การพัฒนาระบบบริการงานพยาบาลผู้ป่วยนอก โรงพยาบาลนาแก จังหวัดนครพนม

ผู้แต่ง

  • นภา วงค์จำปา พยาบาลวิชาชีพชำนาญการ งานการพยาบาลผู้ป่วยนอก โรงพยาบาลนาแก จังหวัดนครพนม
  • ฉัตรชัย ไตรยราช พยาบาลวิชาชีพชำนาญการ งานการพยาบาลผู้ป่วยนอก โรงพยาบาลนาแก จังหวัดนครพนม
  • พิมพ์ญดา เนียมแดง พยาบาลวิชาชีพชำนาญการ งานการพยาบาลผู้ป่วยนอก โรงพยาบาลนาแก จังหวัดนครพนม

คำสำคัญ:

งานผู้ป่วยนอก, มาตรฐานบริการผู้ป่วยนอก, การพัฒนาระบบ, ระบบบริการพยาบาล

บทคัดย่อ

     การศึกษานี้เป็นการวิจัยและพัฒนา (Research & Development) มีวัตถุประสงค์เพื่อพัฒนาและศึกษาผลของการพัฒนาระบบบริการงานพยาบาลผู้ป่วยนอก โรงพยาบาลนาแก จังหวัดนครพนม กลุ่มตัวอย่าง ได้แก่ ผู้รับบริการที่มารับการบริการที่แผนกผู้ป่วยนอก จำนวน 227 คน เครื่องมือที่ใช้ในการวิจัย ประกอบด้วย เครื่องมือที่ใช้ในการเก็บรวบรวมข้อมูล ได้แก่ แบบสอบถาม นำมาวิเคราะห์ข้อมูลเชิงพรรณนา หาความถี่ ค่าเฉลี่ยและร้อยละ วิเคราะห์ข้อมูลเชิงคุณภาพ จากแบบบันทึกการปฏิบัติตามกระบวนการ และการเปรียบเทียบความพึงพอใจก่อนและหลังการพัฒนาระบบทั้งเจ้าหน้าที่และผู้รับบริการโดยใช้สถิติ Paired t - test
     ผลการศึกษา : พบว่าหลังการพัฒนาได้มีการประเมินความพึงพอใจของกลุ่มตัวอย่าง ผู้รับบริการที่แผนก ผู้ป่วยนอก ต่อการพัฒนาระบบบริการ โดยภาพรวม พบว่า ก่อนพัฒนาระบบมีค่าเฉลี่ยความพึงพอใจอยู่ในระดับปานกลาง (X=2.00, SD=0.59) หลังพัฒนาระบบมีค่าเฉลี่ยความพึงพอใจ อยู่ในระดับมากที่สุด (X=3.83, SD=0.38) และเมื่อเปรียบเทียบพบว่า หลังการพัฒนาระบบ มีค่าเฉลี่ย ความพึงพอใจเพิ่มขึ้นกว่าก่อนการพัฒนาอย่างมีนัยสำคัญ ทางสถิติ 0.05 และค่าเฉลี่ยความพึงพอใจของพยาบาลแผนกผู้ป่วยนอก โดยภาพรวม พบว่า ก่อนพัฒนามีค่าเฉลี่ยความพึงพอใจอยู่ในระดับน้อย (X=1.82, SD=0.40) หลังพัฒนาระบบมีค่าเฉลี่ย ความพึงพอใจอยู่ในระดับมากที่สุด (X=3.82, SD=0.40) และเมื่อเปรียบเทียบพบว่า หลังการพัฒนา มีค่าเฉลี่ยความพึงพอใจเพิ่มขึ้นกว่าหลังการพัฒนาอย่างมีนัยสำคัญทางสถิติ 0.05 เช่นกัน

References

กองการพยาบาล สำนักงานปลัดกระทรวงสาธารณสุข.(2561).แนวทางการพัฒนาระบบบริการพยาบาล:Service Plan.พิมพ์ครั้งที่ 1. สำนักพิมพ์ สื่อตะวัน จำกัด : ปทุมธานี.

กองบริหารการสาธารณสุข กระทรวงสาธารณสุข.(2560).การขับเคลื่อนแผนพัฒนาระบบบริการสุขภาพ (Service Plan) พ.ศ. 2560-2564.พิมพ์ครั้งที่ 1. โรงพิมพ์สหกรณ์แห่งประเทศไทย:กรุงเทพ.

กิติศักดิ์ ด่านวิบูลย์, พิสิฐ อินทรวงษ์โชติ, มณีวรรณ ตั้งขจรศักดิ์, เสาวลักษณ์ สัจจา. ประสิทธิผลการพัฒนาระบบบริการงานผู้ป่วยนอก และหน่วยบริการปฐมภูมิเครือข่าย โรงพยาบาลหนองคาย.

วารสารศูนย์การศึกษาแพทยศาสตร์คลินิก โรงพยาบาลพระปกเกล้า. 2556;30(1):56-70.

ทรวงทิพย์ วงศ์พันธ์. คุณภาพบริการตามความคาดหวังและการรับรู้ของผู้รับบริการในงานผู้ป่วยนอกโรงพยาบาลรัฐ จังหวัดสุพรรณบุรี [วิทยานิพนธ์]. กรุงเทพฯ: มหาวิทยาลัยมหิดล; 2541.

พัชนี สุมานิตย์(2565).การพัฒนาระบบบริการงานพยาบาลผู้ป่วยนอกโรงพยาบาลกุมภวาปี จังหวัดอุดรธานี.วารสารวิจัยและพัฒนานวัตกรรมสุขภาพ ปีที่ 4 ฉบับที่ 3 (2023): กันยายน - ธันวาคม 2566.

นิตยา คล่องขยัน(2561).การพัฒนารูปแบบบริการงานผู้ป่วยนอกด้วยกระบวนการ Smart Hospital โรงพยาบาลพรเจริญ จังหวัดบึงกาฬ.โรงพยาบาลพรเจริญ : บึงกาฬ.

นันท์ชญาน์ นฤนาทธนาเสฎฐ์. การพัฒนา สร้างมาตรฐานการพยาบาลผู้ป่วยที่มีภาวะเนื้อเยื่อขาดออกซิเจนในห้องตรวจอายุรกรรมทั่วไป แผนกผู้ป่วยนอกโรงพยาบาลมหาสารคาม. วารสารโรงพยาบาลมหาสารคาม.2563;17(2):111-8.

มนรดา แข็งแรง, ธิดาพร อินทรักษา, ทิวาพร จูมแพง. การศึกษาความพึงพอใจของผู้รับบริการในห้องผู้ป่วยหนักโรงพยาบาลมุกดาหาร. วารสารราชธานีนวัตกรรมทางวิทยาศาสตร์สุขภาพ. 2561:2(2);25-43.

พิศมัย ศรีสุวรรณนพกุล. การพัฒนากระบวนการจัดการผู้ป่วยนอก โรงพยาบาลบ้านโฮ่ง จังหวัดลำพูน[วิทยานิพนธ์]. เชียงใหม่: มหาวิทยาลัยเชียงใหม่;2555.

มนัสดา คำรินทร์. การประยุกต์ใช้ Lean Six Sigma ในการพัฒนาคุณภาพการบริการผู้ป่วยที่รับบริการที่แผนกผู้ป่วยนอกของศูนย์สามัคคี โรงพยาบาลมหาสารคาม. วารสารโรงพยาบาลมหาสารคาม. 2562;16(3): 109-115.

ยุพร ธรรมธรานุรักษ์(2561).การพัฒนาระบบคิวผู้ป่วยนอกผลการศึกษาพบว่าระบบคิว บริการที่เหมาะสมผู้ป่วยนอก.โรงพยาบาลนาโพธิ์:บุรีรัมย์.

โรงพยาบาลทหารผ่านศึก องค์การสงเคราะห์ทหารผ่านศึก.(2566).คู่มือมาตรฐานการปฏิบัติงานและการให้บริการกองการพยาบาล. กรุงเทพ.

ลัดดา อะโนศรี. การพัฒนาระบบบริการพยาบาลผู้ป่วยเบาหวาน กลุ่มงานผู้ป่วยนอก. วารสารสุขภาพและสิ่งแวดล้อมศึกษา. 2563;5(2):186-91.

วราพร ยั่งยืนนาน, วิลาสินี นิสีดา, ศิริพร หล้ามงคล. การพัฒนาระบบบริการพยาบาลผู้ป่วยวัณโรคปอดรายใหม่ แผนกผู้ป่วยนอกโรงพยาบาลสมเด็จพระยุพราชสว่างแดนดิน. 15. วารสารการพยาบาล สุขภาพและการศึกษา. 2561;1(2):26-32.

Downloads

เผยแพร่แล้ว

2024-02-29