การพยาบาลผู้ป่วยโรคปอดอักเสบ

ผู้แต่ง

  • สิริลักษณ์ รัตนพันธ์ พยาบาลวิชาชีพชำนาญการ โรงพยาบาลภูผาม่าน

คำสำคัญ:

โรคปอดอักเสบ, การพยาบาล, ผู้ป่วยโรคปอดอักเสบ

บทคัดย่อ

     การศึกษานี้เป็นกรณีศึกษา มีวัตถุประสงค์เพื่อศึกษาแนวทางให้การพยาบาลผู้ป่วยปอดอักเสบ  เป็นการศึกษาข้อมูลรายกรณี ( Case study) เปรียบเทียบการใช้กระบวนการพยาบาลผู้ป่วยโรคปอดอักเสบ จำนวน 2 ราย ที่เข้ารับการรักษาในหอผู้ป่วยใน โรงพยาบาลภูผาม่าน ในช่วงเดือนพฤศจิกายน 2565 ถึงมกราคม  2566 เครื่องมือที่ใช้ในการรวบรวมข้อมูลประกอบด้วย แบบบันทึกข้อมูล เวชระเบียนผู้ป่วยใน การสัมภาษณ์ผู้ป่วยและญาติ การสังเกต โดยใช้แนวคิดแบบประเมินผู้ป่วยตามแบบแผนทางด้านสุขภาพ 11 แบบแผนของกอร์ดอน เพื่อประเมินปัญหาผู้ป่วย กำหนดข้อวินิจฉัยทางการพยาบาล วางแผนให้การพยาบาล ปฏิบัติการพยาบาล และประเมินผลลัพธ์ทางการพยาบาล
     ผลการศึกษาพบว่า: ผู้ป่วยโรคปอดอักเสบของกรณีศึกษา 2 ราย ที่รับเข้ารักษาเป็นผู้สูงอายุ มีอาการและอาการแสดงคล้ายกัน ตรวจพบ CXR infiltration Lung Crepitation แตกต่างกันที่โรคร่วม รายที่ 1 มีโรคร่วม Thalassemia ซีด ได้ให้ PRC และมีภาวะ Electrolyte imbalance รับการรักษาด้วยการให้Oxygen cannula ยาปฏิชีวนะ รักษานาน 4 วัน  รายที่2 โรคร่วม Hypertension Hypothyroid  Asthma Atrial fibrillation รับการรักษาด้วยการให้ Oxygen cannula ยาปฏิชีวนะ รักษานาน 5 วัน  มีความยุ่งยากซับซ้อนในการดูแลรักษามากกว่ารายที่ 1  เนื่องจากมีปัญหาหัวใจเต้นผิดปกติร่วม  ผู้ป่วยทั้ง 2 ราย จำหน่ายกลับบ้านไม่มีภาวะแทรกซ้อนจากการป่วยเป็นโรคปอดอักเสบ โดยการศึกษาพบว่า ความผิดปกติของโรคร่วมส่งผลให้ต้องใช้การพยาบาลซับซ้อนและระยะเวลารักษานานมากขึ้น 

References

กรมควบคุมโรค กระทรวงสาธารณสุข, สถานการณ์โรคปอดอักเสบ.2566. [อินเตอร์เน็ต].สืบค้นเมื่อ 26 ธันวาคม 2566.แหล่งข้อมูล:https://ddc.moph.go.th/uploads/files/3860820231120073204.pdf

อุ่นเรือน กลิ่นขจรและสุพรรษา วรมาลี (2563). คู่มือการพยาบาลผู้ป่วยสูงอายุโรคปอดอักเสบ 2563 สืบค้นจาก https://www2.si.mahidol.ac.th/division/nursing/sins/

อังศุนิตย์ พรคทาทัศน์, ศูนย์การแพทย์กาญจนาภิเษก มหาวิทยาลัยมหิดล การเปลี่ยนแปลงคำแนะนำการรักษาโรคปอดอักเสบที่ติดเชื้อจากชุมชนของ American Thoracic Society และ Infectious Diseases Society of America ค.ศ. 2019 บทความวิชาการแนวทางการรักษาโรคปอดอักเสบที่ติดเชื้อในชุมชน สืบค้นจาก https://ccpe.pharmacycouncil.org

สำนักนโยบายและยุทธศาสตร์ กระทรวงสาธารณสุข(Bureau of Policy and Strategy, Ministry of Public Health).สถิติสาธารณสุข พ.ศ.2558:Public Health StatistisA.D.2015 .กรุงเทพ: โรงพิมพ์สามเจริญพาณิชย์ (กรุงเทพ) จำกัด,2559:79-145.

แสงอรุณ บุญศรี.สถิติสารสนเทสGIS:การเสียชีวิต จำแนกตามเพศและสาเหตุที่สำคัญปี พ.ศ. 2559 [อินเทอร์เน็ต].สิงห์บุรี:สำนักงานสถิติจังหวัดสิงห์บุรีกระทรวงดิจิทัลเพื่อเศรษฐกิจและสังคม;2560 [เข้าถึงเมื่อ 31พ.ค.2562] เข้าถึงได้จาก http://164.115.26.119/singburi.nso/component/page-929-section-44-catagory-246.

คณะกรรมการสหวิชาชีพในการดูแลผู้ป่วยอายุรกรรม.รายงานการเสียชีวิตผู้ป่วยโรงพยาบาลสิงห์บุรี.การประชุมคณะทำงานการดูแลผู้ป่วยอายุรกรรม(PCT med); 2559 มิถุนายน; โรงพยาบาลสิงห์บุรี.สิงห์บุรี; 2559

สมาคมอุรเวชช์แห่งประเทศไทย. (2544).แนวทางการรักษาโรคปอดอักเสบชุมชนในประเทศไทย (สำหรับผู้ใหญ่).เอสพีการพิมพ์กรุงเทพ:

สมาคมอุรเวชช์สมาคมโรคติดเชื้อ และสมาคมเวชบําบัดวิกฤตแห่งประเทศไทย.( 2549). ร่างแนวเวชปฏิบัติในการดูแลรักษาและป้องกันปอดอักเสบในโรงพยาบาลและปอดอักเสบที่ เกี่ยวข้องกับเครื่องช่วยหายใจในผู้ใหญ่ในประเทศไทย.กรุงเทพ;

วิภา รีชัยพิชิตกุล (2558). การรักษาโรคปอดบวม.วารสารอายุรศาสตร์ คณะแพทยศาสตร์ มหาวิทยาลัยขอนแก่น ,1(4),17-29.

Downloads

เผยแพร่แล้ว

2024-02-29