบาล ประวัติโรคความดันโลหิตสูง โรคเบาหวาน 4 ปี เคยผ่าตัดเจาะคอจากการติดเชื้อที่ปอด 2 ปี
ผลการศึกษา พบว่า ผลเอกซเรย์ปอดพบภาวะน้ำในช่องเยื่อหุ้มปอดข้างขวา (Pleural Effusion Rt) การวินิจฉัย ภาวะหัวใจล้มเหลว (Congestive Heart Failure) ให้การพยาบาลระยะก่อนตรวจ ผู้ป่วยเสี่ยงต่อภาวะเนื้อเยื่อพร่องออกซิเจน มีระดับความดันโลหิตสูง วิตกกังวลเกี่ยวกับอาการ และโรคที่เป็นอยู่ ระยะขณะตรวจ ประสิทธิภาพการหายใจลดลง เสี่ยงอันตรายจากระดับน้ำตาลในเลือดสูง เกลือแร่ในร่างกายผิดปกติ ประสิทธิภาพการทำงานของไตลดลง ระยะหลังตรวจ มีความวิตกกังวลเกี่ยวกับโรค มีความรู้ไม่เพียงพอการปฏิบัติตัวไม่ถูกต้อง ผู้ป่วยได้รับการพยาบาลตามแผนที่วางไว้ทุกระยะ ได้รับการส่งต่อไปรักษาที่หอผู้ป่วยอายุรกรรมหญิง จำหน่ายวันที่ 7 มกราคม 2566 รวมรักษาตัวนาน 4 วัน จากการติดตามการรักษา มาตรวจและรักยาตามนัด ไม่มีภาวะแทรกซ้อน
References
เกรียงไกร เฮงรัศมี. (2560). มาตรฐานการรักษาผู้ป่วยหัวใจล้มเหลว 2560. สุขุมวิทย์การพิมพ์.
ชาติ กลิ่นสาคร, และสุ่ยถิน แซ่ตัน. (2563). ปัจจัยที่มีความสัมพันธ์กับพฤติกรรมการป้องกันตนเองจากโรคหลอดเลือดสมองของผู้ป่วยโรคความดันโลหิตสูงที่สามารถควบคุมระดับความดันโลหิตได้ อำเภอด่านช้าง จังหวัดสุพรรณบุรี. วารสารสภาการสาธารณสุขชุมชน, 2(2), 62- 77
เพ็ญจันทร์ แสนประสาน และคณะ. (2560). มาตรฐานการพยาบาล CVT : แนวคิดการพัฒนาคุณภาพ ฉบับปรับปรุงครั้งที่ 2. สุขุมวิทการพิมพ์.
สมาคมความดันโลหิตสูงแห่งประเทศไทย. (2562). แนวทางรักษาโรคความดันโลหิตสูง ในเวชปฏิบัติทั่วไป พ.ศ. 2562. ทริค ธิงค์.
สมาคมโรคเบาหวานแห่งประเทศไทย, สมาคมต่อมไร้ท่อแห่งประเทศไทย, กรมการแพทย์ กระทรวง สาธารณสุข, สำนักงานหลักประกันสุขภาพแห่งชาติ. (2560). Diabetes Association of Thailand. Clinical practice guideline for diabetes. บริษัท ร่มเย็น มีเดีย.
สุวรรณี สร้อยสงค์, อังคณา เรือนก้อน, ขวัญสุวีย์ อภิจันทรเมธากุล, นิลุบล นันตา, จุฑามาศ สุขเกษม. (2560). พฤติกรรมการดูแลตนเองตามการรับรู้ของผู้ป่วยเบาหวานชนิดที่ 2 ที่ควบคุมระดับน้ำตาลในเลือดไม่ได้. วารสารวิทยาลัยพยาบาลพระปกเกล้าจันทบุรี, 28(2): 93-103.
Audi, G., Korologou, A., Koutelekos, I., Vasilopoulos,G., Karakostas, K., Makrygianaki, K., Polikandrioti, M. (2017). Factors affecting health related quality of life in hospitalized patients with heart failure. Cardiology research and practice. http://doi.org/10.1155/2017/4690458