การพยาบาลผู้ป่วยโรคจิตเภทติดสารเสพติดที่มีพฤติกรรมก้าวร้าว: กรณีศึกษา

ผู้แต่ง

  • นุชนาจ เนตรบุตร โรงพยาบาลพระนารายณ์มหาราช

คำสำคัญ:

การพยาบาล, โรคจิตเภท, การติดสารเสพติด, พฤติกรรมก้าวร้าว

บทคัดย่อ

     การศึกษานี้เป็นกรณีศึกษามีวัตถุประสงค์เพื่อศึกษาการพยาบาลผู้ป่วยโรคจิตเภทติดสารเสพติดที่มีพฤติกรรมก้าวร้าว โดยศึกษาในผู้ป่วยเพศชาย อายุ 37 ปี รับไว้รักษาในโรงพยาบาล วันที่ 23 ธันวาคม 2566 ด้วยอาการอาละวาด เอะอะโวยวาย ทำร้ายร่างกายแม่และยาย ทำลายข้าวของ ผลการตรวจทางห้องปฏิบัติการ Methamphe tamine ผล Positive
     ผลการศึกษา : ได้รับการวินิจฉัย Schizophrenia with aggressive ได้รับการรักษา ให้ยาฉีด Haloperidol 5mg IM, valium 10 mg IV ทุก 8 ชั่วโมง ขณะดูแล เสี่ยงต่อการเกิดพฤติกรรมก้าวร้าวซ้ำและก่อเหตุรุนแรง เสี่ยงต่อภาวะแทรกซ้อนจากการผูกมัด ปฏิสัมพันธ์ระหว่างบุคคลในครอบครัวไม่เหมาะสม เสี่ยงต่อการกลับไปเสพยาเสพติดซ้ำ พยาบาลประเมินภาวะสุขภาพตามแบบแผนสุขภาพของกอร์ดอนร่วมกับกระบวนการพยาบาลนำมาวิเคราะห์กำหนดข้อวินิจฉัยการพยาบาลวางแผนให้การพยาบาลใช้ทฤษฎีการพยาบาลสัมพันธภาพเพื่อการบำบัดของเพบพลาว ผู้ป่วยได้รับการดูแลรักษาพยาบาลจนอาการสงบ มีปฏิสัมพันธ์ที่ดีกับผู้ป่วยอื่น ให้ความร่วมมือในการดูแลรักษา จำหน่ายออกจากโรงพยาบาลวันที่ 10 มกราคม 2567 รวมวันนอนโรงพยาบาล 19 วัน

References

กรมการแพทย์ กระทรวงสาธารณสุข. (2565). แนวทางการคัดกรอง การประเมินความรุนแรง การบำบัดรักษา การฟื้นฟูสมรรถภาพผู้ติดยาเสพติด สำหรับศูนย์คัดกรอง สถานพยาบาลยาเสพติดและสถานฟื้นฟู สมรรถภาพผู้ติดยาเสพติดตามประมวลกฎหมายยาเสพติด.

กรมสุขภาพจิต กระทรวงสาธารณสุข.(2560). คู่มือผู้เข้าอบรมหลัดสูตรการเข้าถึงบริการและดูแลผู้ป่วยโรคจิตสำหรับพยาบาล/นักวิชาการสาธารณสุข ฉบับปรับปรุง.บริษัทดีน่าดูมีเดียพลัส จำกัด.

กรมสุขภาพจิต กระทรวงสาธารณสุข. (2563). คู่มือระบบการดูแลผู้ป่วยจิตเวชที่มีความเสี่ยงสูงต่อการก่อความรุนแรงสำหรับสถาบัน/โรงพยาบาล สังกัดกรมสุขภาพจิต. พรอสเพอรัสพลัส.

กองบริหารสาธารณสุข. (2563). คู่มือการปฏิบัติงาน Standard Operation Procedures (SOPs) ยาเสพติด ประจำปีงบประมาณ พ.ศ. 2563. บอร์น ทู บี พับลิชซิ่ง.

เครือวัลย์ ศรียารัตน์. (2558). บทบาทพยาบาลในการจัดการกับพฤติกรรมก้าวร้าวในผู้ป่วยจิตเวช.วารสารพยาบาลสภากาชาดไทย, 8(1), 43-51

ญาธิดา วุฒิศาสตร์กุล, วิยะดา ทิพม่อม, และธัญญาสิริ ธันยสวัสดิ์. (2565). การประยุกต์ใช้ทฤษฎีสัมพันธภาพ ระหว่างบุคคลของเพพพลาวในกระบวนการพยาบาลสำหรับนักศึกษาพยาบาล. พยาบาลสาร มหาวิทยาลัยเชียงใหม่, 49(2), 365 – 375.

โรงพยาบาลธัญญารักษ์ขอนแก่น. (2564). คู่มือการเรียนการสอน หลักสูตรพยาบาลเฉพาะทาง สาขาการพยาบาล ผู้ใช้ยาและสารเสพติด. ขอนแก่นพิมพ์พัฒนา

รุ่งทิวา พลอยสุวรรณ. (2565). การพยาบาลผู้ป่วยจิตเวชที่มีความผิดปกติทางจิตอันเนื่องมาจากการดื่มสุรา : กรณีศึกษา. วารสารสุขภาพและสิ่งแวดล้อมศึกษา, 7(4), 176-188

Downloads

เผยแพร่แล้ว

2024-02-29