การบริหารจัดการระบบบริการพยาบาลในโรงพยาบาลสนาม โรงพยาบาลพระนารายณ์มหาราช จังหวัดลพบุรี
คำสำคัญ:
การบริหารจัดการ, ระบบบริการพยาบาล, โรงพยาบาลสนามบทคัดย่อ
การศึกษานี้ เป็นการวิจัยเชิงปฏิบัติการ (Action Research) มีวัตถุประสงค์เพื่อศึกษาการบริหารจัดการระบบบริการพยาบาลในโรงพยาบาลสนาม โรงพยาบาลพระนารายณ์มหาราช(โรงพยาบาลสนาม กองพันเสนารักษ์ที่ 1 และโรงพยาบาลพระบาทน้ำพุ) โดยศึกษาในโรงพยาบาลพระนารายณ์มหาราชจึงจัดตั้งโรงพยาบาลสนามแห่งแรกที่กองพันเสนารักษ์ที่ 1 ในโรงพยาบาลอานันทมหิดล (เดือนมิถุนายน – พฤศจิกายน 2564) จำนวน 120 เตียง ต่อมาพบว่าไม่เพียงพอต่อการให้บริการ จึงจัดตั้งโรงพยาบาลสนามวัดพระบาทน้ำพุแห่งที่ 2 (เดือนตุลาคม 2564-มีนาคม 2565) จำนวน 250 เตียง เก็บข้อมูลโดยการถอดบทเรียน วิเคราะห์ข้อมูลโดยการวิเคราะห์เนื้อหา (Content Analysis)
ผลการศึกษา พบว่า การจัดบริการพยาบาล ประกอบด้วยสาระสำคัญ 2 องค์ประกอบ คือ 1. การบริหารการพยาบาล 2. การปฏิบัติการพยาบาล โดยองค์ประกอบที่ 1 การบริหารการพยาบาล ได้แก่ ผู้นำทางการพยาบาล, บุคลากร, ความรู้ความสามารถ ปริมาณ, โครงสร้างและกลไก การกำกับดูแลมาตรฐาน/จริยธรรม การนิเทศ/กำกับดูแล ส่งเสริมการพัฒนาคุณภาพ ส่งเสริมการใช้กระบวนการพยาบาล ส่งเสริมการตัดสินใจทางคลินิก จัดการความรู้และวิจัย, ประสานความร่วมมือระดับองค์กร, การบริหารความเสี่ยง องค์ประกอบที่ 2 การปฏิบัติการพยาบาล ได้แก่ การใช้กระบวนการพยาบาล เคารพสิทธิ์ผู้ป่วยจริยธรรมวิชาชีพ, มาตรฐาน/ข้อมูลวิชาการ, สภาะวะสุขภาพของผู้ป่วย มีทักษะทางการพยาบาล, การปรับปรุง ส่งผลให้
1. จำนวนผู้ติดเชื้อไวรัสโคโรนา 2019 ที่รักษาครบตามแนวทางที่กำหนดและได้รับการจำหน่ายกลับบ้าน = 3046 คน (ร้อยละ 99.54)
2. จำนวนผู้ติดเชื้อไวรัสโคโรนา 2019 ที่ได้รับการส่งต่อไปรักษาในโรงพยาบาลพระนารายณ์มหาราช = 14 คน (ร้อยละ 0.45)
3. อัตราติดเชื้อไวรัสโคโรนา 2019 ของบุคลากรที่ปฏิบัติหน้าที่ 2 คน (จาก 28 คน) คิดเป็นร้อยละ 7.14
References
กรมการแพทย์ กระทรวงสาธารณสุข. (2564). แนวทางการจัดตั้งโรงพยาบาลสนาม (กรณีมีการระบาดของโรคติดเชื้อไวรัสโคโรนา 2019 (COVID-19) ในวงกว้าง). https://covid19.dms.go.th/ Content/Select_Landding_page?contentId=107.
กรมควบคุมโรค กระทรวงสาธารณสุข. (2565). รายงานผลการทบทวนสถานการณ์โรคโควิด-19 และมาตรการควบคุมป้องกันในระดับโลก และในประเทศไทย. https://thaincd.com/document/file/ download/knowledge/COVID19.65.pdf
กระทรวงสาธารณสุข. (2565). แนวทางการจัดตั้งโรงพยาบาลสนาม กรณีการระบาดโรคติดเชื้อโคโรนา 2019 หรือโรคโควิด19. https://dmsic. moph.go.th/index/detail/8611
จินต์จุฑา รอดพาล. (2563). ประสบการณ์ของพยาบาลวิชาชีพในการดูแลผู้ป่วยโรคโควิด19 ในห้องแรงดันลบ. สืบค้น 20 ธันวาคม 2564 จาก http://www.ayhosp.go.th/ AYH/ index.php/ha-home/ha-vision/156-ha/quality-day-2563/5555-icu1-negative-qd63
ณัฏฐ์ณพัชร์ อ่อนตาม. (2562). เทคนิคการบริหารงานแบบ PDCA (Deming Cycle). วารสารสมาคมพัฒนาวิชาชีพการบริหารการศึกษาแห่งประเทศไทย, 1(3), 39-46.
นราจันทร์ ปัญญาวุทโส, ปรัชญานันท์ เที่ยงจรรยาและประภาพร ชูกำเนิด. (2565). ประสบการณ์ของพยาบาลวิชาชีพในการมีส่วนร่วมด้านความปลอดภัยในภาวะวิกฤตของการแพร่ระบาดโรค โควิด 19 โรงพยาบาลหาดใหญ่ ประเทศไทย. วารสารมหาวิทยาลัยคริสเตียน, 28(1), 59-72.
พิมพ์วิมล ยงใจยุทธ. (2564). ประสบการณ์การปฏิบัติงานของพยาบาลในหอผู้ป่วยติดเชื้อโควิด 19. วิทยานิพนธ์ปริญญาพยาบาลศาสตรมหาบัณฑิต (สาขาวิชาการบริหารทางการพยาบาล) จุฬาลงกรณ์มหาวิทยาลัย.
มณฑนรรห์ ดิษฐสุวรรณ. (2564). ประสบการณ์ของผู้บริหารทางการพยาบาลในการบริหารจัดการพยาบาลผู้ป่วยโควิด 19. วิทยานิพนธ์ปริญญาพยาบาลศาสตรมหาบัณฑิต (สาขาวิชาการบริหารทางการพยาบาล) จุฬาลงกรณ์มหาวิทยาลัย.
วราภรณ์ ศรีจันทร์พาล, สมศรี ทาทาน, กาญจนา สาใจและชลธิมา ปิ่นสกุล. (2565). ประสบการณ์ชีวิตของพยาบาลในการดูแลผู้ป่วยโรคโควิด 19. วารสารพยาบาลทหารบก, 23(1), 111-120.
วีรนุช ไตรรัตโนภาส, ฐิติมา หมอทรัพย์,และสมพร ประพฤติกฤต. (2564). แนวทางการปฏิบัติการพยาบาลในสถานการณ์การแพร่ระบาดของโรคติดเชื้อ COVID-19. วารสารมหาวิทยาลัยคริสเตียน, 27(4), 132-144.
อภิรดี นันท์ศุภวัฒน์, อรอนงค์ วิชัยคำ, กุลวดี อภิชาติบุตร, ฐิติณัฏฐ์ อัคคะเดชอนันต์, ชญาภาแสนหลวง, เกศราภรณ์ อุดกันทา. ระบบบริหารจัดการโรงพยาบาลสนามในสถานการณ์โควิด-19: กรณีศึกษาโรงพยาบาลบุษราคัม. (2566). วารสารวิจัยระบบสาธารณสุข; 17(2):342-63.
ศิริวัฒน์ บุปผาเจริญ. (2563). หลักการบริหารทรัพยากรมนุษย์และการวางแผนอัตรากำลัง. https://phaisarn.go.th/oldweb/phaisarn.go.th/ Xinha/plugins/ExtendedFileManager/ demo_images/upload/a11.pdf
Ahmadidarrehsima, S., Salari, N., Dastyar, N., & Rafat, F (2022). Exploring the experiences of nurses caring for patients with COVID-19: a qualitative study in Iran. BMC Nursing, 21, 16. https://doi.org/10.1186/s12912-022-00805-5
Chen et al. (2020). Initiation of a new infection control system for the COVID-19 outbreak. The Lancet Infectious Diseases, 20(4), 397–398.
Department of Medical Services Ministry of Public Health. (2021). Guidelines for establishing a field hospital.Retrieved 2021 Jan 14. from: https://covid19. dms.go.th/
Nikeghbal, K., Kouhnavard, B., Shabani, A., & Zamanian, Z. (2021). Covid-19 effects on the mental workload and quality of work life in Iranian nurses. Annals of Global Health, 87(1), 79.