ผลของการเสริมพลังและการให้คุณค่าต่อการปรับเปลี่ยนพฤติกรรมการดูแลตนเองของผู้ป่วยเบาหวานที่ควบคุมไม่ได้ในเขตรับผิดชอบของโรงพยาบาลภูสิงห์ จังหวัดศรีสะเกษ

ผู้แต่ง

  • กันทิมา ทาหอม โรงพยาบาลภูสิงห์ จังหวัดศรีสะเกษ

คำสำคัญ:

การเสริมพลัง, การให้คุณค่า, พฤติกรรมการดูแลตนเอง, เบาหวานที่ควบคุมไม่ได้

บทคัดย่อ

     การวิจัยแบบกึ่งทดลองนี้มีวัตถุประสงค์เพื่อศึกษาผลของการเสริมพลังและการให้คุณค่าต่อการปรับเปลี่ยนพฤติกรรมการดูแลตนเองของผู้ป่วยเบาหวานที่ควบคุมไม่ได้ในเขตรับผิดชอบของโรงพยาบาลภูสิงห์ จังหวัดศรีสะเกษ กลุ่มตัวอย่างแบ่งเป็น 2 กลุ่ม ๆ ละ 49 คน รวม 98 คน คือ กลุ่มทดลอง ได้แก่ ผู้ป่วยเบาหวานที่ควบคุมไม่ได้ในเขตรับผิดชอบของโรงพยาบาลภูสิงห์ จังหวัดศรีสะเกษ กลุ่มเปรียบเทียบ ผู้ป่วยเบาหวานที่ควบคุมไม่ได้ในเขตรับผิดชอบของโรงพยาบาลปรางค์กู่ จังหวัด  ศรีสะเกษ โดยกลุ่มทดลองได้รับโปรแกรมเป็นระยะเวลา 12 สัปดาห์ กลุ่มเปรียบเทียบได้รับการดูแลตามแนวทางปกติ เก็บรวบรวมข้อมูลโดยใช้แบบสอบถาม 2 ครั้ง ก่อนและหลังการทดลอง ระหว่างวันที่ 1 มกราคม 2566 ถึงวันที่ 31 มีนาคม 2566 วิเคราะห์ข้อมูลโดยใช้สถิติเชิงพรรณนานำเสนอด้วยค่าร้อยละ ค่าเฉลี่ย ส่วนเบี่ยงเบนมาตรฐาน มัธยฐาน เปอร์เซ็นต์ไทล์ที่ 25 และ 75 เปรียบเทียบผลต่างของคะแนนเฉลี่ยของตัวแปรภายในกลุ่มโดยใช้สถิติ paired t-test และระหว่างกลุ่มโดยใช้สถิติ Independent t-test กำหนดนัยสำคัญที่ระดับ 0.05
     ผลการศึกษาพบว่า ผลต่างคะแนนเฉลี่ยของความรู้เกี่ยวกับโรคเบาหวาน ทัศนคติเกี่ยวกับโรคเบาหวาน การรับรู้โอกาสเสี่ยงของโรคเบาหวาน การรับรู้ความรุนแรงของโรคเบาหวาน การรับรู้ประโยชน์ในการป้องกันโรคเบาหวาน การรับรู้อุปสรรคในการป้องกันโรคเบาหวาน แรงสนับสนุนทางสังคม และพฤติกรรมการป้องกันโรคเบาหวานของกลุ่มทดลองสูงกว่ากลุ่มเปรียบเทียบอย่างมีนัยสำคัญทางสถิติที่ระดับ 0.05

References

จุฬาลักษณ์ สินธุเขต. (2566). ผลของการเยี่ยมบ้านผู้ป่วยต่อระดับน้ำตาลสะสม (HbA 1c) ในผู้ป่วยเบาหวานที่ควบคุมระดับน้ำตาลไม่ได้ตำบลดงหลวง จังหวัดมุกดาหาร ปี 2566. วารสารอนามัยสิ่งแวดล้อมและสุขภาพชุมชน ปีที่ 8 ฉบับที่ 2 พฤษภาคม - สิงหาคม 2566.

นิยม ดีจันทร์ พัฒน์ กองศรีมา นครินทร์ ประสิทธิ์ ณัฐพร นิจธรรมสกุล และ ภูวนาถ ศรีสุธรรม. (2567). ผลของโปรแกรมการมีส่วนร่วมของชุมชนในการดูแลผู้ป่วยเบาหวานที่ควบคุมระดับน้ำตาลไม่ได้ ตำบลกุดหมากไฟ อำเภอหนองวัวซอ จังหวัดอุดรธานี. วารสารศูนย์อนามัยที่ 9 ปีที่ 18 ฉบับที่ 1 มกราคม-เมษายน 2567.

สํานักงานควบคุมโรคไม่ติดต่อ. (2564). ประเด็นรณรงค์วันเบาหวานโลกปี 2564. กระทรวงสาธารณสุข.

กองควบคุมโรคไม่ติดต่อ. (256). ประเด็นรณรงค์วันเบาหวานโลกปี 256. กระทรวงสาธารณสุข.

ทรายุทธ์ บุญเจริญ. (2565). ผลของโปรแกรมการสร้างแรงจูงใจต่อการลดระดับน้ำตาลในเลือดของผู้ป่วยเบาหวานที่ควบคุมไม่ได้. วารสารวิจัยสุขภาพโรงพยาบาลและชุมชน ปีที่ 1 ฉบับที่ 2 พฤษภาคม-สิงหาคม.

กรวิชญ์ ศรีประเสริฐ ศิวพร อึ้งวัฒนา และ เดชา ทำดี. (2566). ผลของโปรแกรมการจัดการตนเองผ่านการพยาบาลทางไกลต่อพฤติกรรมสุขภาพของผู้ที่มีภาวะเบาหวานควบคุมไม่ได้ในชุมชน. พยาบาลสาร มหาวิทยาลัยเชียงใหม่ ปีที่ 50 ฉบับที่ 3 กรกฎาคม-กันยายน 2566.

วรรณี ปทุมวิวัฒนา. (2567). ผลของการให้ความรู้และการให้คำปรึกษาด้านยาสำหรับผู้ป่วยโรคเบาหวานชนิดที่ 2 ที่ควบคุมไม่ได้ โดยเภสัชกรศูนย์แพทย์ชุมชนโรงพยาบาลบุรีรัมย์ สาขา 1 จังหวัดบุรีรัมย์. วารสารวิชาการสำนักงานป้องกันควบคุมโรคที่ 9 จังหวัดนครราชสีมา ปีที่ 30 ฉบับที่ 1 (มกราคม - เมษายน 2567).

สำนักงานสาธารณสุขจังหวัดศรีสะเกษ. (2565). สรุปผลการดำเนินงานป้องกันและควบคุมโรคไม่ติดต่อ ประจำปี 2565

โรงพยาบาลภูสิงห์. (2565). แฟ้มประวัติทะเบียนผู้ป่วยที่มารับบริการในโรงพยาบาลภูสิงห์ จังหวัดศรีสะเกษ.

Lemeshow, S.. Hosmer, D.W.. Jr., Klar, J.. & Lwanga, S. (1990). Adequacy of sample size in health studies. New York : John Wiley & Sons.

พลอย ทรัพย์ไพบูลย์กิจ ศิวพร อึ้งวัฒนา และ เดชา ทำดี. (2564). ผลของโปรแกรมการสร้างแรงจูงใจต่อพฤติกรรมบริโภคอาหารและระดับน้ำตาลในเลือดในผู้ที่มีภาวะเบาหวานที่ควบคุมไม่ได้. พยาบาลสาร ปีที่ 48 ฉบับที่ 4 ตุลาคม-ธันวาคม 2564.

โสภารัตน์ อารินทร์ เดซา ทำดี และ ศิวพร อึ้งวัฒนา. (2564). ผลของโปรแกรมการเรียนรู้แบบมีส่วนร่วมต่อการป้องกันแผลที่เท้าในผู้เป็นเบาหวานชนิดที่ 2 ที่ควบคุมไม่ได้ในชุมชน. พยาบาลสาร ปีที่ 48 ฉบับที่ 4 ตุลาคม-ธันวาคม 2564.

ณัฐภัสสร เดิมขุนทด สว่างจิต สุรอมรกูล รัชนีวรรณ ขวัญเจริญ และชาญวัฒน์ ชวนตันติกมล. (2565). ผลของการให้ความรู้และสนับสนุนการจัดการตนเองของผู้เป็นเบาหวานในผู้ป่วยเบาหวานชนิดที่ 2 ที่ควบคุมไม่ดี. วชิรสารการพยาบาล ปีที่ 24 ฉบับที่ 1 มกราคม - มิถุนายน 2565.

อุบลรัตน์ รัตนอุไร และ ประภาส สงบุตร. (2561). ผลของโปรแกรมจัดการผู้ป่วยรายกรณีในผู้ป่วยโรคเบาหวานที่ควบคุมระดับน้ำตาลไม่ได้. วารสารอนามัยสิ่งแวดล้อมและสุขภาพชุมชน ปีที่ 3 ฉบับที่ 1 มกราคม - เมษายน 2561.

ธนพร แก้วเนตร. (2566). ประสิทธิผลของโปรแกรมสร้างเสริมสุขภาพในผู้ป่วยเบาหวานที่ควบคุมระดับน้ำตาลไม่ได้. วารสารวิทยาศาสตร์และเทคโนโลยี มหาวิทยาลัยราชภัฏศรีสะเกษ ปีที่ 3 ฉบับที่ 1 มกราคม - มิถุนายน 2566.

Downloads

เผยแพร่แล้ว

2024-02-29