การป้องกันการหกล้มของผู้สูงอายุในชุมชน : บทบาทพยาบาลกับการดูแลสุขภาพที่บ้าน
คำสำคัญ:
โปรแกรมการป้องกันการหกล้มในผู้สูงอายุ, พฤติกรรมการป้องกันการหกล้มในผู้สูงอายุบทคัดย่อ
การวิจัยนี้ เป็นการวิจัยแบบกึ่งทดลอง มีวัตถุประสงค์เพื่อศึกษาผลของโปรแกรมการป้องกันการหกล้มในผู้สูงอายุและเปรียบเทียบผลของโปรแกรมการป้องกันการหกล้มในผู้สูงอายุก่อนและหลังการได้รับโปรแกรมการป้องกันการหกล้มในผู้สูงอายุในชุมชน ตำบลโนนสำราญ อำเภอเมือง จังหวัดชัยภูมิ กลุ่มตัวอย่างเป็นผู้สูงอายุตำบลโนนสำราญ อำเภอเมือง จังหวัดชัยภูมิ สุ่มตัวอย่างแบบเจาะจง จำนวน 60 คน แบ่งเป็นกลุ่มทดลองและกลุ่มควบคุมกลุ่มละ 30 คน รวม ทำการศึกษาระหว่างเดือนมกราคม-มีนาคม 2566 เครื่องมือที่ใช้ในการทดลอง คือโปรแกรมการป้องกันการหกล้มในผู้สูงอายุในชุมชนโดยใช้แนวคิดบทบาทของพยาบาลร่วมกับการดูแลสุขภาพที่บ้าน ประกอบด้วยการร่วมวางแผน การปฏิบัติการพยาบาล การสอนด้วยสื่อวีดีทัศน์ การให้คำปรึกษา การติดตามดูแลที่บ้านและการติดตามรายบุคคล และการใช้สื่อบุคคลตัวอย่างที่เคยหกล้มในผู้สูงอายุ การกระตุ้นเตือน สอบถามปัญหาและอุปสรรคต่าง ๆ โดยผู้วิจัย และแบบสอบถามการรับรู้เกี่ยวกับการป้องกันการหกล้ม และแบบสอบถามพฤติกรรมป้องกันการหกล้มในผู้สูงอายุ วิเคราะห์ข้อมูลโดยสถิติเชิงพรรณนา และสถิติ Paired sample t-test และสถิติ Independent t-test
ผลการศึกษา พบว่าภายหลังเข้าร่วมโปรแกรมฯ กลุ่มทดลองมีการรับรู้เกี่ยวกับการป้องกันการหกล้มในผู้สูงอายุในชุมชน โดยรวมอยู่ในระดับมาก (Mean=3.25, S.D.=0.10) และมีค่าเฉลี่ยพฤติกรรมการป้องกันการหกล้มในผู้สูงอายุในชุมชนโดยรวมอยู่ในระดับสูง (Mean=4.14, S.D.=0.32) ส่วนกลุ่มควบคุมมีการรับรู้เกี่ยวกับการป้องกันการหกล้มในผู้สูงอายุในชุมชนโดยรวม อยู่ในระดับปานกลาง (Mean=2.83, S.D.=0.11) และมีค่าเฉลี่ยพฤติกรรมการป้องกันการหกล้มในผู้สูงอายุในชุมชนโดยรวม อยู่ในระดับปานกลาง (Mean=2.83, S.D.=0.12) เมื่อเปรียบเทียบการรับรู้เกี่ยวกับการป้องกันการหกล้มและพฤติกรรมการป้องกันการหกล้มในผู้สูงอายุในชุมชน พบว่าการรับรู้เกี่ยวกับการป้องกันการหกล้มโดยรวมระหว่างกลุ่มทดลอง (Mean=3.25, S.D.=0.10) และกลุ่มควบคุม (Mean=2.83, S.D.=0.11) มีความแตกต่างกันอย่างมีนัยสำคัญทางสถิติ (p-value<0.001) เมื่อพิจารณาเป็นรายด้าน พบว่าการรับรู้สาเหตุหรือปัจจัยเสี่ยงที่ทำให้หกล้ม การรับรู้ผลกระทบจากการหกล้ม และการรับรู้การปฏิบัติตัวในการป้องกันการหกล้ม ระหว่างกลุ่มทดลองและกลุ่มควบคุมแตกต่างกันอย่างมีนัยสำคัญทางสถิติ (p-value<0.001) ส่วนพฤติกรรมการป้องกันการหกล้มพบว่าพฤติกรรมการป้องกันการหกล้มในผู้สูงอายุในชุมชนโดยรวมระหว่างกลุ่มทดลองและกลุ่มควบคุมแตกต่างกันอย่างมีนัยสำคัญทางสถิติ (p-value<0.001)
References
วีรศักดิ์ เมืองไพศาล. (2560). พฤฒาวิทยาและเวชศาสตร์ผู้สูงอายุสำหรับการดูแลผู้ป่วยสูงอายุขั้นต้น.กรุงเทพฯ : สมาคมพฤฒาวิทยาและเวชศาสตร์ผู้สูงอายุไทย.
รัตนาวลี ภักดีสมัย และพนิษฐา พานิชาชีวะกุล. (2554).การพัฒนาการดูแลผู้สูงอายุที่มีปัญหาปวดข้อเข่าของ โรงพยาบาลส่งเสริมสุขภาพตำบลบ้านบาก อำเภอจังหาร จังหวัดร้อยเอ็ด. วารสารพยาบาลศาสตร์และสุขภาพ, 34(4): 46-55.
สำนักงานสถิติแห่งชาติ. (2554). สรุปผลที่สำคัญ การสำรวจประชากรสูงอยุในประเทศไทย พ.ศ.2554.เมื่อ 16 มีนาคม 2565, จากhttp://service.nso.go.th/nso/nsopublish/themes/files/elderlysum54.pdf
สัมฤทธิ์ ศรีธำรงสวัสดิ์, กนิษฐา บุญธรรมเจริญ, ศิริพันธุ์ สาสัตย์ และขวัญใจ อำนาจสัตย์ซื่อ. (2565). รูปแบบการดูแลสุขภาพสำหรับผู้สูงอายุในระยะยาวโดยชุมชน. สืบค้นเมื่อ 16 มีนาคม 2565, จาก https://kb.hsri.or.th/dspace/bitstream/handle/11228/2713/p022-031.pdf?sequence=2
กรมควบคุมโรค, ตารางแสดงจำนวนและอัตราผู้ป่วยนอกจากการพลัดตกหกล้มนอกผู้สูงอายุที่มีอายุ 60 ปีขึ้นไป ต่อประชากรผู้สูงอายุแสนคน จำแนกรายจังหวัด ปี พ.ศ. 2560-2565. [อินเตอร์เน็ต].; [สืบค้นเมื่อวันที่ 2 กันยายน 2566]. ค้นได้จาก: https://ddc.moph.go.th/uploads/files/3470120230612083716.pdf
เมทินี ศรีสุบิน, นพดล แซ่ตัน, สริตา ชมภูศรี, รัญชนา ทาอุปรงค์, อาทิตยา อ่อนน้อม. (2565).ความชุกของการใส่รองเท้าที่ไม่เหมาะสมและปัจจัยรงพยาบาลลำปาง: กรณีศึกษาภาคตัดขวาง. วารสารพฤฒาวิทยาและเวชศาสตร์ผู้สูงอายุ, 21: 64-75.
มูลนิธิสถาบันวิจัยและพัฒนาผู้สูงอายุไทย. (2565). ยากันล้ม คู่มือป้องกันการหกล้มในผู้สูงอายุ. สืบค้นเมื่อ 16 มีนาคม 2565, จาก http://agingthai.dms.go.th/agingthai/wp-content/uploads/2020/10/edit-03122020-17.pdf
นิชธิมา เสรีวิชยสวัสดิ์ และพัชระกรพจน์ ศรีประสาร. (2557). บทบาทของพยาบาลในการดูแลผู้ป่วยที่บ้านในโรงพยาบาลระดับมหาวิทยาลัย. วารสารพยาบาลสาธารณสุข, 28(2); 92-108.
สุธารัตน์ ชำนาญช่าง, สมสมัย รัตนกรีฑากุล และสุวรรณา จันทร์ประเสริฐ. (2560). สมรรถนะการสร้างเสริมสุขภาพและการปฏิบัติบทบาทการสร้างเสริมสุขภาพ ของพยาบาลในการบริการสุขภาพระดับปฐมภูมิ เขตพื้นที่ตะวันออก. วารสารคณะพยาบาลศาสตร์ มหาวิทยาลัยบูรพา, 25(2), 19-30.
กองการพยาบาล สำนักงานปลัดกระทรวง กระทรวงสาธารณสุข . (2561). บทบาทหน้าที่ของพยาบาลวิชาชีพ.นนทบุรี: บริษัท สำนักพิมพ์สื่อตะวัน จำกัด.
วรณัน ประสารอธิคม. (2561). แนวคิดการดูแลสุขภาพที่บ้าน (Concept of home care).สืบค้น 3 พฤศจิกายน 2566.จาก https://www.rama.mahidol.ac.th/um/sites/default/files/public/pdf/
กมลทิพย์ หลักมั่น. (2558).การรับรู้และพฤติกรรมการดูแลตนเองในการป้องกันการหกล้มของผู้สูงอายุในตำบลทาขุมเงิน อำเภอแม่ทา จังหวัดลำพูน.ปริญญาสาธารณสุขศาสตรมหาบัณฑิต. เชียงใหม่. มหาวิทยาลัยเชียงใหม่.
รัฎภัทร์ บุญมาทอง, ศากุล ช่างไม้ และสมพันธ์ หิญชีระนันทน์. (2558). ผลลัพธ์ของโปรแกรมการดูแลตนเองในการป้องกันการหกล้มของผู้สูงอายุในจังหวัดสมุทรสาคร. วารสารมหาวิทยาลัยคริสเตียน. 21(3): 573-586.
อริสา หาญเตชะ. (2559). ประสิทธิผลของโปรแกรมการป้องกันอุบัติเหตุการพลัดตกหกล้มในบริเวณบ้านสำหรับผู้สูงอายุ ตำบลบ้านร้อง อำเภองาว จังหวัดลำปาง.ปริญญาสาธารณสุขศาสตร มหาบัณฑิต.พะเยา: มหาวิทยาลัยพะเยา.
ฐิติมา ทาสุวรรณอินทร์ และกรรณิการ์ เทพกิจ (2560) ศึกษาผลของโปรแกรมการป้องกันการพลัดตกหกล้มในผู้สูงอายุ.วารสารการพยาบาลและการดูแลสุขภาพ.35(3): 186-195.