มุมมอง ความคิดเห็นเชิงระบบ และการบริหารความเสี่ยงของโรงพยาบาลส่งเสริมสุขภาพตำบล ที่ถ่ายโอนภารกิจให้แก่องค์การบริหารส่วนจังหวัดชัยนาท
คำสำคัญ:
มุมมอง, ความคิดเห็นเชิงระบบ, การบริหารความเสี่ยง, การถ่ายโอนภารกิจบทคัดย่อ
การศึกษาวิจัยครั้งนี้เป็นการศึกษาเชิงพรรณนาแบบตัดขวาง (Cross-sectional Descriptive Study) เพื่อศึกษามุมมอง เหตุผลประกอบการตัดสินใจ ความคิดเห็นเชิงระบบ และการบริหารความเสี่ยงของโรงพยาบาลส่งเสริมสุขภาพตำบลที่ถ่ายโอนภารกิจให้แก่องค์การบริหารส่วนจังหวัดชัยนาท ประชากรที่ศึกษา ได้แก่เจ้าหน้าที่สาธารณสุขในสังกัดโรงพยาบาลส่งเสริมสุขภาพตำบลของจังหวัดชัยนาท จำนวน 7 แห่ง ที่ถ่ายโอนภารกิจให้แก่องค์การบริหารส่วนจังหวัดชัยนาท จำนวน 19คน เครื่องมือที่ใช้เป็นแบบสัมภาษณ์แบบกึ่งโครงสร้าง (Semi-structural Interview form) ผ่านการพิจารณาตรวจสอบความตรงทางเนื้อหา (Content Validity) จากผู้เชี่ยวชาญ เก็บรวบรวมข้อมูลโดยใช้วิธีการสัมภาษณ์กลุ่ม (Group Interview) นำข้อมูลที่ได้มาตรวจและจัดหมวดหมู่ ทำการวิเคราะห์โดยมุ่งการพรรณนาและอธิบายข้อมูลตามความเห็นของผู้ให้ข้อมูลและส่งให้ตรวจสอบยืนยันอีกครั้งภายหลังการวิเคราะห์และเขียนรายงาน
ผลการศึกษาพบว่า เหตุผลสำคัญที่ตัดสินใจเป็นหน่วยงานที่ถ่ายโอนภารกิจครั้งนี้ คือ เป็นข้อสั่งการจากผู้บริหาร เป็นตัวแทนของหน่วยงานในระดับอำเภอ เป็นการแสวงหาโอกาส และทางเลือกที่เหมาะสม สมัครใจ ส่วนใหญ่คิดเห็นว่าเป็นโอกาสที่ดีของหน่วยงานที่ถ่ายโอนทั้งในด้านบุคลากร งบประมาณ วัสดุเวชภัณฑ์ยา และไม่ใช่ยา การจัดบริการด้านสุขภาพให้กับประชาชน และผลลัพธ์ที่คาดหวัง โดยผ่านการประเมินความเสี่ยงแล้วอยู่ในระดับที่ยอมรับได้
References
อรพรรณ โยธาสมุทร. การถ่ายโอนโรงพยาบาลระดับปฐมภูมิสู่องค์กรปกครองส่วนท้องถิ่น กรณีศึกษาโรงพยาบาลส่งเสริมสุขภาพตำบลบึงยี่โถ อำเภอธัญบุรี จังหวัดปทุมธานี [อินเทอร์เน็ต] [การศึกษาค้นคว้าอิสระ รัฐศาสตรมหาบัณฑิต กลุ่มวิชาสหวิทยาการเพื่อการพัฒนาท้องถิ่น คณะรัฐศาสตร์]. กรุงเทพฯ: มหาวิทยาลัยรามคำแหง; 2565 [เข้าถึงเมื่อ 9 ม.ค.2567]. เข้าถึงได้จาก: http://www.islocal.ru.ac.th/pdffile/is165/6414880005.pdf
นภัสภรณ์ เชิงสะอาด, สิทธิพรร์ สุนทร, เสาวลักษณ์ นิกรพิทยา. ปัจจัยที่ส่งผลต่อความสำเร็จในการถ่ายโอนโรงพยาบาลส่งเสริมสุขภาพตำบล ในจังหวัดร้อยเอ็ด. วารสารวิทยาลัยการเมืองการปกครอง มหาวิทยาลัยมหาสารคาม 2565; 12(3): 112-126
https://so03.tci-thaijo.org/index.php/jopag/article/view/237574
นะชาวีร์ สมหวังพรเจริญ, ธีระวุธ ธรรมกุล, อารยา ประเสริฐชัย. ความสัมพันธ์ระหว่างความรู้ ทัศนคติและการตัดสินใจถ่ายโอนภารกิจสู่องค์กรปกครองส่วนท้องถิ่นของบุคลากรในโรงพยาบาลส่งเสริมสุขภาพตำบลในจังหวัดกาญจนบุรี.วารสารมหาวิทยาลัยวงษ์ชวลิตกุล 2565; 35(2): 33-50
https://ph01.tci-thaijo.org/index.php/vujournal/article/download/248142/170087
ตุลยวดี หล่อตระกูล, อนุวัต กระสังข์, ธิติวุฒิ หมั่นมี. ความพร้อมขององค์กรปกครองส่วนท้องถิ่นในการรับถ่ายโอนภารกิจโรงพยาบาล ส่งเสริมสุขภาพประจำตำบลในอำเภอพระนครศรีอยุธยา จังหวัดพระนครศรีอยุธยา. วารสารการบริหารนิติบุคคลและนวัตกรรมท้องถิ่น 2564; 7(6): 31-42.
https://so03.tci-thaijo.org/index.php/IARJ/article/view/262213
กรณิศ ส่อนชัย, เพิ่ม หลวงแก้ว, ภีชญา จงอุดมการณ์. การกระจายอำนาจทางการปกครองสู่ท้องถิ่นกับปัญหาการจัดโครงสร้างงานของรัฐ กรณีศึกษาการกระจายอำนาจด้านสุขภาพ. วารสารวิชาการปัญญาปณิธาน 2566; 8(2) 211-224 https://so05.tci-thaijo.org/index.php/PPJ/article/view/269598
อานนท์ กุลธรรมานุสรณ์, นิธิวัชร์ แสงเรือง, เยาวลักษณ์ แหวนวงษ์, หทัยรัตน์ โกษียาภรณ์, วรณัน วิทยาพิภพสกุล, จรวยพร ศรีศศลักษณ์, และคณะ. รายงานการวิจัย: การประเมินการถ่ายโอนหน่วยบริการปฐมภูมิไปยังองค์กรปกครองส่วนท้องถิ่น: สังเคราะห์บทเรียนจากพื้นที่ 51 แห่งและทางเลือกในเชิงนโยบาย. [อินเทอร์เน็ต]. นนทบุรี: สถาบันวิจัยระบบสาธารณสุข; 2561 [เข้าถึงเมื่อ 9 ม.ค.2567] เข้าถึงได้จาก: https://kb.hsri.or.th/dspace/handle/11228/4866?locale-attribute=th