ประสิทธิผลของโปรแกรมการเสริมสร้างความรอบรู้ด้านสุขภาพเพื่อความปลอดภัยในการปฏิบัติงานของพนักงานเก็บขนขยะมูลฝอยติดเชื้อในโรงพยาบาลชุมแพ อำเภอชุมแพ จังหวัดขอนแก่น

ผู้แต่ง

  • วรวุฒิ ผิวนางงาม นักศึกษาสาธารณสุขศาสตรมหาบัณฑิต สาขาวิชาภาวะผู้นำและนวัตกรรมการจัดการสุขภาพ คณะวิทยาศาสตร์และเทคโนโลยี วิทยาลัยบัณฑิตเอเซีย
  • ชนะพล ศรีฤาชา รองศาสตราจารย์ หลักสูตรสาธารณสุขศาสตรมหาบัณฑิต สาขาวิชาภาวะผู้นำและการจัดการสุขภาพ คณะวิทยาศาสตร์และเทคโนโลยี วิทยาลัยบัณฑิตเอเชีย
  • นฤมล สินสุพรรณ รองศาสตราจารย์ หลักสูตรสาธารณสุขศาสตรมหาบัณฑิต สาขาวิชาภาวะผู้นำและการจัดการสุขภาพ คณะวิทยาศาสตร์และเทคโนโลยี วิทยาลัยบัณฑิตเอเชีย
  • ชวลิต หงษ์ยนต์ อาจารย์ หลักสูตรสาธารณสุขศาสตรมหาบัณฑิต สาขาวิชาภาวะผู้นำและการจัดการสุขภาพ คณะวิทยาศาสตร์และเทคโนโลยี วิทยาลัยบัณฑิตเอเชีย

คำสำคัญ:

ความรอบรู้ด้านสุขภาพ, พนักงานเก็บขนขยะมูลฝอยติดเชื้อ, ความปลอดภัยในการปฏิบัติงาน

บทคัดย่อ

     การวิจัยครั้งนี้ เป็นการวิจัยแบบกึ่งทดลอง (Quasi-Experimental Research) มีวัตถุประสงค์ เพื่อประเมินประสิทธิผลโปรแกรมการสร้างเสริมความรอบรู้ด้านสุขภาพเพื่อความปลอดภัยในการปฏิบัติงานของพนักงานเก็บขนขยะมูลฝอยติดเชื้อในโรงพยาบาลชุมแพ อำเภอชุมแพ จังหวัดขอนแก่น กลุ่มทดลองกลุ่มเดียว จำนวน 41 คน โดยเลือกแบบเจาะจง เก็บข้อมูลโดยใช้แบบสอบถาม วิเคราะห์ข้อมูลโดยใช้สถิติเชิงพรรณนา และสถิติเชิงอนุมาน Paired Sample t-test ค่าความเชื่อมั่น 95%
     ผลการวิจัย พบว่า พนักงานเก็บขนขยะติดเชื้อในโรงพยาบาลชุมแพ เป็นพนักงานเพศหญิงทั้งหมด อายุเฉลี่ย 47.73 ปี (ส่วนเบี่ยงเบนมาตรฐาน 7.15) ระดับความรู้ก่อนทดลองส่วนมากอยู่ในระดับปานกลาง (20 คน ร้อยละ 48.78) อยู่ระดับต่ำถึง 19 คน (ร้อยละ46.34) หลังทดลองส่วนมากอยู่ในระดับสูง (31 คน ร้อยละ 75.61) หลังเข้าร่วมโปรแกรมคะแนนค่าเฉลี่ยสูงกว่าก่อนเข้าร่วมอย่างมีนัยสำคัญทางสถิติที่ระดับ 0.05 ความรอบรู้ด้านสุขภาพ ก่อนการทดลองส่วนมากอยู่ในระดับพียงพอ(26 คนร้อยละ 63.41) อยู่ในระดับเป็นปัญหาถึง 11 คน (ร้อยละ 26.63) โดยรวมค่าเฉลี่ย35.02 คะแนน ส่วนเบี่ยงเบนมาตรฐาน 4.17 หลังทดลองส่วนมากอยู่ในระดับเพียงพอ (22 คน ร้อยละ 53.66) รองลงมาอยู่ในระดับเป็นเลิศ(17 คน ร้อยละ 41.46) ยังมีระดับเป็นปัญหา 2 คน (ร้อยละ4.88) โดยรวมค่าเฉลี่ย 39.56 คะแนน ส่วนเบี่ยงเบนมาตรฐาน 5.59) หลังเข้าร่วมโปรแกรมมีคะแนนสูงกว่าก่อนเข้าร่วมโปรแกรมอย่างมีนัยสำคัญทางสถิติ ที่ระดับ 0.05 ได้มีการติดตามและทบทวน จากการประเมินภายหลังการทดลอง 2 สัปดาห์ ค่าเฉลี่ยโดยรวม 44.44 คะแนน (ส่วนเบี่ยงเบนมาตรฐาน 2.16) มีความแตกต่างจากการทดลองอย่างมีนัยสำคัญทางสถิติ ที่ระดับ 0.05 ความพึงพอใจหลังการทดลองโดยภาพร่วมเฉลี่ย 4.35 คะแนน (ส่วนเบี่ยงเบนมาตรฐาน 0.46) มีความพึงพอใจต่อโปรแกรมระดับมาก

References

SALIKA. (2023). World-of-waste-big-problem. ค้นเมื่อ 10 มีนาคม 2566, จาก https://www.salika.co/2022/03/28/world-of-waste-big-problem/

กรมควบคุมมลพิษ. (2564). ข้อมูลสถานการณ์ขยะมูลฝอยของประเทศ [ออนไลน์]. ค้นเมื่อ 10 มีนาคม 2566, จาก https://thaimsw.pcd.go.th/report1.php?year=2564

กรมควบคุมมลพิษ. (2565). ระบบสารสนเทศด้านการจัดการขยะมูลฝอยชุมชน [ออนไลน์]. ค้นเมื่อ 10 มีนาคม 2566, จาก https://thaimsw.pcd.go.th/report_country.php?year=2565

โรงพยาบาลชุมแพ. (2566). สรุปรายงานการจัดการขยะมูลฝอย [เอกสารประกอบรายงาน]. ขอนแก่น: โรงพยาบาลชุมแพ.

Sørensen K, Van den Broucke S, Fullam J, Doyle G, Pelikan J, Slonska Z, et al. Health literacy and public health: a systematic review and integration of definitions and models. BMC Public Health 2012; 12: 80.

Sørensen K, Van den Broucke S, Pelikan JM, Fullam J, Doyle G, Slonska Z, et al. Measuring health literacy in populations: illuminating the design and development process of the European Health Literacy Survey Questionnaire (HLS-EU-Q) BMC Public Health. 2013; 13: 948.

Bloom BS, Madaus GF, Hastings JT. Handbook on formative and summative evaluation of student learning. New York: McGraw–Hill; 1971.

Best JW. Research in Education: Prentice-Hall; 1977.

ณัฐวุฒิ กกกระโทก, ณฤดี พูลเกษม, & วาสนา วิไลนุวัฒน์. (2565). ผลของโปรแกรมการพัฒนาความรู้และพฤติกรรมสุขภาพในการจัดการขยะ: กรณีศึกษาตำบลหนองหอย อำเภอพระทองคำ จังหวัดนครราชสีมา. วารสารวิชาการวิทยาลัยประทุมธานี, 14(1), 322-336.

Ola, Nabil A. S., Mesbah, S. Z., & Mohammed, H. (2022). Effect of an Educational Program on Utilization of Personal Protective Equipment among Municipal Waste Workers at Minia City, Egypt. Assiut Scientific Nursing Journal, 10(31), 123-138.

อรรคราธร สงวนตระกูล. (2566). รูปแบบการพัฒนาความรอบรู้ด้านสุขภาพในการจัดการขยะในโรงเรียนของนักเรียนมัธยมต้น อำเภอสมเด็จ จังหวัดกาฬสินธุ์. วารสารอนามัยสิ่งแวดล้อมและสุขภาพชุมชน, 8(1), 220-228.

เวสารัช สรรพอาษา, & อารุญ เกตุสาคร. (2565). พฤติกรรมไม่ปลอดภัยและการเกิดอุบัติเหตุในกระบวนการจัดการขยะของคนงานในร้านรับซื้อของเก่า เขตบางเขน กรุงเทพมหานคร. วารสารวิชาการสาธารณสุข, 31(3), 416-425.

Downloads

เผยแพร่แล้ว

2024-04-30