ปัจจัยที่สัมพันธ์กับการเสียชีวิตจากอุบัติเหตุทางการจราจรในอำเภอกาบเชิง จังหวัดสุรินทร์

ผู้แต่ง

  • วิชญนนท์ เหล่าอุดม พ.บ.,อว.เวชศาสตร์ครอบครัว, วว.เวชศาสตร์ป้องกัน แขนงระบาดวิทยา โรงพยาบาลกาบเชิง จังหวัดสุรินทร์

คำสำคัญ:

อุบัติเหตุจราจร, การเสียชีวิต, ความสัมพันธ์

บทคัดย่อ

     การวิจัยนี้เป็นการวิจัยเชิงสำรวจย้อนหลังแบบ Matched Case – control โดยมีวัตถุประสงค์เพื่อศึกษาปัจจัยที่มีความสัมพันธ์กับการเสียชีวิตจากอุบัติเหตุทางการจราจรในอำเภอกาบเชิง จังหวัดสุรินทร์ โดยกลุ่มตัวอย่างคือผู้ประสบอุบัติเหตุทางการจราจร ในอำเภอกาบเชิง ตั้งแต่เดือนตุลาคม พ.ศ. 2560 จนถึง กันยายน พ.ศ. 2564 กลุ่มตัวอย่างทั้งหมด 220 คน จับคู่อายุที่เท่ากัน  1 : 4แบ่งเป็นกลุ่มเสียชีวิต 44 คน และกลุ่มไม่เสียชีวิต 176 คน เก็บข้อมูลจากเวชระเบียนผู้ป่วยและฐานข้อมูลในคอมพิวเตอร์โรงพยาบาล วิเคราะห์ความสัมพันธ์ด้วยสถิติเชิงอนุมาน Conditional  logistic regression นำเสนอค่า Odds Ratio (OR) ช่วงเชื่อมั่น 95% CI กำหนดระดับนัยสำคัญที่ 0.05
     ผลการศึกษา พบว่า ปัจจัยที่มีความสัมพันธ์กับกับการเสียชีวิตจากอุบัติเหตุทางการจราจร ด้านบุคคล คือการดื่มเครื่องดื่มแอลกอฮอล์ (ORadj= 3.09, 95%CI = 1.18 – 8.09, p–value = 0.021) ส่วนด้านสิ่งแวดล้อม คือ การเกิดอุบัติเหตุจราจรบนถนนสายหลัก (ORadj = 4.44, 95%CI = 2.09 – 9.75, p–value < 0.001) และช่วงเวลาการเกิดเหตุตอนกลางคืน (ORadj = 3.34, 95%CI = 1.38 – 8.06, p–value = 0.007) ดังนั้น ควรมีมาตรการควบคุมการดื่มเครื่องดื่มที่มีแอลกอฮอล์ในผู้ขับขี่ยานพาหนะ การตรวจสอบถนนจุดที่เกิดอุบัติเหตุจราจร และจุดที่มีผู้บาดเจ็บสาหัสหรือเสียชีวิตทุกครั้ง เพื่อวิเคราะห์หาปัญหาและแนวทางแก้ไข จะช่วยลดระดับความรุนแรงของการบาดเจ็บและการเสียชีวิตจากอุบัติเหตุจราจรได้

References

ทนงศักดิ์ สุวรรณเตมีย์. รายงานการศึกษาเรื่อง การเกิดอุบัติเหตุทางถนนในช่วงเทศกาลปีใหม่ ในเขตเทศบาลตาบลเมืองเก่า อำเภอกบินทร์บุรี จังหวัดปราจีนบุรี ปี 2561. กรุงเทพฯ: สถาบันพัฒนาบุคลากรด้านการป้องกันและบรรเทาสาธารณภัย กรมป้องกันและบรรเทาสาธารณภัย กระทรวงมหาดไทย2561.

สำนักงานนโยบายและแผนการขนส่งและจราจร สำนักแผนความปลอดภัย. รายงานการวิเคราะห์สถานการณ์อุบัติเหตุทางถนนของกระทรวงคมนาคม พ.ศ. 2561. กรุงเทพมหานคร: กระทรวงคมนาคม; 2562.

กีรติ สวรรณยานุกิจ, เกรียงศักดิ์ ปินตาธรรม. การกระจายพื้นที่การเกิดอุบัติเหตุและปัจจัยที่มีผลต่อการเสียชีวิตของผู้ป่วยจากอุบัติเหตุจราจรทางถนนที่เข้ารับการรักษาที่ห้องฉุกเฉินโรงพยาบาลเชียงรายประชานุเคราะห์. วารสารการแพทย์ฉุกเฉินแห่งประเทศไทย. 2564;2(2):106-14.

สำนักงานสาธารณสุขจังหวัดสุรินทร์. สถานการณ์อุบัติเหตุทางถนน จังหวัดสุรินทร์ ปีงบประมาณ 2564 สุรินทร์: สำนักงานสาธารณสุขจังหวัดสุรินทร์; 2564 [เข้าถึงเมื่อ 2564. เข้าถึงได้จาก: https://surin.moph.go.th/SPHO_Meeting_sys/upload/Files/35_721_646_822037.pdf.

โรงพยาบาลกาบเชิง. การพัฒนากลไกการดูแลผู้ป่วยที่ได้รับบาดเจ็บจากอุบัติเหตุจราจรโดยภาคีเครือข่าย สุรินทร์: งานอุบัติเหตุฉุกเฉินและนิติเวช โรงพยาบาลกาบเชิง; 2564.

Haddon W, Jr. Advances in the epidemiology of injuries as a basis for public policy. Public Health Rep. 1980;95(5):411-21.

เมษญา ชาติกุล. ปัจจัยที่สัมพันธ์กับการเสียชีวิตของผู้ประสบอุบัติเหตุที่นำส่งด้วยหน่วยปฏิบัติการการแพทย์ฉุกเฉินขั้นสูงในประเทศไทย. วารสารศูนย์การศึกษาแพทยศาสตร์คลินิก โรงพยาบาลพระปกเกล้า. 2557;11(4):311-26.

จริยา ละมัยเกศ, ชวนพิศ ศิริไพบูลย์, วัชรินทร์ โกมลมาลัย. ปัจจัยเสี่ยงต่อการเสียชีวิตของผู้ป่วยอุบัติเหตุจราจรทางบก ที่มารับบริการแผนกอุบัติเหตุฉุกเฉินในโรงพยาบาลของรัฐ จังหวัดสุพรรณบุรี. วารสารวิทยาลัยพยาบาลบรมราชชนนี สุพรรณบุรี. 2561;1(2):66-78.

ฉัตรธิดา ศรีภู่, เลิศชัย เจริญธัญรักษ์. ปัจจัยที่มีความสัมพันธ์กับการเสียชีวิตของผู้ประสบอุบัติเหตุที่นำส่งด้วยหน่วยปฏิบัติการการแพทย์ฉุกเฉินขั้นสูง โดยการรับแจ้งเหตุจากโทรศัพท์หมายเลข1669 ในจังหวัดบุรีรัมย์. วารสารวิจัยสาธารณสุขศาสตร์ มหาวิทยาลัยขอนแก่น. 2563;13(1):41-7.

Demidenko E. Sample size determination for logistic regression revisited. Stat Med. 2007;26(18):3385-97.

ฐิติพร วิชัยวงษ์, รุจิรา ดวงสงค์. ปัจจัยที่มีความสัมพันธ์กับระดับความรุนแรงของการบาดเจ็บในผู้บาดเจ็บจากอุบัติเหตุจราจรที่มารักษาที่แผนกอุบัติเหตุฉุกเฉินโรงพยาบาลวาปีปทุม จังหวัดมหาสารคาม. วารสารโรงพยาบาลสกลนคร 2561;21(3):12-21.

Demissie M, editor Risk factors associated with serious and fatal road traffic accidents in Manzini City, Swaziland2017.

Downloads

เผยแพร่แล้ว

2024-02-29